แอสไพริน มีข้อควรระวังในการใช้
แอสไพริน มีข้อควรระวังในการใช้
ประการแรก ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หากมีการใช้เป็นประจำ ดังกรณีการใช้ยาสูตรเอพีซีดังกล่าว จึงมีการเตือนว่า ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
ประการที่ ๒ ยานี้ทำให้เกล็ดเลือดไม่จับตัวเป็นลิ่ม เป็นเหตุให้เลือดออกง่าย ห้ามใช้ในผู้ที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก หรือเป็นโรคเลือดที่มีภาวะเลือดออกง่าย
ประการที่ ๓ ถ้าใช้บรรเทาอาการไข้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า ๑๙ ปี ที่เป็นโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส หัด คางทูม ฯลฯ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye's syndrome) โรคนี้จะมีอาการทางสมอง (เช่น ซึม หมดสติ ชัก) และอาการ ทางตับ (ตับโต และทำหน้าที่ไม่ได้หรือตับวาย) ซึ่งมีอัตราการตายค่อนข้างสูง
ดังนั้น ในระยะหลังๆ มานี้ แพทย์จะหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในการบรรเทาอาการไข้ เพราะไม่แน่ใจว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออก หรือโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยจึงหันมาใช้พาราเซตามอลแทน รวมทั้งในการบรรเทาอาการปวดต่างๆ ก็นิยมใช้พาราเซตามอลแทนแอสไพรินเช่นเดียวกัน
ในปัจจุบัน แพทย์จะใช้แอสไพรินเป็นยาป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ในผู้ที่เป็นเบาหวาน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ และโรคหลอดเลือดสมองตีบ เนื่องเพราะสรรพคุณในการทำให้เกล็ดเลือดไม่จับตัวเป็นลิ่มดังกล่าวข้างต้น (ที่มีผลทำให้เลือดออกง่าย) สรรพคุณข้อนี้ของแอสไพริน จึงมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม สำหรับประชาชนทั่วไป บางส่วนยังนิยมใช้แอสไพรินในการแก้ไข้แก้ปวด ที่น่าเป็นห่วงคือการนำมาใช้บรรเทาอาการไข้ คนทั่วไปมักแยกไม่ได้ว่ามีสาเหตุจากไข้เลือดออก หรือโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ หรือไม่ ถ้าหากบังเอิญใช้กับโรคกลุ่มนี้เข้าก็อาจเกิดอันตรายดังกล่าวข้างต้น
สรุปก็คือ ในการบรรเทาอาการไข้ ควรหันมาใช้พาราเซตามอลแทนแอสไพริน เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดจากแอสไพริน อย่างไรก็ตาม การใช้พาราเซตามอลก็พึงระวัง อย่าใช้เกินขนาด (ผู้ใหญ่ควรใช้ครั้งละ ๑-๒ เม็ด ซ้ำได้ทุก ๖ ชั่วโมง อย่าใช้เกินวันละ ๘ เม็ด หรือ ๔ กรัม เด็กเล็ก ไม่ให้เกินวันละ ๑๐ ช้อนชา หรือ ๑,๒๐๐ มิลลิกรัม) มิเช่นนั้นอาจมีผลต่อตับ ทำให้เกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภาวะไตวาย ถ้ามีการใช้พาราเซตามอลเกินขนาดมากๆ หรือขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ต้องระวัง อย่ากลายเป็นหนีเสือปะจระเข้
แหล่งข้อมูล: doctor.or.th
Relate topics
- 10 อาหารที่ควรทานหลังออกกำลังกายหลายคนที่ลดน้ำหนักอาจเข้าใจผิดไปว่า หลังออกกำลังกายแล้วนั้นไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ ทั้งสิ้นเพราะจะทำให้ยิ่งอ้วน แต่หารู้ไม่ว่าช่วงหลังออกกำลังกายนี่แหละเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการอาหารอย่างเช่น น
- " ฝึกสมองให้ลดน้ำหนัก "การลดน้ำหนักหรืออดอาหารไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ยิ่งสำหรับบางคนมันเป็นความท้าทายที่หนักหนาสาหัสอย่างมากสำหรับร่างกายและ จิตใจของตัวเองในการที่จะลดอาหาร ลดไขมัน รวมไปถึงการควบคุมปริมาณแคลลอรี่ที่บริโภคเข
- ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพร่ำๆ!!! เตือนภัย 15 โรคติดต่อที่มาพร้อมฤดูฝน!อีกไม่นานประเทศไทยก็จะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัว หลายคนเริ่มตระเตรียมอุปกรณ์กันฝน แต่แค่นั้นยังไม่เพียงพอ เพราะเมื่อฤดูฝนย่างกรายเข้ามา ก็จะมี 15 เชื้อโรคติดต่อรอโจมตีเราอยู่อย่างเงียบๆ ![
- 'รากบัว' เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย สรรพคุณทางยามหาศาลในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สรรพคุณทางยามากมาย เช่น ลดไข้ บรรเทาอาการไอ อีกด้วย
- ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่ปัญหาที่มักพบเสมอเวลาจะรับประทานยา คือ ต้องรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร และก่อนอาหารนานเท่าไหร่ หลังอาหารกี่นาที ก่อนนอนนานแค่ไหน ถ้าลืมแล้วจะทำอย่างไร ![ คำอธิบายภาพ : findingtherightpill ](http:
- ข้าวโพดต้มสุก มีดีกว่าที่คิด!!!สีเหลืองเข้มอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ชื่อ ลูทีน และ ซีเซนทีน ยิ่งนำไปต้มหรือย่าง สารตัวนี้จะยิ่งออกมาเยอะขึ้น!!! ![ คำอธิบายภาพ : IMG20150517112917 ](http://sator4u.com/upload/pics/IMG
- ช็อค! Ending the War on Fat ความเชื่อคนทั้งโลก เมื่อผลวิจัยเผย “คอเรสเตอรอล” มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษนิตยสารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง TIME ได้เผยถึงบทความเกี่ยวกับ Ending the War on Fat “ความจริงของคอเรสเตอรอล” ที่ทุกๆ คนเข้าใจผิดมาตลอด 60 ปี ที่ว่าคอเรสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจ
- ผัก-ผลไม้ 7 อย่าง! บำรุงสายตา!!!การเลือกรับประทานพืชผักบางชนิดนอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังสามารถช่วยบำรุงดวงตาให้มองเห็นแจ่มแจ๋ว ไม่ร่วงโรยตามอายุได้อีกด้วย ![ คำอธิบายภาพ : foods-for-eye-health-934934 ](http://sator4u.com
- โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี
- โรคเก๊าท์ ...การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง และในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก็ตาม แต่การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรักษาผู้