สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: พัทลุง ::: เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบ เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ‪ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช‬ และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง‬

  • photo  , 720x960 pixel , 69,277 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 87,439 bytes.

จากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ‪#‎ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช‬ และ ‪#‎ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง‬ ทำให้หวนนึกถึง ‪#‎ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพระธาตุ‬ และตำนานเมืองพัทลุง

“‪#‎พระนางเลือดขาว‬” เป็นคนพัทลุงที่มีศรัทธาแรงกล้าในพุทธศาสนา มีความสามารถสูง จดหมายเหตุพงศาวดาร ตำนาน ประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานเชื่อถือได้ ถึงปัจจุบันนับจำนวนได้เป็นพันปี ถึงแม้หลักฐาน พ.ศ./สมัย ไม่ตรงกันบ้างแต่บุคคลมีอยู่จริง ข้อความในวงเล็บผู้เขียนอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเข้าใจง่ายขึ้น

พงศาวดารเมืองพัทลุง ฉบับหอสมุดแห่งชาติภาค 15 และหนังสือประวัตินางเลือดขาวเขียนไว้ว่า นางเลือดขาวเป็นบุตรบุญธรรม ของตาสามโมและยายเพชร เกิดที่บ้านพระเกิด (ปัจจุบันบ้านพระเกิด ต.ฝาละมี อ.ปากพยูน จ.พัทลุง) ปละท่า (ฝั่ง) ตะวันตกของทะเลสาบ ตายายเป็นหมอสดำ (หมอจับช้าง, ควาญช้าง) หมอเฒ่า (สัตวแพทย์) นายกองช้าง เลี้ยงช้างส่งเจ้าพระยากรงทอง เจ้าเมืองพัทลุง (ขณะนั้นเมืองพัทลุงตั้งที่สทิงพระ)

นางมีผิวพรรณ เลือด ที่ออกจากร่าง “ขาว” จึงเรียก “นางเลือดขาว” หลักฐานว่านางเลือดขาวเป็นบุตรลับๆ พ่อแม่ไม่กล้าเลี้ยงเพราะเลือดไม่เหมือนคนทั่วไป จึงมอบให้เป็นบุตรลับบุญธรรมแก่ตายายเลี้ยง ตาสามโม ยายเพชร เป็นตายายที่ใจบุญ รับเด็กหญิงมาเลี้ยงขณะที่ขณะนั้นได้มีบุตรบุญธรรมเลี้ยงอยู่แล้วหนึ่งคนชื่อกุมาร เมื่อทั้งสองเจริญวัยขึ้นเป็นหนุ่มสาว ตายายก็ให้หนุ่มสาวแต่งงานกัน กุมารกับนางเลือดขาวย้ายจากบ้านเกิดไปที่ใหม่ ณ บางแก้ว (ระยะทางปัจจุบันประมาณ 15 กม.) เมื่อตายายถึงแก่กรรม กุมารกับนางทำฌาปนกิจศพแล้วนำอัฐิไปฝังไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์ กุมารกับนางได้รับมรดกเป็นนายกองช้าง ต่อมามีกำลังมากขึ้นทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ทั้งสองมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อไปอยู่ที่บางแก้วไดสร้างวัดบางแก้ว วัดสทัง วัดสทิงพระ พร้อมๆ กันสามวัด เพื่อสร้างอุทิศส่วนให้สองตายาย

สิ่งก่อสร้างของวัดบางแก้ว (ปัจจุบันวัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน พัทลุง) พระเจดีย์ อุโบสถ วิหาร กุฏิ พระพุทธรูป ได้จารึกเรื่องราวของการสร้างวัดลงในแผ่งทองคำ ตามหลักฐานสร้างเสร็จ พ.ศ.1492 และได้จัดฉลองรวมกันทั้งสามวัด (จากการคำนวณศักราชของศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ ตรงกับ พ.ศ.1582 รวมถึงไม่สัมพันธ์กับการเดินทางไปกรุงสุโขทัย) การเดินทางไปลังกา อดีตสมัยนั้นยากลำบากและกันดารมาก ต้องเดินทางโดยเรือ เรือมักประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิตระหว่างการเดินทางเสมอ แต่พระนางเลือดขาวเดินทางได้สำเร็จ เพราะก่อนเดินทางได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้เดินทางโดยปลอดภัย และก่อนลงเรือที่เมืองถลาง (อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ปัจจุบัน) พระนางเลือดขาวได้สร้างวัดขึ้น 1 วัด คือวัดพระนางสร้างเกี่ยวกับวัดพระนางสร้างหรือวัดนางสร้างมีตำนานอยู่ที่เมืองภูเก็ตรู้กันอยู่ว่าบริเวณหลังวัดนี้เดิมเป็นสมรภูมิ เมื่อครั้งเมืองถลางเกิดศึก โดยคุณหญิงจันและคุณหญิงมุกใช้พระอุโบสถของวัดนี้เป็นที่ตั้งมั่นในการรบกับพม่า

พระนางเลือดขาว เมื่อกลับจากลังกา (สันนิษฐานว่าเรือต้องไปขึ้นฝั่งที่ตรัง) ได้สร้างวัดที่ตรัง 2 วัด ตามตำนานบันทึกคือ วัดพระพุทธสิหิงค์ เป็นวัดเก่าแก่ร่วมสมัยกับพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช และเจดียบางแก้ว พัทลุงพระแม่เจ้าอยู่หัวเลือดขาว ได้พระพุทธสิหิงค์มาแต่ลังกาทวีป เรือล่มตรงปากอ่าวเมืองตรัง (กันตัง) ที่หน้าบ้านม่วง แต่ก็ยังรักษาองค์พระไว้ได้พระแม่เจ้า โปรดให้ต่อเรือใหม่ ล่องทวนน้ำสู่คลองนางน้อย (ปัจจุบันชื่อคลองยังเรียก “นางน้อย” เช่นเดิม) ถึงทำเลปฏิรูป ทุ่งนาโยง (อำเภอนาโยงปัจจุบัน) จึงโปรดให้สร้าง “วัดพระศรีสรรเพชรพุทธสิหิงค์” และได้โปรดประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ พระอุโบสถ พัทสีมาในวัดนี้ (ที่ตั้งปัจจุบัน เส้นถนนพัทลุง-ตรัง ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาโยง 1 กม. คนใต้เรียกวัดนี้ว่า วัดหิงค์)

สำหรับวัดพระงาม แม่เจ้าอยู่หัวเลือดขาว โปรดให้สร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำที่เหลือจากการสร้างพระธาตุนครศรีธรรมราช (ที่ตั้งวัดพระงาม ปัจจุบันเส้นทางพัทลุง-ตรัง ก่อนถึงอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ 2 ก.ม. มีทางแยกด้านซ้ายมือ)เมื่อเดินทางจากลังกา สร้างวัดที่ตรังเสร็จแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ ไปบรรจุที่พระธาตุแก้ว มีการเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่ง พระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์ได้แสดง ปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย

จากนั้นมา ชื่อพระนางเลือดขาว ลือเลื่องปรากฏถึงฝ่ายเหนือกรุงสุโขทัยพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้พระยาพิษณุโลกกับนางทองจันทร์ คุมนางสนมมารับนางเลือดขาวที่นครศรีธรรมราช เพื่อจะทรงเลี้ยงเป็นมเหสี ครั้งนางเลือดขาวเข้าไปถึงกรุงก็ไม่ได้ขึ้นเป็นมเหสี หรือนางสนมพนักงานไม่ ด้วยนางนั้นมีสามีและมีครรภ์ติดมาแต่สามีเดิมแล้วครั้งถึงกำหนดและนางคลอดบุตรเป็นชาย ครั้นกุมารเจริญวัยขึ้นพระเจ้าแผ่นดินทรงขอไว้

นางเลือดขาวทูลลากลับบ้านเดิม จึงโปรดให้ส่งกลับพัทลุง ครั้งนั้นนางเลือดขาวเดินทางมาทางคลอดปากพนัง ได้พักอยู่ที่บริเวณนี้ ได้สร้างวัดไว้ที่บ้านควง ในคลองควง ซึ่งแยกจากแม่น้ำกาเกตและคลองปากพนัง เรียกกันว่า วัดแม่อยู่หัวเลือดขาว (ปัจจุบันข่าวว่าเป็นวัดร้าง เมื่อครั้นที่เจ้าคุณรัตนธัชมุณี (ม่วง) วัดท่าโพธิ์ นครศรีธรรมราชได้เล่าให้พังที่วัดคงคา พัทลุง พ.ศ.2464) สุดท้ายชีวิตนางเลือดขาว พระยากุมารสามี อยู่ด้วยกันที่บางแก้วพัทลุง จนอายุชราประมาณ 70 ปี ถึงแก่กรรม ภายหลังบุตรนางเลือดขาวได้ออกจากกรุงสุโขทัยมาเป็นคหบดีอยู่ที่บ้านพระเกิด พัทลุง ชาวเมืองเรียกว่า “เจ้าฟ้าคอลาย” ด้วยเข้าใจว่าเป็นพระราชบุตรพระเจ้าแผ่นดิน และที่คอมีลายสักแบบชาวเหนือ จากตำนานพงศาวดารเมืองพัทลุง เล่ม 12 ได้กล่าวเกี่ยวกับ “พระนางเลือดขาว” ว่า ประมาณ พ.ศ.1800 เจ้าเมืองพัทลุงที่สทิงพระชื่อ พระยากรุงทอง มีบุตรชายชื่อ พระกุมาร เมื่อพระกุมารเป็นหนุ่มได้ไปดูแลกอทัพช้างของบิดาที่บ้านพระเกิด ฝั่งทะเลตะวันตก โอกาสครั้งนั้นพระกุมารได้พบหลงรักนางเลือดขาวกุลธิดาผู้สวยงามของนายกองช้าง คือตาสามโม ยายเพชร ต่อมาพระกุมารก็ได้นางเลือดขาวเป็นชายา จากนั้นด้วยการสนับสนุนของพระยากรุงทอง กับตาสามโม ยายเพชร พระกุมาร นางเลือดขาว ก็ยกไพร่พลไปทางทิศเหนือ ไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ ตรงฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางแก้วบริเวณที่เรียกว่า “โคกเมือง” ต่อจากนั้นก็เรียกกันว่า พระยากุมาร พระนางเลือดขาว เป็นปฐมกษัตริย์ผู้สร้างเมืองพัทลุงใหม่ มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของพัทลุงที่สทิงพระ ครั้งนั้นเมืองลูกหลวงของพระยากุมาร พระนางเลือดขาวมีอาณาเขตปกครองประชาชนพลเมือง ทางฝั่งทะเลสาบตะวันตกทั้งหมด

พงศาวดารเมืองพัทลุง เล่ม 12 บันทึกว่า เมืองพัทลุงใหม่ที่โคกเมืองบางแก้วเมื่อ พ.ศ.1832 ได้เจริญรุ่งเรือง มีเจ้าเมืองสืบต่อกันมา เป็นเวลาประมาณ 300 ปี พ.ศ.2180 ได้ถูกกองโจรสลัดอุชงตะนะ กองทัพศาสนาอิสลามโจมตีอย่างหนัก หลายครั้งหลายหน เมืองพัทลุงแตก ต้องไปสร้างเมืองใหม่ที่เขาชัยบุรี ควนมะพร้าว ลำปำและวังเนียงคูหาสวรรค์ (ตามหลักฐานพัทลุงย้ายเมืองแล้ว 12 แล้ว) จากจารึกในเพลาเมืองสทิงพระ กรมศิลปากร มีความว่า “ศุภมัสสุ 651 ศกระกา นักบัตร เอกศกจำเดิมแต่แรกตั้งเมืองพัทลุง ครั้งเมื่อตั้งพระ วัดเขียน วัดสทัง วัดสทิงพระ คณะสามป่าแก้ว อนุโลมเป็นหัวเมืองสทิงพระ” ตามข้อความนี้ หมายความว่า จุลศักราช 651 ตรงกับ พ.ศ.1832 ตรงกับสมัยกรุงสุโขทัย คือเมื่อ พ.ศ.1832 นั้น วัดเขียน วัดสทัง วัดสทิงพระ รวมเป็นเมืองขึ้นอยู่เมืองสทิงพระ ประโยคที่ว่า “ครั้งเมื่อตั้งพระ” หมายความว่า ตั้งพระประธานในโบสถ์วัดเขียน วัดสทัง และวัดสทิงพระอาณาจักรศรีวิชัย (พ.ศ.1300-1836) ตั้งก่อนกรุงสุโขทัยกว่า 500 ปี ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยนั้น ปรากฏว่าเมืองพัทลุงเป็นเมืองอยู่แล้ว โดยมีเมืองขึ้นอยู่ในปกครอง 11 เมือง คือ

  1. เมืองปะเหลียน
  2. เมืองชะรัด
  3. เมืองกำแพงเพชร (รัตภูมิ)
  4. เมืองจะนะ
  5. เมืองเทพา
  6. เมืองสงขลา
  7. เมืองสทิง
  8. เมืองพิพัทสิงห์
  9. เมืองระโนด
  10. เมืองปราณ (ท่าเสม็ด)
  11. เมืองศรีชะนา (ท่ามิหรำ)

อาณาจักรศรีวิชัย มีอิทธิพลตามประวัติศาสตร์ตั้งแต่เกาะชวา แหลมมาลายูเหนือสุดถึงเมืองไชยา อาณาจักรนี้เชื่อว่าตั้งอยู่ที่เกาะสุมาตรา เมืองพัทลุงก็เคยอยู่ในปกครองของอาณาจักรนี้แล้วด้วย และยังมีนักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อว่า พัทลุงบางแก้ว (ปาฏลีบุตร) เป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีวิชัย หลักฐานเพิ่มเติม เรื่องของนางเลือดขาว ตามที่อ้างแล้ว เมื่อครั้งเจ้าอินทร์ (พ.ศ.2057 สมัยอยุธยา) ได้ปฏิสังขรณ์วัดเขียนบางแก้ว และวัดสทัง ได้นำไม้แก่นแคฝอยแกะเป็นนางเลือดขาวและพระพุทธรูปเรียกว่า “ประทุมกาศเทวานางเลือดขาว”

การสร้างพระธาตุเจดีย์ในปักษ์ได้ ซึ่งถือว่าได้มาจากลังกานั้น พระบรมธาตุที่เก่าแก่ และมีฐานะเสมอเหมือนกัน 3 แห่ง คือ พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช พระบรมธาตุ บางแก้ว พัทลุง พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุทั้งสามแห่งมีสมณศักดิ์พระครูชั้นสัญญาบัตร ประจำพระบรมธาตุทั้ง 4 ทิศ นัยว่าได้ตั้งชื่อตามชื่อกา ซึ่งได้เฝ้าพระบรมธาตุทั้ง 4 ทิศ คือ พระครูกาแก้ว (กาขาว) พระครูกาชาด (กาแดง) พระครูการาม (กาลาย) พระครูกาเดิม (กาดำ)

ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติ พ.ศ.2523 ทางวัดได้ทำการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่ประชาชนพบในละแวกชุมชนรอบวัดเขียนบางแก้วจากท้องไร่ ท้องนา และในทะเลสาบ เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา “พระนางเลือดขาว” เป็นบรรพบุรุษ “คนพัทลุง” เป็นหญิงแกร่ง เก่ง ดี รวย สวย เป็นคนจริง มีแต่ให้ เสียสละเพื่อส่วนรวม

การนำเสนอ “นางเลือดขาว” สู่มวลชน เพื่อสดุดีเทิดพระเกียรติท่าน เพื่ออนุชน ปัญญาชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำประเทศ องค์กรเอกชน ได้รับรู้ถึงมรดกที่ท่านสร้างไว้ พระพุทธรูป “พระพุทธสิหิงค์” อันล้ำค่าสูญหายไป อยู่ในครอบครองของท่านผู้ใด วัดพระงาม วัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง วัดพระนางสร้าง จังหวัดภูเก็ต วัดสทิงพระ จังหวัดสงขลา วัดเขียนบางแก้ว วัดสทัง จังหวัดพัทลุง ได้รับการดูแลบูรณะ มีความมั่นคง วัดแม่อยู่หัวเลือดขาวที่ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวัดร้างไป ชาวพุทธผู้ใจบุญทั้งหลายช่วยเสียสละอีกครั้ง น่าจะมีโอกาส สุดท้ายเพื่อให้ผู้อ่าน “บอกต่อ” ว่า พระบรมธาตเจดีย์บางแก้ว มีมานานตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย พร้อมๆ กับพระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ได้เปิดกว้างสู่การท่องเที่ยวกราบไหว้บูชา เป็นโบราณวัตถุ โบราณสถาน ของชาติบ้านเมืองที่ต้องบำรุงรักษา เพื่อชนรุ่นหลังสืบไป

‪#‎จากการพิมพ์ไว้ในหนังสือวรรณกรรมอนุสรณ์‬ เนื่องในงานฌาปนกิจศพผู้ใหญ่สมจิตต์ (เต้ง) สุขสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8089
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง