แหล่งโบราณคดี จิตรกรรมฝาผนังถ้ำศิลป์
ถ้ำศิลป์อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๒ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในภูเขาเดียวกันกับถ้ำพระนอน แต่ห่างจากถ้ำ พระนอนไปทางหัวเขาทิศใต้ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ถ้ำศิลป์อยู่ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามทางหลวงหมายเลข ๔๐๙ แยกเข้าถ้ำศิลป์ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ หะยีวังกะจิได้พบถ้ำแห่งนี้และได้รายงานให้กำนัน ตำบลหน้าถ้ำทราบว่าในถ้ำมีเศษพระพุทธรูปกระจัดกระจายอยู่ เช่น นิ้วพระหัตถ์บ้าง ส่วนขององค์พระบ้าง หลังจากนั้นขุนศิลปกรรมพิเศษ ได้สำรวจและรายงานต่อ กรมศิลปากรว่า ภายในถ้ำมีดมีภาพเขียนสีอยู่ตามผนังถ้ำและได้พบอิฐปูน เกลื่อนกลาดอยู่ตามพื้น บางส่วนดูออกว่าเป็นเส้นพระเกศาของพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ ประมาณว่าเท่ากับพระพุทธไสยาสน์ที่ถ้ำพระนอน ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พ.ท. หลวงรณสิทธิพิชัย อธิบดีกรมศิลปากร และนายมานิต วัลลิโภดม หัวหน้ากองโบราณคดีได้สำรวจถ้ำนี้อีกครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะของกรมศิลปากรอันมีนายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร นายชิน อยู่ดี และเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง ได้สำรวจและจัดทำคำอธิบายภาพเหล่านี้ไว้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๑ นายเขียน ยิ้มศิริ นายจำรัส เกียรติก้อง และนายชิน อยู่ดี ได้รับทุนจากองค์การ ส.ป.อ. เพื่อค้นคว้าวิวัฒนาการของศิลปไทย จึงได้จัดการคัดลอกภาพเขียนสีไว้ พร้อมทั้งจัดทำแผนที่ แผนผัง และถ่าย
ภาพที่เขียน เป็นภาพพระพุทธเจ้าปางมารวิชัย ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่ง เป็นแถวเบื้องซ้ายและขวา มีสาวกหรือาจจะเป็นอุบาสกอุบาสิกานั่งประนมมืออยู่ พระพุทธเจ้าปางลีลาและมีรูปผู้หญิงยืนเป็นหมู่สามคน ส่วนสีที่เขียนเป็นสีดินเหลือง เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยสีน้ำตาลและแดง เพื่อแยกน้ำหนักอ่อนแก่ ตัดเส้นด้วนสีดำ ส่วนสีเขียวปรากฏให้เห็นในภาพเป็นสิ่งที่เกิดขี้นภายหลังเนื่องจากปฏิกิริยาทาง เคมีของสารที่ผสมอยู่ในสี
ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี และอาจารย์เขียน ยิ้มศิริ นักโบราณคดีได้ สัณนิษฐานว่า ภาพเขียนสีเหล่านี้เป็นฝีมือสกุลช่างท้องถิ่น ที่ไดรับอิทธิพลด้านรูปแบบของภาพโดยตรงจากอินเดีย พิจารณารูปแบบ และควรจะเป็นภาพเขียนสมัยศรีวิชัยตอนปลาย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐
ภาพเขียนสีทั้งหมดนี้ในปัจจุบันลบเลือนไปตามสภาพธรรมชาติ ซ้ำยังมีการเขียนต่อเติม มีการขูดขีดให้สูญหายไปเสียมาก พื้นถ้ำก็ถูกชาวบ้านขุดมูลค้างคาวไปเป็นปุ๋ย ก่อให้เกิดความเสียหายมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก http://kanchanapisek.or.th/kp8/yla/yla101.html
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ