ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติล้วนแล้ว แต่มีเทพเจ้ากำหนดขึ้นทั้งสิ้น อาเพศและความสุขต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้คนก็ล้วนขึ้นอยู่กับการดลบันดานของเทพเจ้าหรือเทวดา
ประเพณีรับเทียมดา เป็นประเพณีที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ในหมู่บ้านจะมีเทวดามาคุ้มครองรักษาชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินได้คล่อง โดยเชื่อว่าเทวดาที่มาอยู่คุ้มครองจะกลับไปในวันขึ้นปีใหม่ไทย (13 เมษายน) และเทวดาองค์ใหม่ก็จะมาอยู่คุ้มครองรักษาต่อจากเทวดาองค์เก่า ชาวบ้านจึงได้จัดพิธีรับ-ส่งเทวดา ขึ้น เรียกว่า “ประเพณีรับเทวดา” เพื่อแสดงความความกตัญญูกตเวทีต่อเทวดาที่ได้มาคุ้มครอง และความเป็นสิริมงคลในหมู่บ้าน โดยมีความเชื่อว่า บ้านใด ครอบครัวใด ได้มาร่วมพิธีรับเทียมดา ก็จะทำให้บุคคลในครอบครัวนั้นอยู่เย็นเป็นสุข
ประเพณีรับเทียมดา มีอุปกรณ์ในการประกอบพิธี ประกอบด้วย ร้าน สำหรับจัดวางเครื่องบวงสรวงเทวดา , เครื่องบวงสรวง , ธง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของการรับ-ส่งเทวดา เป็นธงรูปสามเหลี่ยมทำด้วยกระดาษสีขาว จำนวน 2 ธง จะมีรวงข้าว 3 รวง หมากพลู 1 คำ ผูกติดไว้ที่ปลายธง
ก่อนจะถึงการประกอบพิธีกรรม หนุ่มสาวและเด็กๆ ก็จะสนุกสนานด้วยการตั้งขบวนเดินไปตามแต่ละบ้าน และส่งเสียงร้อง รับเทียมดากัน เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ชาวบ้านเตรียมตัวไปพร้อมกันในสถานที่ประกอบพิธี ประเพณีรับเทียมดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ มักทำกันในเดือน 5 - 6 คือ ต้องหลังวันสงกรานต์ไปแล้ว
ดังนั้นจึงต้องมีการบูชา บวงสรวงเทพเจ้าหรือเทวดาดังกล่าว เพื่อเป็นการเอาใจและสนองคุณที่ช่วยคุ้มครอง และเพื่อให้ชีวิตที่จะดำเนินต่อไปมีความสุข สวัสดี ประเพณีรับเทียมดาในตำบลดีหลวงเป็นประเพณีส่วนชุมชนของชาวบ้านตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ที่ถือปฏิบัติติดต่อสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ต่อมาระยะหลัง ประเพณีนี้ได้ถูกทอดทิ้งไปเป็นระยะเวลานาน (ประมาณ ๓๐ ปี) เนื่องจากขาดผู้นำในการประกอบพิธี และความเจริญทาง ด้านวัตถุเข้ามาแทรกแซง จนกระทั่งมีการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ ประเพณี รับเทียมดาจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
ประเพณีรับ เทียมดา หรือประเพณีรับเทวดา ของชาวบ้านตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เกิดจากการที่ ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ทุกหมู่บ้านจะมีเทวดามาปกปักษ์รักษา ผู้คนในหมู่บ้านนั้น ๆ ให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินได้คล่อง โดยเฉพาะการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชนนี้ โดยเทวดาจะหมุนเวียนกันมาทำหน้าที่ปีละ ๑ องค์ เพราะฉะนั้นหลังจากวันขึ้นปีใหม่ไทย (หลังวันที่ ๑๓ เมษายน)
หลังจากตะวันตกดิน จะมีพิธีส่งเทวดาองค์เก่า และต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ เรียกว่า “ประเพณีรับเทียมดา” เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อเทวดาองค์เก่า ที่ได้ปกปักรักษาผู้คนในหมู่บ้านมาตลอดระยะเวลาหนึ่งปี และต้อนรับเทวดาองค์ใหม่เพื่อ ให้มาคุ้มครองปักปักรักษาผู้คนในหมู่บ้านต่อไป โดยทุกคนในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นคนเฒ่าคนแก่ คนหนุ่ม คนสาว หรือเด็ก ๆ ก็จะมีส่วนร่วมในการประกอบพิธีด้วยกันทุกคน ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และความสนุกสนานเพลิดเพลิน อีกด้วย
บทความน่าสนใจ :::
เทวดาแท้ เทวดาเทียม ประเพณีรับเทียมดา......บ้านไทรครอบสงขลา มารู้ประวัติพิธีรับเทียมดา...กันดีกว่า เครื่องสักการะ ประเพณีรับเทียมดา ความเชื่อเรื่องการรับเทวดา
ที่มาข้อมูล : สนง.วัฒนธรรมอำเภอสทิงพระ, ห้องสมุดประชาชนอำเภอสทิงพระ , รูปภาพ @ sanira@okanation
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- “เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น” ประกาศเดินหน้าปกป้องทะเลจากอุตสาหกรรมหนักจนถึงที่สุดASTV / ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ และเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น อ่านคำแถลงการณ์ปกป้องแหล่งผลิตอาหารทะเลจะนะ ตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมที่ได้ทำกิจกรรมอนุรักษ์ทะเลแห่งนี้มานานกว่า 20 ปี ชี้การประกาศให้
- สงขลา // ชาวสงขลาหลบร้อนแห่เที่ยวงาน “อะโบ๊ยหมะ!! เลจะนะหรอยจ้าน” แน่น “หาดสวนกง”ชาวสงขลาหลบร้อนแห่เที่ยวงาน “อะโบ๊ยหมะ!! เลจะนะหรอยจ้าน” แน่น “หาดสวนกง” ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - งาน “อะโบ๊ยหมะ!! เลจะนะหรอยจ้าน” ครั้งที่ 2 ที่ชายทะเลบ้านสวนกง อ.จะนะ จ.สงขลา มีประชาชนในพื้นที่และใกล้เ
- สงขลาเตรียมรื้อโครงสร้างแข็งแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งสมิหลา-ชลาทัศน์จังหวัดสงขลาร่วมหารือหลายภาคส่วนเตรียมรื้อถอนโครงสร้างแข็งที่สร้างรุกล้ำชายหาด ทั้งถุงทราย เขื่อนดักทราย และสถานีสูบน้ำเสีย เพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งหาดสมิหลา – ชลาทัศน์ พร้อมเติมทรายจากปากคลองสำ
- สงขลา - พิธีเปิดโครงการเสริมนม-ไข่ ห่วงใยแม่ลูก ปี 2557บรรยากาศพิธีเปิดโครงการเสริมนม-ไข่ ห่วงใยแม่ลูก ปี 2557 โดยนายสมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดและมอบนม-ไข่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานเทศบาล ร่วมในพิธี ณ
- หาดใหญ่ - ายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่พร้อมคณะผู้บริหารเทศบาลฯร่วมประชุมคณะกรรมการชุมชน เรื่องสวนผักคนเมืองวันนี้ ( 22 กรกฎาคม 2557 ) ดร.ไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่พร้อมคณะผู้บริหารเทศบาลฯร่วมประชุมคณะกรรมการชุมชน เรื่องสวนผักคนเมือง จัดโดยเทศบาลนครหาดใหญ่ร่วมกับมูลนิธิชุมชนจังหวัดสงขลา ในช่วงวันแม่ ณ
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สงขลา-สตูล ยื่นหนังสือ ขอให้ข้อมูลผลกระทบของชุมชนเพื่อประกอบการยกเลิกโครงการสะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูล24 มิ.ย. 2557 ณ ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สงขลา-สตูล ซึ่งมีตัวแทนชุมชนจากหลายพื้นที่ เข้ายื่นหนังสือ ขอให้ข้อมูลผลกระทบของชุมชนเพื่อประกอบการยกเลิกโค