สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ดูแลกระดูกคอไม่ให้เสื่อมก่อนวัย

by sator4u_team @4 ม.ค. 57 08:32 ( IP : 180...238 ) | Tags : สุขภาพ
photo  , 404x404 pixel , 30,385 bytes.

โรคคอเสื่อม จัดเป็นโรคกระดูกที่เป็นกันมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีพฤติกรรมการใช้คอที่ผิด ก็จะยิ่งทำให้เกิดความเสื่อมได้เร็วขึ้น

นาวาอากาศตรีนายแพทย์ชัยพฤกษ์ ปั้นดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อาหรับ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกสันหลัง ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวว่า โดยปกติแล้วความเสื่อมของโรคกระดูกและข้อ มักจะเกิดได้ที่เนื้อกระดูกและข้อต่อ หากเกิดความเสื่อมที่เนื้อกระดูกจะทำให้เป็นภาวะกระดูกบาง และพรุน แต่ถ้าเกิดที่ข้อต่อจะเรียกว่า "ข้อเสื่อม" ซึ่งในส่วนของความเสื่อมที่กระดูกคอ มักจะเกิดขึ้นบริเวณหมอนรองกระดูกคอและข้อต่อคอที่อยู่ที่ด้านหลัง เพราะทั้งสองส่วนทำหน้าที่ช่วยให้คอสามารถเคลื่อนไหวได้แบบ 3 ทิศทาง ทั้งก้ม -เงย เอียงคอ และหมุนคอ หากเราใช้ผิดวิธี เช่น ก้ม หรือ เงย นานเกินไป โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถบาง ก็จะทำให้เกิดความเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้น เพื่อไม่ให้หมอนรองกระดูกและข้อต้อกระดูกคอเกิดการเสื่อมวัยก่อนอันควร นาวาอากาศตรีนายแพทย์ชัยพฤกษ์ แนะนำว่า อย่างแรกเลย คนทำงานนั่งโต๊ะโดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศ ควรจะเปลี่ยนอริยาบททุกๆ 1 ชั่วโมง เช่น นั่งทำงาน 1 ชั่วโมง ให้ลุกขึ้นเดิน 1 นาที แล้วค่อยมาทำงานต่อ

ต่อมา..ควรหาเวลาออกกำลังการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามบริเวณรอบๆ คอ ซึ่งมีท่าการออกกำลังกาย ทั้งท่าก้ม -เงย เอียงคอ หมุนคอซ้าย-ขวา โดยใช้วิธีการออกแรงต้าน เรียกการออกกำลังกายแบบนี้ว่า "แบบเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ" (Isometric Exercise) และการออกกำลังกายแบบเหยียดกล้ามเนื้อ 3 ทิศทาง เช่น หมุน ก้มเงย เรียกว่า "การออกกำลังกายแบบเหยียดกล้ามเนื้อ" (Stretching Exercise) แต่หากมีอาการปวดคอมากๆ แนะนำให้ใส่อุปกรณ์พยุงคอระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ รวมทั้ง การทำกายภาพบำบัด เช่น ประคบร้อนบริเวณที่มีกล้ามเนื้อหดเกร็ง การเหยียดกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบำบัด นอกจากนั้น แนะนำให้ออกกำลังกายอื่นๆ เพิ่ม เช่น การว่ายน้ำ การทำโยคะ เพื่อช่วยยืดกล้ามเนื้อและสร้างสมดุลของคอ (Neck Balance) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อรอบๆ คอ และไหล่ รวมถึงเพิ่มระดับความทนต่อความเจ็บปวดได้ดีขึ้น

นาวาอากาศตรีนายแพทย์ชัยพฤกษ์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดเรื้อรัง มีปวดร้าวลงหัวไหล่ แขนและมือ หรือมีอาการชา อ่อนแรงร่วมด้วย โดยไม่ทราบสาเหตุมาก่อน แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่า จะเป็นการทานยา การทำกายภาพบำบัด ฉีดยาต้านการอักเสบเหนือเส้นประสาท (Selective Nerve Root Black-SNRB) หรือ ฉีดยาต้านการอักเสบเข้าไปที่โพรงประสาท ( Epidural Spinal Injection -ESI) หรือการผ่าตัดในรายที่มีข้อบ่งชี้ ซึ่งปัจจุบันมีวิวัฒนาการไปมากแล้ว ทำให้เนื้อเยื่อรอบแผลผ่าตัดบอบช้ำน้อย ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติเร็วขึ้น

ถึงเวลาที่ทุกท่านควรหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ "คอ-บ่า-ไหล่"ของตัวเองกันได้แล้ว เพื่อให้ห่างไกลโรคกระดูกคอเสื่อม

การบริหาร การยืดเหยียดหรือยืดเส้น (stretching exercise)

4 ทิศ (หน้า-หลัง-ซ้าย-ขวา) ทุกท่าให้ทำช้าๆ ทำแล้วค้างไว้ประมาณ 20 วินาที หรือนับ 1-20 ช้าๆ ขากลับก็ให้เคลื่อนลำคอกลับช้าๆ การรักษาสุขภาพนั้นอาศัยความอ่อนนุ่ม ทะนุถนอม ไม่ใช่ความรุนแรง ท่าทั้ง 4 ได้แก่

(1). ท่ายืดเหยียดลำคอด้านข้างดังภาพ

(2). ท่ายืดเหยียดลำคอ หันซ้าย-ขวาดังภาพ

(3). ท่ายืดเหยียดก้มเงยลำคอดังภาพ

ต่อไปเป็นท่าบริหารเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง 4 ท่าได้แก่

(1). ท่าเสริมสร้างความแข็งแรงลำคอด้านหน้า

(2). ท่าเสริมสร้างความแข็งแรงลำคอด้านหลัง

(3). ท่าเสริมสร้างความแข็งแรงลำคอด้านข้าง (กล้ามเนื้อเอียงคอ) • ท่านี้เริ่มต้นจากการยืนหรือนั่ง คอตรง • ใช้มือข้างหนึ่งวางไว้เหนือใบหู (ฝ่ามืออยู่ระดับสูงกว่าใบหู) • ออกแรงดันดันหัวไปด้านตรงข้าม • เกร็งคอต้านไว้ • ให้ทำท่านี้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

(3). ท่าเสริมสร้างความแข็งแรงลำคอด้านข้าง (กล้ามเนื้อหันหน้า) • ท่านี้เริ่มต้นจากการยืนหรือนั่ง คอตรง • ใช้มือข้างหนึ่งวางไว้หน้าใบหู (ฝ่ามืออยู่ระดับเดียวกับใบหู) • ออกแรงดันดันหัวไปด้านตรงข้าม • เกร็งคอต้านไว้ • ให้ทำท่านี้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

ท่าบริหารเหล่านี้ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือดีที่สุดคือ ท่าบริหารยืดเหยียดให้ทำทุกวันส่วนท่าบริหารเสริมสร้างความ แข็งแรงทำวันเว้นวันและอย่าลืมว่า ถ้าจะดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ... อย่านอนดู เนื่องจากคอจะเอียง ทำให้กระดูกคอเสื่อมเร็ว กล้าม เนื้อคอต้องเกร็งตัวนานๆ ทำให้เกิดความเมื่อยล้า เมื่อยคอ ปวดหัว หรือวิงเวียนศีรษะได้

อาจารย์แพทย์แห่งสถาบันเมโยคลินิกแนะนำวิธีป้องกันปวดคอง่ายๆ 6 วิธีได้แก่

(1). อย่านั่งนานเกิน > ให้พักหรือเบรคทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ควรลุกไปเดิน ยืน หรือยืดเส้นยืดสายมากกว่านั่งติดต่อกันนานๆ (2). ถ้าใช้คอมพิวเตอร์นานๆ > ควรจัดให้ส่วนบนของจออยู่ใกล้ระดับสายตา อย่าให้ต่ำเกิน เพื่อจะได้ไม่ต้องก้มคอนานๆ (3). อย่าเอียงคอพูดโทรศัพท์ > ให้ใช้หูฟังหรือเครื่องต่อบลูทูธ เพื่อลดความเมื่อยล้าของลำคอ (4). ยืดเส้นยืดสายเป็นประจำ > ดีที่สุดคือ วันละ 2 ครั้ง น้อยที่สุดคือ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง (5). บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง > ทำตามท่าบริหารในบทความตอนนี้ได้เลย (6). อย่านอนคว่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่านอนคว่ำดู TV > ให้นั่งเก้าอี้ดูแทน หรือจะขี่จักรยานออกกำลังไปดูไปได้ยิ่งดี จะได้ออกกำลังไปพร้อมๆ กัน

ท่านอนที่ดีกับสุขภาพกระดูกสันหลังมี 2 ท่าได้แก่ ท่านอนตะแคงกอดหมอนข้างขนาดเล็ก และท่านอนหงายมีหมอนขนาดเล็กรองใต้เข่า . วิธีที่ดีมากๆ คือ นั่งดูโทรทัศน์ในท่านั่งเก้าอี้ เหยียดขาให้เข่าเกือบๆ ตรงไปทางด้านหน้า เตะขาคล้ายๆ เวลาคนว่ายน้ำ ให้ขาข้างหนึ่งขึ้น ขาอีกข้างลง แบบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหน้าขาแข็งแรง ข้อเข่าได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น ทำบ่อยๆ ข้อเข่าจะแข็งแรง อย่าลืมว่าเรื่องปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง หรือปวดเมื่อยตามร่างกายนี้... ไม่ใช่หมอจะช่วยพวกเราได้เสมอไป ตัวเราต้องช่วยตัวเราด้วย นอกจากนั้น นักกายภาพบำบัดท่านมีวิธีการดูแลรักษาดีๆ มากมาย จึงควรหาโอกาสปรึกษานัก ภายภาพบำบัดถ้าอาการไม่ดีขึ้น

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1304
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง