สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ลูกเนียง 1 กรัม จะมีกรดเจ็งโคลิค ประมาณ 93%

by sator4u_team @19 ธ.ค. 56 00:51 ( IP : 180...135 ) | Tags : สุขภาพ , สุขภาพ
photo  , 640x480 pixel , 43,299 bytes.

เนียงเป็นไม้ต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง เมล็ดมีลักษณะ คล้ายเมล็ดถั่ว 2 ฝา

ลูกเนียงหรือเมล็ดเนียงเป็นผักที่ นิยมรับประทานกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ซึ่งนิยมรับประทานเป็นผักสด ใช้ลูกอ่อนปอกเปลือกจิ้มน้ำพริก หรือรับประทานร่วมกับอาหารรสเผ็ด หรือบริโภคลูกเนียงเพาะ โดยการนำลูกเนียงแก่ไปเพาะในฟางจนเกิดต้นอ่อนงอก ลูกเนียงดอง หรือทำให้สุก โดยต้มหรือย่าง ลูกเนียงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทาง อาหาร คือ มีโปรตีน 7.9 กรัมเปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 36.2 กรัมเปอร์เซ็นต์ ไขมัน 0.2 กรัมเปอร์เซ็นต์ วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี กรดโฟลิค และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 8 ชนิด โดยทั่วไปรับประทานลูกเนียงแล้วมักไม่เกิดอาการผิดปกติใด ๆ มีบางคนเท่านั้นที่รับประทานแล้วเกิดอาการพิษ

โดยสารที่ก่อให้เกิดอาการพิษในลูกเนียง คือ กรดเจ็งโคลิค ในลูกเนียง 1 กรัม จะมีกรดเจ็งโคลิค ประมาณ 93% ผู้แพ้เมื่อรับประทานไปแล้วมักเกิดอาการภายใน 2-14 ชม. เริ่มด้วยมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่นข้น บางคราวปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ซึ่งแก้ได้ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ และให้ร่างกายขับถ่ายออกมา


Cr. // fb : Voice of Healthy

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8674
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง