ตำนานเขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ประทับพระเจ้าตากสินมหาราช หลังถูกประหาร
สถานที่ตั้ง เขาขุนพนม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติความเป็นมา
ตามประวัติเชื่อกันว่า เขาขุนพนม เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชภายหลังจากสิ้น รัชกาลของพระองค์ มีผู้สันนิษฐานว่าพระเจ้าตากสินทรงมิได้ถูกประหารชีวิต อย่างที่พงศาวดารกล่าวอ้าง แต่ ได้ทรงสับเปลี่ยนพระองค์กับพระญาติหรือทหารคนสนิท แล้วเสด็จมายังนครศรีธรรมราช มีการเตรียมการ โดยมีการสร้างป้อมปราการ ทำเชิงเทิน ป้อมวงกลมตามชะง่อนผาเพื่อให้พระเจ้าตากสินได้ประทับเมื่อทรงผนวชเจริญวิปัน สนากรรมกรรมฐาน ณ วัดเขาขุนพนมจนเสด็จสวรรคต แต่บางกระแสกล่าวว่าเขาขุนพรม สร้างโดยพระยาตรังภูมาภิบาลเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช สำหรับพักตากอากาศที่เขาขุนพนมจึงมีการสร้าง ป้อมปราการคอยป้องกันอย่างแน่นหนา ความสำคัญต่อชุมชน ชาวเขาขุนพนมมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จหนีมาประทับที่เขาขุนพนม จึงได้ร่วมมือ กันสร้างพระตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บริเวณชะง่อนหินเชิงเขา ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อว่าพระองค์ ประทับขณะผนวชอยู่ ประชาชนที่ยังระลึกถึงวีรกรรม และความกล้าหาญในการกู้เอกราชชาติไทยในสมัยเสีย กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ได้ร่วมกันสร้างพระบรมสาทิสลักษณ์ ทั้งในเพศบรรชิต และชุดฉลองพระองค์นักรบ แล้วอัญเชิญมาไว้ในศาลให้ผู้คนที่ศรัทธาได้มากราบไหว้ ปัจจุบันจึงมีประชาชน จากทั่วสารทิศมาเขาขุนพนม อยู่เสมอเพื่อตามรอยพระเจ้าตากสินมหาราชลักษณะทางสถาปัตยกรรมเขาขุนพนมมี ลักษณะเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดเตี้ย ๆ มีต้นไม้ปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น บนภูเขามีถ้ำหินปูน ที่มีโพรงหินงอกหินย้อน ลักษณะของภูเขาวางตัวอยู่ในแถบเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ ๗๕๐ เมตร กว้างตามแนวทางทิศตะวันออก-ตะวันตก ประมาณ ๕๐๐ เมตร สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๔๓ เมตร ส่วนยอดเขาสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑๖๕ เมตร ทางทิศใต้ของภูเขาเป็นทางลาดชัน ทางทิศเหนือเป็นไหล่เขา ทางทิศตะวันตกเป็นสวนมังคุดและสวนยางพารา ทางทิศตะวันตกเป็นโรงเรียนและวัดเขาขุนพนม เขาขุนพนมมีจุดเด่นอยู่ที่วัดเขาขุนพนมซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเขาขุนพนม ประวัติการก่อสร้างไม่ปรากฏ แต่หลักฐานประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ สามารถบ่งนี้ได้ว่า วัดเขาขุนพนมน่าจะสร้างขึ้นในตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่
๑. พระอุโบสถ เดิมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด ๕.๘๐ x ๑๑.๒๐ เมตร ตั้งอยู่บนฐานยกพื้นสูง ๑.๗๕ เมตร เป็นฐานเขียงสองชั้นและฐานสิงห์หนึ่งชั้น หลังคาจั่วไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ประดับหลังคา ของพระอุโบสถเหมือนทั่วไป ลักษณะจะเป็นพระอุโบสถที่เรียกว่า มหาอุด คือไม่มีช่องหน้าต่าง พ.ศ. ๒๕๓๓ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทำให้มีช่องรับแสงใต้หน้าบันและใต้ปีกหลังคา ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีสาวกซ้ายขวาที่พนมมือที่มุมด้านข้างฐานชุกชี รอบ พระอุโบสถมีใบเสมาแปดใบตั้งอยู่บนฐานสิงห์ ย่อมุมได้สิบสอง ส่วนบนเป็นบัวกลุ่มรองรับใบเสมา
๒. ถ้ำพระเจ้าตาก บันไดทางขึ้นมีรูปพญานาคปูนปั้นเจ็ดเศียรสองตน แผ่นพังพานทอดตัวเป็นราว บันได มีทั้งหมด ๒๔๕ ชั้น กลางลำตัวพญานาคสลักเป็นรูปพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิปิดตา อยู่ในวงกลมล้อม รอบด้วยลายเม็ดน้ำค้างและกลีบดอกไม้ ด้านนอกวงกลมเป็นลายกระจัง ใต้ศอพญานาคทุกตนมีลายนโม สุดปลายหางพญานาคเป็นเพิงผาขนาดใหญ่เรียกว่า ถ้ำพระเจ้าตากหรือถ้ำเขาขุนพนม ปากถ้ำหันไปทาง
ทิศตะวันออก มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญได้แก่
๒.๑ ประตูทางเข้าด้านหน้า เป็นเสาหัวเม็ดเตี้ย ๆ ช่องประตูกว้างประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ติดกับเสา หัวเม็ดด้านเหนือมีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ไปชิดกับผนังกำแพงก่ออิฐถือปูน
๒.๒ กำแพงทางด้านทิเศหนือ เป็นกำแพงอิฐถือปูนกว้างประมาณ ๒.๖๐ เมตร ยาว ๙.๓๐ เมตร สูง ๑.๘๐ เมตร ส่วนบนสุดของกำแพงประดับด้วยใบเสมา ภายในห้องหลังกำแพงประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัยสามองค์ ด้านข้างผนังถ้ำมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยหนึ่งองค์และพระพุทธรูปสมาธิสององค์ ตัวกำแพงมีการนำถ้วยชามมาตกแต่ง บริเวณซุ้มของกำแพงยังปรากฏถ้วยลายครามจีนสมัยราชวงศ์หมิง ส่วน ยอดของซุ้มประตูมีเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์ชิงบริเวณซุ้มกำแพงทิศเนือด้าน ในก่อเป็นเสา ยอดเสาคงเป็นเจดีย์ยอดแต่ส่วนขององค์ระฆังหักหายไปแล้ว เหลือเพียงฐานที่เป็นฐานสิงห์ หนึ่งชั้นรองรับบัวกลุ่มประตูด้านหลังทำเป็นเสาหัวเข็มสองเสาเหมือนประตูทาง เข้าด้านหน้า ตัดจากเสาหัวเม็ด ไปทางทิศเหนือเป็นราวกำแพงเตี้ย ๆ ไปชนกับกำแพง ด้านทิศเหนืออีกด้านไปชนทางด้านทิศตะวันตก
๒.๓ กำแพงด้านทิศตะวันตก อยู่ตรงกันข้ามกับประตูทางเข้าออกด้านหน้าเป็นกำแพงสูงประมาณ ๑.๘๐ เมตร ยอดกำแพงไม่มีใบเสมา ในผนังกำแพงมีเสาหลอกสามตัน เสาด้านนอกสุดมีบัวหัวเสาคาดด้วย ลูกแก้วอกไก่ ส่วนยอดเสาคงเป็นเจดีย์ยอดเช่นเดียวกับเสาด้านใน กำแพงด้านนี้ตกแต่งประดับประดาด้วย ลายปูนปั้นทำเป็นรูปดอกไม้ โดยใช้เศษเครื่องลายครามจีนตกแต่ง จุดเด่นของผนังด้านนี้คือปูนปั้นรูปราหูอมจันทร์ ราหูไม่มีริมผีปากล่าง กางแขนออก สองมือประคองดวงจันทร์ อ้าปากแยกเขี้ยวคล้ายจะกลืนกิน
๒.๔ ลานหน้าถ้ำ ในลานหน้าถ้ำมีรูปยักษ์ปูนปั้นสองตนอยู่ด้านหน้าของเสาหัวเม็ดตรงประตูหลัง บริเวณนี้มีพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาเป็นจำนวนมาก รอยพระพุทธบาทจำลองแกะไม้ฝังลงไปในเนื้อไม้เป็น ลวดลายมงคล ๑๐๘ ขนาดกว้าง ๖๓ เซนติเมตร ยาว ๑.๗๒ เมตร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔
๒.๕ กำแพงด้านทิศตะวันตกสุด เป็นกำแพงด้านในสุด อยู่ถัดจากกำแพงด้านทิศตะวันตก ๒.๗๐ เมตร ก่อปิดด้านในสุดของผนังเพิงผาด้านทิศตะวันตก ทำให้เกิดห้องเล็ก ๆ ซึ่งได้มีการนำพระบรมสาทิสลักษณ์ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาประดับที่ซุ้มประตู หลังถ้ำด้านในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ปูนปั้นหนึ่งองค์
๓. พระตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่บนบริเวณชะง่อนหินใกล้เชิงเขา เมื่อขึ้นเขาตาม บันไดนาคประมาณ ๑๐ เมตรจะพบพระตำหนักของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่ทางซ้ายมือ บริเวณ โดยรอบกุฎิมีซากกำแพงก่ออิฐเตี้ย ๆ เส้นทางเข้าสู่เขาขุนพนม จากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปตามถนนสาย ๔๐๑๖ นครศรีธรรมราชถึงอำเภอพรหมคีรี ระยะทาง ประมาณ ๒๔ กิโลเมตร ถึงสี่แยกพรหมโลก เลี้ยวขวาเข้าไปตามถนนสายพรหมโลก-ท่าแพ ถึงบ้านนาเสน ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๕๐๐ เมตร จะเห็นเขาขุนพนมตั้งอยู่เบื้องหน้า
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดจาก : http://www.kontaiclub.com/
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ