พงศาวดารเกี่ยวกับ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ธัมมมโร) คัดสำเนาบางตอนที่เห็นสมควรเท่านั้นจาก หนังสือพงศาวดาร จากเทศาภิบาล เล่มที่ ๓-๔ ร.ศ. ๑๒๖ สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่า ว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนา และ ยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรม วิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมือง โดยจัดพิมพ์ตรงตามตัวหนังสือของต้นฉบับเดิมทุกตัวอักษร มิได้เปลี่ยนแปลงประการใด ทั้งนั้นเพื่อเป็นการทรงไว้ซึ่งคุณค่าของ "พระราชพงศาวดาร"
ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ธัมมมโร) คัดสำเนาบางตอนที่เห็นสมควรเท่านั้นจาก หนังสือพงศาวดาร จากเทศาภิบาล เล่มที่ ๓-๔ ร.ศ. ๑๒๖ สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่า ว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนา และ ยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรม วิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมือง โดยจัดพิมพ์ตรงตามตัวหนังสือของต้นฉบับเดิมทุกตัวอักษร มิได้เปลี่ยนแปลงประการใด ทั้งนั้นเพื่อเป็นการทรงไว้ซึ่งคุณค่าของ "พระราชพงศาวดาร"
แลครั้งเกิดสมเด็จเจ้าพระราชมุนีมีบุญ แลได้พระพุทธศักราช ๙๙๐ ฉลูสัมฤทธิศก เมื่อเกิดแม่นั้นเป็นทรพล เอาไปนาแลผูกเปลไว้ ณ ต้นไม้หว้า แลงูตระบองสลาขึ้นมาอยู่ ณ บนเปลนั้น แลแม่นั้นขึ้นมาจะกินน้ำ แม่นั้นเห็นงูซึ่งขดพันอยู่ ณ บนลูกอ่อนนั้น ก็ตระหนกตกใจกลัว จึงร้องเรียกวุ่นวายว่าตาหูเอ้ยๆ ว่าลูกกูตายแล้ว ว่างูตระบองสลาขึ้นพันอยู่ ณ บนเปล แลจึงตาหูก็แล่นมาดูลูกอ่อนก็ยังเป็นอยู่ แลจึงตาหูนั้นก็ให้ขอเข้าตอกดอกไม้ ให้เอามานมัสการแก่เทพารักษ์ จึงงูนั้นก็เลื้อยไป แลจึงพ่อแม่แลเพื่อนนานั้นก็เข้าไปดูกุมาร ณ เปลนั้น ก็เห็นแก้วใบหนึ่ง จึงพ่อก็เอาไว้สำหรับกุมารนั้นแล้ว
อยู่มากุมารนั้นก็ค่อยจำเริญอายุสถาพรแล้ว แลบิดาก็นำเอาไปบวชไว้ ณ วัดกุฎีหลวงซึ่งสมเด็จพระจวงอยู่นั้น แล้วก็ให้ชื่อเณรปู แลชีต้นก็ให้ร่ำเรียนนโม ก ข แลขอมไท จบแล้วจึงเรียนธรรมบททศชาติ สมเด็จพระชินเสน ณ วัดศรีกูญัง จบธรรมบททศชาติแล้วเป็นช้านาน แล้วเข้าไปเมืองนครศรีธรรมราชนั้น อยู่ร่ำเรียนเป็นหลายปีครบอายุยี่สิบเอ็ด แลพระขุนลกก็รับเอาเจ้าเณรปูไปสู่สำนัก พระมหาเถรปิยทสสีนั้น เรียนว่าจะบวชเจ้าเณรปูเป็นภิกขุ แลจึงพระมหาเถรนั้นก็คิดด้วยสงฆ์ในอาราม ว่าพัทธสิมา อุทกสิมา หามิได้ แลจึงให้พระขุนลกจัดหาเรือมาดตะเคียนลำ ๑ มาด พยอมลำ ๑ มาด ยางลำ ๑ มาด เอามาขนาน ณ คลองน่าท่าเรือแล้ว แลพระขุนลกแลญาติพี่น้องก็แต่งสบงจีวรครบด้วยธูปเทียน แล้วเจ้าเณรปูไปสู่พระมหาเถรปิยทสสีเป็นอุปัชฌาจารย์ แลพระมหาเถรพุทธสาครเป็นกรรมวาจา แลพระมหาเถรศรีรัตนเป็นอนุ แลบวชเจ้าเณรปูเป็นภิกขุแล้ว จึงพระมหาปิยทสสีก็ให้นามชื่อเจ้าสามิราม แล้วให้อยู่ตามกิจสงฆ์และร่ำเรียนธรรมสืบไปเป็นช้านาน
แลยังมีเรือเจ้าสเภาอินจะเข้าไปเมืองกรุงเทพมหานคร จึงเจ้าสามิรามไปถามเจ้าสเภาอินว่าจะโดยสารเรือเข้าไปด้วย จึงเจ้าสเภาอินก็ถามว่าซึ่งเจ้าสามิจะไปนี้ประสงค์แก่อันใด แลบาทเจ้าว่าจะไปเรียนธรรม แลเจ้าสเภาอินก็โมทนาขอนิมนต์พระเจ้าไป และจึงเจ้าสามิรามก็กลับมาลาชีต้นทั้งสามองค์นั้น แล้วก็ไปด้วยเจ้าสเภาๆ ก็ใช้ใบเรือไปแล ครั้นถึงกลางทะเลเป็นปัจจุบันกาลเรือนั้นก็ต้องพายุ แลครั้นสงบพยุใหญ่เจ็ดวันเจ็ดคืน จึงเจ้าสเภาก็ขึ้งโกรธว่าเอาตาชีนี้มาจึงเรือต้องพยุ แลครั้นสงบพยุแล้วจึงเจ้าสามิก็ลงไป ณ เรือสัดจอง จึงเอาเท้าข้างซ้ายเป็นทู่นั้นแช่ลง ณ น้ำๆ นั้นก็จืด แลจึงสามิก็อาบน้ำนั้น จึงเจ้าสเภาก็ถามว่าลงอาบน้ำนั้นเค็มหรือจืด จึงบาทเจ้าก็ว่าจืด แลบาทเจ้าก็เอากะบวยตักน้ำมายื่นให้แก่เจ้าสเภา จึงเจ้าสเภาก็รับเอาชิมดูน้ำนั้นก็จืด แลเจ้าสเภาก็ให้ลูกเรือทั้งนั้นตักใส่โอ่งฉางอ่างตุ่มแล้ว จึงเจ้าสเภาก็ยินดีเอาเป็นชีต้นปฏิบัติรักษาแล้วก็ใช้เรือไป
ครั้งเมื่อไปถึงเมืองศรีอยุธยา จึงเจ้าสเภาก็ไปถามให้อาไศรย ณ วัดแค แลเจ้าสามิก็อาไศรยอยู่ที่นั้น แลเจ้าสเภาอินจะกลับมาเมืองนคร จึงเจ้าสเภาอินก็เอาอ้ายจันผู้ทาษค่าเป็นเงินสองตำลึงไว้ให้รักษาบาทเจ้าสามิราม แลเจ้าสเภาก็กลับมาเมืองนครแล
แลจึงบาทเจ้าก็ไปมาเรียนธรรม ณ วัดลุมพลีนาวาศ ช้านาน แลอยู่มามีประเทศเอาพระธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์เขียนใส่แผ่นทองเท่าใบมะขาม ใส่หม้อ เอามาทายเปนปฤษณาให้แปลก็แปลได้ไซ้จะถวายสิ่งของทั้งลำสเภานั้นแล จึงมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งชุมนุมสงฆ์ทั้งหลาย ทั้งเมืองกรุงศรีอยุธยานั้นแล จึงพระสงฆ์เจ้าทั้งหลาย ก็ไปชุมนุมตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั้นแล จึงประเทศเอาพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์มาประดับอักษรนั้นแล พระสงฆ์ทั้งหลายประดับมิได้ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่ ขุนศรีทนนไชย ให้ป่าวพระสงฆ์อันมาแต่เมืองนอกขอบขัณฑเสมาประจันตประเทศ จึงสงฆ์ทั้งปวงอันมาแต่เมืองข้างนอกทั้งนั้นให้สิ้นเสร็จ จึงขุนศรีทนนไชยก็ไปนิมนต์พระรามเข้าไป ณ ที่ชุมนุม จึงสัปรุษย์จันตักน้ำมาล้างตีนบาทเจ้าพระรามก็เห็นเป็นผิดประหลาด ซึ่งเหยียบศิลาอันลุ่ม จึงสัปรุษย์จันก็เอาด้าย เจาะชายจีวรแล้ว แลขุนศรีทนนไชยก็ว่าผายๆ กูจะเอาพระรามเข้าไป แลพระรามก็คลานเข้าไปถึงอาจารย์ จึงพระรามก็นั่งลงแล้วก็ไหว้อาจารย์ จึงราชทูตทั้ง ๗ คนก็ว่าเอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปฤษณา จึงพระรามก็บอกแก่อาจารย์ว่าให้กรมการกฎหมายไว้ แล้วพระรามก็ว่าแก้คำราชทูต ว่ากุมารเมื่อออกแต่ครรภ์พระมารดากี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จึงผู้รู้หลักทั้งนั้นว่าเราจะแก้มิได้ จึงบาทเจ้ารามก็ถามราชทูตว่า รู้คว่ำแก่ หรือว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ จึงราชทูตก็ว่าแก้คำพระรามนั้นมิได้ ก็แพ้พระรามนั้นแล
จึงพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ให้เอาเตียงทองมารองรับ ให้ราชทูตเอาอักษรพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์มากองเป็นเจ็ดกอง จึงพระรามก็ผุดลุกขึ้นทำวัตรแก่พระธรรมนั้น จึงพระรามก็เอาอักษรมาประดับ จึงให้เป็นท่องแถวแนวทั้งเจ็ดคัมภีร์ จึงพระรามนักปราชว่ายังขาดอักษรเจ็ดตัวจะครบ จึงราชทูตก็ว่ามีแต่เท่านั้นแล พระรามก็ว่าแก่ราชทูตให้ทำทานบนเข้าต่อกันเล่า ราชทูตมิสู้ทำ แลจึงราชทูตก็ถามว่ายังขาดตัวใด จึงพระรามก็ว่าสังตัวหนึ่ง ตัววิตัวหนึ่ง ตัวทาตัวหนึ่ง ปุตัวหนึ่ง กะตัวหนึ่ง ญะตัวหนึ่ง จึงราชทูตก็เอาอักษรทั้งเจ็ดตัวออกมาแต่มวยผมมหาพราหมณ์ มายื่นให้แก่พระราม แล้วราชทูตก็ขอแพ้แก่พระรามเป็นสองท่า จึงราชทูตก็กราบไหว้นมัสการแก่พระราม แล้วก็ยกเอาเครื่องสิ่งของ ณ สเภาซึ่งราชทูตเอามานั้น ถวายแก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว
แล้วก็ให้ปลูกกุฎีถวายแก่พระรามนักปราชแล้วถวายเมืองท่อนหนึ่ง พระรามก็รับครองแต่สามวัน แล้วก็คืนให้แก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเล่า ให้คงอยู่ตามเก่านั้น จึงพระรามก็คิดด้วยขุนศรีทนนไชยแลกรมการ สิ่งใดซึ่งยากแค้นแก่ไพร่แผ่นดิน แลขุนศรีทนนไชยก็นิมนต์พระรามเข้าไปในวัง ถวายพระพรพระราชกุศลแก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการตรัสถามพระรามนักปราช ว่าเข้ามานี้ประสงค์แก่อันใด จึงพระรามนักปราชขอพระราชทาน ข้าส่วยหลวงซึ่งยากแค้น แล้วเห็นวัดราชประดิษฐาน จะขอพระราชทานสร้างพระอาราม อย่าให้เอาส่วยหลวงเข้าในพระคลังแต่นี้ไปเมื่อน่า จึงมีพระราชทานโปรดให้ แลตรัสใช้นายสามจอมแลขุนอินปัญญาออกไป เอาสารบาญชีเบิกค่าส่วยไว้ให้เป็นค่าพระตามซึ่งพระรามนักปราชขอพระราชทานนั้น จึงนายสามจอมและขุนอินปัญญาก็เอาสารบาญชีเข้าไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเป็นข้าพระนั้น ๓๐๐ หัวงานมีเสศ ผูกไว้ให้เป็นข้าพระศรีรัตนมหาธาตุในวัดพระราชประดิษฐาน
จึงมีพระบรมราชโองการตรัสให้ขุนศรีทนนไชยให้นิมนต์พระรามนักปราชเข้าไปในพระราชวัง จึงมีพระราชโองการศรัทธาให้ทำเป็นพระกัลปนาอุทิศไว้ยกญาติโยมบ่าวไพร่ไร่นาดินป่าบูชาธรรมเทศนา ให้แก่พระรามนักปราชแล้ว แลมีพระราชโองการตรัสว่า เราจะกรวดน้ำคณทีเงินทองเห็นว่ามิแตก จึงตรัสให้เอาคณทีกระเบื้องให้แตกที่เดียว แล้วแลมีพระราชโองการสาบาลไว้ว่า ถ้าผู้ใดแลลเมิดพระบัณฑูรเบียดเบียนข้าพระคนทานไปใช้ ให้ผู้นั้นไปตกนรกหมกไหม้ ได้ทุกขนิรันดรํ อย่าได้ทันพระพุทธ พระธรรม์ พระจันทร์ พระอาทิตย์ แลพระสงฆเจ้า สักชาติ อย่ารู้คลาศอปราชัยในชั่วนี้ชั่วหน้า ต้องสัจจาธิษฐานพระมหากระษัตรย์เจ้าสาบาลไว้ทั้ง ๕๐๐๐ พระพรรษา แต่นี้เมื่อน่า
แลในท้องพระตำรานั้น ให้ห้ามเจ้าพระยาแลออกยาสัสดีเมืองนคร พระยาแลสัสดีเมืองพัทลุง อย่าให้ใช้ข้าพระ ณ วัดพระราชประดิษฐาน ลงเรือรบเรือไล่รักษาค่าย ตัดหนังวังช้างส่งข่าว แลลงพ่วงลงรอ แลงานสรรพมาตราทั้งปวง งวดคราวสารพิไสย เก็บโคกระบือ ทอดพริกทอดฝาย ทำนาที่ใต้กำแพงเมือง ทำรั้วทำเรือนเจ้าเมืองแลข้าหลวง อย่าให้เบียดเอาค่าน้ำค่านา อากรขนอนตลาดหัวป่า ค่าที่เชิงเรือน เก็บเรือแลเครื่องเรือ งานสรรพมาตราแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แลให้คงอยู่ตามพระตำราพระราชอุทิศไว้นั้น แลพระรามนักปราชให้พระมหาเถรศรีผู้น้อง คุมสมุหบัญชีหัวงานข้าพระ ซึ่งพระราชอุทิศให้ไว้เป็นข้าพระ แลให้ไว้รักษาวัดพระราชประดิษฐาน แลทำพระมาลิกเจดีย์ ณ วัดพระราชประดิษฐานนั้น สูงเส้นห้าวามีเสศ แลมีพระห้องรอบตามราชจำนงแต่ครั้งองค์พระเจ้ารามาธิบดีเสวยราชสมบัติ พระราชทานให้ข้าหลวงจ่าพรหมานออกมาบำรุงช่วยพระมหาเถรศรีผู้น้องพระรามนักปราชนั้น ให้ข้าหลวงแต่งสเภาปากสามวาศอก บรรทุกอิฐแลยอดพระมาลิกเจดีย์พระมหาธาตุออกมาแต่เมืองศรีอยุธยา แลให้นายจัน พี่สมเด็จเจ้าพระรามนักปราชถือยอดพระ ซึ่งหล่อด้วยเบญจโลห ยาวสามวาสามคืบ แลยอดพระนั้นมีพระราชทานโปรดแต่งให้ออกมาแต่พระราชมณเฑียร แลเครื่องประดับประดายอดพระนั้น พระราชทานแต่งออกมาแต่คลังหลวง แลซึ่งพระราชทานไว้ให้เป็นข้าคนทานรักษาสืบๆ กันไปแต่นี้เมื่อน่า ไว้รักษาพระศรีรัตนมหาธาตุ ๕๐ รักษาพระธรรมศาลา ๒๐ รักษาอุโบสถ ๒๐ แต่นี้ไปเมื่อน่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.pattanitoday.com/htm/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=33
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ