ปฐมบทแห่งลุ่มน้ำสายบุรี
สายบุรี : จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ
จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลุ่มน้ำสายบุรีในเบื้องต้นทำให้เข้าใจว่า ลุ่มน้ำสายบุรีมีแหล่งกำเนิดจากแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย จากยอดเขาต่างๆของเทือกเขาสันกาลาคีรีที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาบาตูตาโมง เขาโต๊ะมูเด็ง เขาแคมาแรแต เขาบาเราะมาตอ เขาตีบุ เขากาลอ เขาลิจอ เขากูบากูลิง เขาบาเราะมาตอ เขาน้ำค้าง และเขาหินม้า สำหรับในเขตประเทศไทยนี้ บริเวณต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอศรีสาคร อำเภอรือเสาะ และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ซึ่งล้วนแต่ประกอบด้วยภูเขาและป่าต้นน้ำ
ตอนกลางของลุ่มน้ำเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ในเขตอำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ตอนปลายลุ่มน้ำในเขตอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นที่ราบลุ่มและป่าชายเลน
ลุ่มน้ำสายบุรีจะไหลลงสู่อ่าวไทยตอนล่างที่อ่าวตะลุบัน อำเภอสายบุรี
กระแสน้ำของลุ่มน้ำสายบุรีจะไหลจากต้นน้ำทางด้านทิศใต้ลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือ ดังที่กล่าวมาคือ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ ทิศเหนือติดต่อกับอ่าวไทย ทิศใต้ติดต่อกับประเทศมาเลเชีย ทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำปัตตานีและทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำโกลก มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 186 กิโลเมตร มีพื้นที่ 3,205.30 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,003,314 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในจังหวัดนราธิวาสร้อยละ 63.13 จังหวัดปัตตานีร้อยละ 21.11 และจังหวัดยะลาร้อยละ 15.76 ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด มีพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำประมาณ 2,892 ตารางกิโลเมตร มีความเร็วของกระแสน้ำ 2 ระดับ คือ ระดับความเร็วค่อนข้างสูง ซึ่งพบบริเวณต้นน้ำและบริเวณกลางน้ำ กับกระแสน้ำที่มีความเร็วลดลงมา ซึ่งพบบริเวณปลายลำน้ำ
ทำไมเรียก “ลุ่มน้ำสายบุรี”
ลุ่มน้ำสายบุรีนับว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงพื้นที่ถึง 82 ตำบล 470 หมู่บ้าน แต่น่าสงสัยว่าทำไมจึงเรียกว่าลุ่มน้ำสายบุรี ทำไมไม่เรียกว่าลุ่มน้ำเปรัค ลุ่มน้ำสุคิริน ทั้งๆที่มีแหล่งกำหนดมาจากดินแดนอันไกลโพ้น แต่กลับเรียกกันว่า ลุ่มน้ำสายบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่ไหลออกสู่อ่าวไทยดังกล่าวมาแล้ว
การตอบคำถามนี้ต้องทำความเข้าใจว่า สายบุรี นั้นคืออะไร
นับแต่รัฐโบราณมา ดินแดนที่เรียกปัตตานีนั้นก็คืออาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเดิมมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองยะรัง ก่อนจะมีการเคลื่อนย้ายมายังเมืองท่าใหม่ที่รู้จักและเจริญรุ่งเรืองมากระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ก็คือ ปัตตานี แต่ต่อมาประมาณปลายรัชกาลที่ 1 ด้วยเหตุผลทางการเมืองการปกครองที่รัฐสยามต้องการลดทอนอำนาจรัฐปัตตานีจึงได้แบ่งแยกปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา รามัน และระแงะ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการสิ้นสุดของราชอาณาจักรโบราณนับตั้งแต่นั้นมา ซึ่งในบรรดาเจ็ดหัวเมืองดังกล่าว สายบุรี จัดเป็นหัวเมืองสำคัญที่เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าจุดหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ในเทศบาลตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และจากการลงพื้นที่ได้ค้นพบว่า เดิมนั้นเมืองสายบุรีไม่ได้อยู่ที่เทศบาลตำบลตะลุบันในปัจจุบัน แต่อยู่ที่หมู่บ้านละเวง ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
จากการเก็บข้อมูลภาคสนามได้พบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับวังเก่า ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอไม้แก่น และมีฐานพลับพลาเก่า อดีตเป็นที่ตั้งวังเมืองสาย การจะรู้จักสายบุรีนั้น ต้องเข้าใจว่าของเก่าอยู่ในเขตอำเภอไม้แก่น ของใหม่อยู่ในเขตอำเภอสายบุรีในปัจจุบัน
(ฐานตั้งพลับพลาที่วังเก่า ทำจากทรายทะเลละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปัจจุบันได้นำไปใช้ประโยชน์เป็นฐานรองตั้งในศาลา ของมัสยิด
บ้านรังมดแดง ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี)
หากย้อนไปในอดีตจะพบว่าบริเวณปากแม่น้ำนี้ก็คือจุดรับส่งสินค้า มีบรรดาช้างซึ่งเป็นพาหนะชั้นดีขนส่งสินค้ามาขึ้นเรือที่เมืองสายบุรีเดิม
หากวิเคราะห์จากหลักนิรุติศาสตร์ “สายบุรี มีชื่อเดิมว่า เมืองสาย คำว่าเมืองสายนี้มาจากภาษามลายูว่า นครีซา ซึ่ง นครี แปลว่า เมือง ซา แปลว่า ปฏัก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ควาญช้างใช้บังคับช้าง ซา ที่บังคับช้างนี้เรียกว่า ซากาเยาะ ซึ่ง กาเยาะ แปลว่า ช้าง จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสบอกว่า หาดบางสายนั้นเรียกว่า บันไตกัวลอซา ปัจจุบันอยู่ที่หมู่บ้านละเวง ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น บริเวณนี้ในอดีตเป็นปากแม่น้ำสายบุรี เมื่อเราเรียนรู้ภูมิศาสตร์จะพบว่า ลุ่มน้ำสายบุรีนั้น เชื่อมต่อไปยังรือเสาะ สุคิริน ข้ามไปแม่น้ำเปรัค ในมาเลเซีย และไปออกปากอ่าวแม่น้ำปาหัง นี้คือเส้นทางซุปเปอร์ไฮเวย์แบบโบราณ และลุ่มน้ำสายบุรีก็เป็นแหล่งทองคำ...เส้นทางตรงนี้ก็คือ เส้นทางคมนาคมแต่โบราณ มีการใช้แพ เรือกันเชียง เรือพาย พัฒนาจนถึงเรือกลไฟเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว เป็นการเดินทางเพื่อมาออกปากแม่น้ำสายบุรี ดังนั้นที่นี้จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่า กัวลอซา คือ หาดที่บรรดาควาญช้างใช้ปฏักปักหลังจากการบังคับช้าง บริเวณแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยช้าง เพราะสมัยนั้นช้างเป็นพาหนะชั้นดีของการคมนาคมขนส่งสินค้า” (อิสมาอีล เบญจสมิทธิ์, 2551)
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่า การนำชื่อเมืองสายบุรีมาเป็นชื่อลุ่มน้ำนั้นเพราะสายบุรีไม่เพียงเป็นจุดที่สายน้ำไหลออกสู่ทะเลด้วยลักษณะทางกายภาพของแม่น้ำ จึงเรียกชื่อที่ปรากฏในท้องถิ่นตามผู้ที่ค้นพบซึ่งมักเดินทางมาจากทะเลก่อน แต่ยังปรากฏว่าสายบุรีซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสายน้ำที่ไหลออกสู่ทะเลนั้นต่อมาก็กลายเป็นท่าเรือ ท่าขนส่งสินค้าที่สำคัญ การเรียกว่า ลุ่มน้ำสายบุรี จึงยึดความสำคัญทั้งด้านชื่อตามท้องถิ่นที่ผู้เดินทางมาพบ และยังเป็นจุดสำคัญทางการค้า ศูนย์กลางชุมชนเป็นตัวกำหนดด้วย เพราะเมื่อหากถามว่าจะไปขายสินค้าที่ไหน เขาก็จะบอกว่าไปขายที่เมืองสาย หรือ นครีซา ก็เป็นที่เข้าใจว่าที่หาดเมืองสาย หรือปัจจุบันก็คือที่หมู่บ้านละเวง ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี นั่นเอง
จากการทำความรู้จักลุ่มน้ำสายบุรีในเบื้องต้นนี้ก็พอที่จะทำให้จินตนาการเห็นภาพคร่าวๆว่า ลุ่มน้ำสายบุรีเป็นเส้นทางขนส่งทางน้ำอันสำคัญ เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าที่ชาวบ้านต้องเดินทางมาค้าขาย ซึ่งในลำดับต่อไปนั้นจะแสดงให้เห็นว่า ในอดีตผู้คนแถบลุ่มน้ำสายบุรีมีสินค้าอะไร และจะทำให้เข้าใจได้เป็นอย่างดีถึงเรื่องราวการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ เพราะสินค้าต่างๆที่ชาวบ้านขนมานั้นก็คือผลิตผลอันเกิดจากทรัพยากรในพื้นที่ต่างๆของลุ่มน้ำสายบุรีนั่นเอง
(เส้นทางการเดินเรือเดิมจากปากอ่าวไทย ต. ไทรทอง อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี สู่ลุ่มน้ำสายบุรี)
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.peace.mahidol.ac.th/saiburi/webpages/intro.html
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ