สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

โรคเท้าเหม็น Pitted Keratolysis

by sator4u_team @4 ม.ค. 57 09:09 ( IP : 180...238 ) | Tags : สุขภาพ
photo  , 362x287 pixel , 13,926 bytes.

โรคเท้าเหม็น (Pitted keratolysis) เป็นโรคของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นนอก สุดของฝ่าเท้า ทำให้มีเท้าลอกและมีกลิ่นเหม็น พบได้บ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลา นาน ทำให้มีความอับชื้น อันเอื้อให้เกิดสภาวะเหมาะสมต่อการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เมื่อ เปรียบเทียบกับโรคของผิวหนังที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะเท้าชื้นแฉะเช่นเดียวกันอีกโรคคือ โรค น้ำกัดเท้า ซึ่งมีข้อแตกต่างกันคือ โรคเท้าเหม็นนั้น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักไม่มีอาการคัน แต่มีเท้าลอก ผิวหนังดูชื้นแฉะ มีกลิ่นเหม็น และโรคเริ่มเกิดที่ฝ่าเท้าก่อน ส่วนโรคน้ำกัดเท้านั้นเกิดจากเชื้อรา มักมีอาการคัน ผิวหนังลอกเป็นขุย และโรคมักเริ่มเกิดที่ซอกนิ้วเท้าก่อ

โรคเท้าเหม็น เกิดจากแบคทีเรีย ชื่อ Micrococcus Sedentarius โรคเท้าเหม็นนี้พบได้บ่อยในผู้ที่สวมใส่รองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลานาน เนื่องจากทำให้มี เหงื่อออกที่เท้ามาก เท้าอับชื้น ส่งผลให้ผิวหนังชั้นนอกสุดของฝ่าเท้า เปื่อยยุ่ย และมีค่าความ เป็นด่างสูงขึ้น เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียจะสร้างเอนไซม์ชื่อ Protease มาย่อยสลายผิวหนังส่วนนอกสุดของฝ่าเท้า เกิดเป็นหลุมเล็กๆจำนวนนับไม่ถ้วน หากมองด้วยแว่นขยาย ส่วนกลิ่นเหม็นนั้น เกิดมาจากผลที่เกิดจากการย่อยผิวหนังที่ฝ่าเท้าของแบคทีเรีย ที่ส่ง ผลให้ได้สารในกลุ่มซัลเฟอร์ (Sulfur compound) ซึ่งเป็นสารให้กลิ่น

โรคเท้าเหม็นมีอาการอย่างไร? โดยปกติแล้วโรคเท้าเหม็นนั้น มักไม่มีอาการอื่น และไม่มีอาการที่อวัยวะอื่น นอกจากอา การที่เท้า จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเท้าเหม็นจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะมาพบแพทย์ โดยอาการที่พบได้ที่เท้า มีดังนี้ คือ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยมาด้วยอาการฝ่าเท้าชื้น ลอก ทำให้ถุงเท้าติดกับผิวฝ่าเท้า ประมาณ 90% มีกลิ่นเหม็นที่เท้า ประมาณ 10% มีอาการคันเท้า

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่? โรคเท้าเหม็นสามารถรักษาได้หาย จึงควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่ ถูกต้อง

แพทย์รักษาโรคเท้าเหม็นอย่างไร? ใช้เวลารักษานานเท่าไร? เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ มี 2 ประการคือ เชื้อแบคทีเรีย และภาวะอับชื้นของเท้า การรักษาจึงต้องรักษาดูแลทั้ง 2 ปัจจัย การรักษาแบคทีเรียนั้น ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อชนิดทา เช่น ยา Clindamycin ยา Erythro mycin และ/หรือ ยาทาที่ช่วยให้ผิวหนังลอกตัวเพื่อสร้างผิวหนังขึ้นใหม่และมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย เช่น ยา Benzoyl peroxide หรือ ยาที่เป็นแป้งผงฆ่าเชื้อ โดยทายา เช้า-เย็น จน กว่ารอยโรคจะหาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการหลีกเลี่ยงภาวะอับชื้นของเท้าด้วย

ส่วนการป้องกันภาวะอับชื้นนั้น ทำได้โดย การลดเวลาในการใส่รองเท้าหุ้มส้นให้เหลือน้อยๆที่สุด หรืออาจโดยถอดรองเท้าบ่อยๆ ใส่ถุงเท้าที่มีการระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย 100% แต่หากมีเหงื่อออกมาก ควรเปลี่ยนถุงเท้าระหว่างวัน เพื่อลดความอับชื้น ใช้แป้งผง 20% Aluminium chloride โรยเท้าวันละ 1-2 ครั้ง หรือตามแพทย์ผู้ รักษาแนะนำ หลังทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่ที่มียาฆ่าเชื้อเป็นส่วนผสม แล้วเช็ดเท้าให้แห้ง หากยังมีเหงื่อออกมากอยู่ แพทย์อาจพิจารณารักษาอาการเหงื่อออกมากที่เท้า โดยใช้การฉีดยา Botulinum toxin ที่ฝ่าเท้า อนึ่งโดยทั่วไป ใช้เวลารักษาให้โรคหายประมาณ 2 อาทิตย์ ถึง 1 เดือน


ดูแลตนเองอย่างไร? การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเท้าเหม็น ที่สำคัญ คือ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดการอับชื้นที่ เท้า ฝ่าเท้า ทำความสะอาดเท้าทุกวัน วันละ 2 ครั้งดังกล่าวในหัวข้อ การรักษา ทำความสะอาดถุงเท้าด้วยผงซักฟอกหรือสบู่ที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อในน้ำร้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส แล้วตากแดดให้แห้งสนิท เปลี่ยนถุงเท้าบ่อยๆทุกครั้งที่เปียกชื้น (มีถุงเท้าสำรองติดตัวไปด้วยเสมอ) สลับสวมรองเท้า ไม่สวมซ้ำเกิน 2 วัน ผึ่ง/ตากรองเท้าให้แห้งเสมอ และไม่ใช้รอง เท้าร่วมกับผู้อื่นๆ ถ้าเป็นไปได้ สวมรองเท้าแตะที่เป็นชนิดสาน หรือ รองเท้าที่เปิดส้น และ/หรือ เปิดหัว ตากรองเท้ากลางแจ้งในวันที่แดดออกจัด

แหล่งข้อมูล

1, http://www.think4this.com/lattestnews/that-needs-to-be-done-so-that-the-foot-does-not-smell-good.html 2. หาหมอดอทคอม, พญ ชลธิรศน์ ศรีเกษตรธรากุล


Cr. // fb : สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1304
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง