สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: ยะลา ::: ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดยะลา #1 (อาณาจักรสมัยโบราณ)

by sator4u_team @2 พ.ย. 54 06:12 ( IP : 101...34 ) | Tags : ข้อมูลจังหวัด
photo  , 449x380 pixel , 46,864 bytes.

อาณาจักรโบราณที่เกี่ยวข้องยะลาในอดีตคือส่วนหนึ่งของปัตตานี อาณาจักรโบราณที่เกี่ยวข้องกับเมืองปัตตานี คือ อาณาจักรลังกาสุกะ หรือลังกาซูกะ ซึ่งถือกันว่าเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดบนแหลมมลายู อาณาจักรลังกาสุกะ
พลโทดำเนิน เลขะกุล ได้กล่าวถึงลังกาสุกะไว้ดังนี้ "ในการค้นหาที่ตั้งของอาณาจักร ลังกาสุกะ นายปอล วีตลีย์ ได้ใช้บันทึกของผู้โดยสารเรือผ่านอาณาจักรนี้ มากมายหลายเชื้อชาติ แต่ที่มากที่สุด และได้รายละเอียดมากที่สุดได้แก่ ชาวจีน เพราะชาวจีน ได้บันทึกมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 11 จนถึงที่มาต้วนหลินได้ เขียนไว้ในพ.ศ. 1443 แม้ว่าบันทึกเหล่านั้นได้เรียก ชื่อแปลกๆ แต่ต่างกันไปมากมาย ตามเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา แต่ในที่สุดนายปอล วิตลีย์ ได้สรุปลงว่าแคว้น ลังกาสุกะ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกลันตันกับเมืองสงขลา และความเห็นนี้ก็ได้ ยอมรับกันในวงนักประวัติศาสตร์ทั่วไปแล้ว

เรื่องราวของอาณาจักรลังกาสุกะนี้มีปัญหามาก เริ่มตั้งแต่การตั้งอาณาจักร ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงอ้างว่า จดหมายเหตุของจีนราชวงศ์เหลียง (พ.ศ. 1045 - 1099) กล่าวว่าอาณาจักรลังกาสุกะ ได้ตั้งมาก่อนหน้านี้แล้วตั้ง 400 ปี ซึ่งหมายความว่าได้ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7 และกล่าวด้วยว่า อาณาจักร แห่งนี้มีอาณาเขตจรด ทั้งสองฝั่งทะเล คือ ด้านตะวันออกจดฝั่งอ่าวไทย บริเวณเมืองปัตตานี ด้านตะวันตกจดฝั่งอ่าว เบงกอลเหนือ เมืองไทรบุรี ในประเด็นหลังนั้น ศาสตราจารย์ฮอลล์เห็นด้วย ซ้ำยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ก็เพราะอาณาจักรลังกาสุกะ มีอำนาจปกครองคร่อมอยู่ทั้งสองฝั่งทะเลเช่นนี้เอง จึงได้ทำหน้าที่ควบคุมเส้นทาง เดินข้ามแหลมมลายู มาแต่โบราณ แต่ศาสตราจารย์ปอล วีตลีย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแหลมมลายูโดยเฉพาะได้มีความเห็นแตกต่างกันออกไป โดยกล่าวว่าจะเชื่อถือ เรื่องราวอันวิปริตจากตำนานไทรบุรี - ฮีกายัตมะโรงมหาวังศาไม่ได้ เพราะเป็นเทพนิยายที่แต่งขึ้น เมื่อชาวอินเดียได้เข้ามาถึงใน พุทธศตวรรษที่ 6 การที่เนื้อความ ของเทพนิยายนี้ ชวนให้คิดว่า อาณาจักรลังกาสุกะ กับ แคว้นไทรบุรีตั้งทับกันอยู่ และอาณาจักรลังกาสุกะ มีอาณาเขต คร่อมทั้งสองฟากฝั่งทะเลนั้น  จึงเชื่อไม่ได้ อาณาจักรลังกาสุกะ ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น นอกจากนั้นยังอ้างหลักฐานของ "เลียงซู" ว่าอาณาจักรลังกาสุกะได้ตั้งเมื่อปลายพุทธศตวรรษ ที่ 7 ทั้งยัง กล่าวด้วยว่า ในขณะที่พระเจ้าฟันชิมันแห่งอาณาจักรฟูนันเข้าครองนั้น อาณาจักรนี้ ยังไม่มีชื่อ (อาจมี แต่เรียกอย่างอื่นก็ได้) ชื่อลังกาสุกะ อาณาจักรสำคัญที่เที่ยว แทรกอยู่ตาม - บันทึก และหนังสือประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 จนถึงที่ 20 ก็ถูกกลบหายไปจาก แผนที่แหลมมลายู แม้ชื่ออาณาจักรลังกาสุกะจะ ถูกเลือนลืมไปแล้ว แต่บ้านเมืองและประชาชน ที่เป็นพื้นฐานของอาณาจักรนั้น มิได้ถูกกวาดทิ้งออกไปด้วย ยังคงอยู่เว้นแต่ชื่ออาณาจักรชื่อ เมืองต่าง ๆ เท่านั้นที่ เปลี่ยนไปตามกาลเวลา

นอกจากนี้ยังได้เขียนถึง เมืองปัตตานี ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาณาจักรลังกาสุกะไว้ดังนี้ ตามชายฝั่ง แม่น้ำปัตตานี มีร่องรอยว่า เคยมีชุมชนโบราณตั้งเรียงรายกันอยู่ ด้วยหลายแห่ง เฉพาะที่เป็นแหล่งใหญ่ และค้นพบเศษโบราณวัตถุ และซากโบราณสถานมาก ๆ แสดงให้เห็นว่า เคยเป็นเมือง มาก่อนมีอยู่ 2 แห่ง คือ บริเวณบ้าน เนียง - สนามบิน - วัดคูหาภิมุข (วัดหน้าถ้ำ) - เขากำปั่น ในจังหวัดยะลาแห่งหนึ่ง และในบริเวณอำเภอยะรัง ในจังหวัดปัตตานีอีกแห่งหนึ่ง.. บริเวณในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่นั่นได้พบที่ตั้ง โบราณสถานอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตั้งอยู่ห่างกัน 3 - 4 กิโลเมตร  คือ ที่บ้านประแว กลุ่มหนึ่ง และที่บ้านวัด อีกกลุ่มหนึ่ง ที่บ้านประแว พบซากเมืองโบราณ ขนาดเล็ก  มีกำแพงล้อมชั้นเดียว ชวนให้คิดเห็นว่า ก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 ขึ้นไปอาจจะเป็น ศาสนสถาน เพราะมีเนินดิน เคยเป็นที่ตั้ง อาราม มาก่อน และพบเครื่องปั้นดินเผา ธรรมจักร และพระพุทธรูป ซึ่งมีลวดลาย และรูปทรงแบบศิลปทวารวดีของภาคกลาง (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)มากมาย และยังได้ พบเทวรูปพระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์แบบศิลปศรีวิชัย ศิวลึงค์ของ ลัทธิฮินดูสมัยต่าง ๆ และใบเสมาสมัยอยุธยาบ้าง ซึ่งนับได้ว่าเป็นพุทธศาสนสถาน ขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ของภาคใต้ ส่วนบริเวณที่อยู่อาศัยของประชาชน ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านวัด และน่าจะเป็นบ้านเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 - 12 น่าคิดว่า ชื่อ "บ้านวัด" นั้นเดิมทีคงจะเป็นวัดพุทธศาสนามาก่อน เพราะพบโคกดินสูง ๆ อยู่ทั่วสวนของชาวบ้าน (ถ้าจะมีการขุดค้นกันเป็นทางราชการ จะได้ทราบอะไร ๆ อีกมาก)

ตามที่ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี ดังกล่าวนี้เอง ทำให้นักโบราณคดีและ นักประวัติศาสตร์จากอังกฤษ มาเลเซีย และสหรัฐ ที่เดินทางเข้ามาสำรวจต่างก็ให้ ความเห็นลงรอยเดียวกันว่า เมืองประแวนี้แหละ คือเมืองลังกาสุกะที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีน พุทธศตวรรษที่ 11 - 12 และเอกสารช่วงในพุทธศตวรรษที่ 20 แล้ว เงียบหาย ไปในพุทธศตวรรษที่ 21 คุณอนันต์ ผู้มีโอกาสเคยไปสำรวจตำบลต่าง ๆ ห่างไกลออกไปมาก่อน ได้ให้ความเห็นว่า เมืองประแวนี้เป็นเมืองปัตตานีเก่าที่ ย้ายมาเป็นแห่งที่ 3 นับจากบริเวณ สนามบิน - วัดคูหาภิมุข ไปอยู่ที่อำเภอรือเสาะ แล้วจึงย้ายเมือง (ศูนย์การปกครอง) มาที่เมืองประแว..)

สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้พ.ศ. 2529 ได้บันทึกเรื่องราวความเป็นมาของปัตตานีไว้ดังนี้ ในท้องที่ปัตตานีปัจจุบัน มนุษย์ได้เคลื่อนย้ายเข้าอาศัยตั้งถิ่นฐานมา นานนับปี จากการสำรวจ ทางโบราณคดีเบื้องต้น  ได้พบร่องรอย ของชุมชนโบราณ ในปัตตานีที่ อำเภอยะรัง รู้จักกันโดย ทั่วไปในภาษาท้องถิ่นว่า "เมืองประแว" ซึ่งเชื่อกันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "พระวัง" หรือ "พระราชวัง" หรือตรงกับภาษามลายูโบราณว่า "โกตามะลิฆา" หรือ "โกตา ม้ะฮ์ลิฆา" และปรากฏในเอกสารของชาว ต่างชาติ โดยเฉพาะเอกสานจีน อาหรับและชวา ตราสำเนียง ท้องถิ่นว่า "ลังกาสุกะ" เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-18 ตามข้อ สันนิษฐาน ของประทุมชุ่มเพ็งพันธ์ เชื่อว่า ".....ลังกาสุกะ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีกำลังอำนาจ เทียบได้กับ อาณาจักรขนาดย่อมแห่งหนึ่งทีเดียว เพราะหลักฐานทางโบราณ คดีที่ค้นพบ ยืนยันในข้อนี้เป็นอย่างดี แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า  ตอนที่เมืองลังกาสุกะเจริญสูงสุด มีอาณาเขตปกครองจากไหนถึงไหน ทราบเพียงว่าภายหลังเสื่อม อำนาจ ถูกอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ผนวกไว้เป็นดินแดนเดียวกัน ถ้าพิจารณาจากจดหมายเหตุอาหรับและจีนทำให้ทราบคร่าว ๆ ว่าเมืองลังกาสุกะ เป็นเมืองใหญ่ อาณาเขตด้านทิศเหนือติดต่อเมืองสงขลา และเมืองพัทลุง อาณาเขตด้านทิศใต้แผ่ไปสุดแหลมมลายู ทางด้านตะวันออกจดอ่าวไทย ทางด้านตะวัน ตกจดฝั่งทะเลตะวันตกในทะเลอันดามัน..." เมืองไทรบุรีโบราณจึงรวมอยู่ใน อาณาจักรลังกาสุกะ ในตำนานพื้นเมืองของปัตตานี กล่าวว่าผู้สร้างเมืองพระวัง หรือ โกตา ม้ะฮ์ลิฆา คือ เสียม อัสลี ตามร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ ในปัจจุบัน เมืองนี้เป็นเมืองขนาดใหญ่ โบราณสถาน ในเมืองปรักหักพังหมด เหลือแต่เฉพาะกองอิฐ ซึ่ง เชื่อกันว่า.. เคยเป็นเจดีย์ อุโบสถ วิหาร และเทวาลัย มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 16 แห่ง และสระน้ำขนาดใหญ่อีก 3 แห่ง ศิลปวัตถุของ เมืองนี้จึงกระจัดกระจายอยู่ใน ที่ต่างๆ กัน มีหลายอย่างด้วยกันคือ.. พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์ ศิวลึงค์ เสมาธรรมจักร เครื่องถ้วยชามจีน เครื่องปั้นดินเผา เงินเหรียญชวา และเงินเหรียญอาหรับ เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าเมืองลังกาสุกะเป็นเมืองที่ประชาชนนับถือพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน และศาสนาฮินดู ส่วนชาว เมืองนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นชนชาติใด ตามความเห็นของผู้บันทึกประวัติศาสตร์ปัตตานีคนหนึ่ง คือ อิบรอฮิม ชุกรี เชื่อว่าดินแดน ปัตตานี เป็นที่อยู่ของชาวสยาม มาก่อนที่ชาวมาเลย์ จะอพยพนำเอาศาสนาอิสลามเข้ามา  ตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชสมัย. พระเจ้าศรีวังสา กษัตริย์ซึ่งนับถือพุทธศาสนาองค์สุดท้ายของ อาณาจักร ลังกาสุกะ ปกครองเมือง พระวังตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 21 มีชาวมลายูเดินทางมา ปลายแหลมมลายู และสุมาตรา ได้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณริม ฝั่งทะเลของเมืองพระวัง จนในที่สุด... ชุมชนของชาวมลายูค่อย ๆ เจริญขึ้นเพราะสามารถติดต่อกับพ่อค้าต่างชาติได้สะดวก แตกต่างไปจากเมืองพระวัง ซึ่งอยู่ห่าง ทะเลเข้าไปหลายสิบกิโลเมตร ค่อยๆเสื่อมโทรมลงไปเพราะชาวเมืองได้อพยพไปอยู่ที่อื่น ชุมชนของชาวมลายูนี้ ต่อมาได้พัฒนากลายเป็น "เมืองปัตตานี" ปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางปกครองท้องถิ่นแทนเมืองพระวัง ซึ่งค่อยๆเสื่อมสลายไปโดยไม่ทราบ สาเหตุชัดเจน นอกจากจะอยู่ห่างไกลทะเล และเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา และศาสนาฮินดู แต่เมืองปัตตานีกลับอยู่ใกล้ทะเลและเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลาม

พลโทกิตติ รัตนฉายา ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ จังหวัดปัตตา นีว่า ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน ว่าได้ตั้งขึ้นเมื่อไร แต่ ตามจดหมายเหตุของชาวจีน ตอนที่ชาวจีนมีการติดต่อกับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในคริสศตวรรษที่ 2 นั้น เมืองลังกาสุกะตั้งขึ้นแล้ว จากจดหมายเหตุนี้ นักเรียนชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่าเมืองลังกาสุกะ ดังกล่าวเป็นเมืองเดิมของปัตตานี นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าชาวลังกาสุกะนับถือ ศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์ ภายใต้อิทธิพล ของอารยธรรมอินเดีย หลักฐานจากโบราณวัตถุ สถานที่บริเวณ เมืองโบราณ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พบพระพุทธรูป สมัยคุปตะ เจดีย์ ดินเผามี ลวดลายแบบคุปตะ (หรือทวาราวดี) แสดงว่าชาวลังกาสุกะ นับถือศาสนาฮินดูและพุทธ (ศิวพุทธ) ด้วยและลังกาสุกะ เป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 เพราะว่าอ่าวลังกาสุกะ (อ่าวปัตตานี) ใช้เป็นที่หลบภัยพายุมรสุม ของชาวเรือค้าขายได้เป็นอย่างดี ต่อมาอาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 12 - 18) ได้แผ่อาณา จักรครอบคลุมบริเวณปัตตานี แหลมมลายู บางส่วนของ บอร์เนียว ชวา และสุมาตรา อิทธิพลของพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากในบริเวณนี้ ดังนั้นชาวปัตตานีจึงมี การนับถือศาสนาพุทธกัน โดยทั่วไป ศาสนาอิสลามเข้าสู่ปัตตานี โดยอิทธิพล ของมะละกา.... สมัยมูซัฟฟาร์ ราว พ.ศ. 2002 ประวัติเมืองปัตตานี ฉบับภาษามลายู (อักษรยาวี) ระบุว่ากษัตริย์เมืองตานีชื่อศรีอินทรา เป็นผู้เข้ารีตองค์แรกสอดคล้องกับประวัติศาสตร์เมืองมะละกาปัตตานีหรือเมืองตานีตั้งขึ้น หลังจากเมืองลังกาสุกะ สลายตัว ราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19"


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.yalatoday.in.th/index.php?module=yala01


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

Comment #1-
ฟ้า (Not Member)
Posted @21 ก.พ. 55 18:35 ip : 118...118

ความรู้เยอะมากๆเลยค่ะ เนื้อเรื่องละเอียดมากด้วยค่ะ

แสดงความคิดเห็น

« 6162
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง