ทำไมตราจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรูป 12 นักกษัตร
ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวที่เกี่ยวกับตราจังหวัดนครศรีธรรมราชว่าทำไมถึงเป็นรูป 12 นักษัตรนั้น อยากจะบอกทุกคนว่าเราเกิดมาในผืนแผ่นดินไทยเป็นประชาชนคนไทย ประวัติความเป็นมาของชาติกำเนิดของเราซึ่งอาทจะมาจากบรรพบุรุษที่แตกต่างกันเพราะเรื่องของถิ่นฐานบ้านเกิดที่กำเนิดกายของเรา แต่สิ่งที่เราเหมือนกันปัจจุบันนี้คือเราเป็นคนไทยและเรารวมอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทย ผืนแผ่นดินที่มีทั้งคุณเอนกอนันต์และพระคุณมากมายล้นพ้นต่อสรรพชีวิตอันน้อยนิดของเราทุกคน เราทุกคนมีเลือดสีเดียวกันจงรักสามัคคีกันและสร้างสรรค์สังคมเรานี้ให้เป็นสังคมแห่งความสุขและรักใคร่กันเถอะ ถึงจะเป็นเฉพาะกลุ่มเราซึ่งเป็นส่วนน้อยก็ตาม จงส่งจิตอันเป็นกุศลแผ่เมตตาให้กับคนที่คิดจะทำร้ายทำลายประเทศชาติของเราให้ไปสู่ที่ชอบที่ชอบกันเหอะ และอวยพรให้ผู้ที่คิดและทำดีต่อผืนแผ่นดินนี้จงพบแต่ความสุขความเจริญ สมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนาตลอดไปด้วยเทอญ
อาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นอาณาจักรที่สิ้นสุดลงก่อนหน้าอาณาจักรอื่น ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน โดยเป็นประเทศราชของอโยธยาและสุโขทัย จนสืบเนื่องมาถึงอาณาจักรอยุธยา เรื่องราวของอาณาจักรนี้จึงค่อนข้างมืดมนไม่ชัดเจน
อาณาจักรนครศรีธรรมราช มีวิวัฒนาการมาจากแคว้นตามพรลิงค์ แคว้นหนึ่งในเขตวัฒนธรรมศรีวิชัยตอนบน (ภาคใต้ของไทย) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทวารวดี ชาวนครศรีธรรมราชเป็นคนไทกลุ่มหนึ่ง ปกครองเมืองสิบสองนักษัตร (๑๒ เมือง) โดยมีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองศูนย์กลาง กษัตริย์ปกครองอยู่ในราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช
ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช มีที่มาจากกษัตริย์ผู้สถาปนา อาณาจักรนครศรีธรรมราช (จังหวัดนครศรีธรรมราช) คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จากหลักฐานที่พบจดบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณในหอสมุดแห่งชาติ มีชาวนครศรีธรรมราชท่านหนึ่งซึ่งสนใจศึกษาวิชาโหราศาสตร์ ได้ค้นคว้าพบดวงชะตาเมืองนครศรีธรรมราช สถาปนาขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ จุลศักราช 649 ตรงกับพ.ศ. 1830 ซึ่งเป็นการสถาปนาหลังจากอาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายไปแล้ว เนื่องจากอาณาจักรศรีวิชัย มีอายุอยู่ในช่วง พ.ศ. 1000- 1800
พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ทรงมีพระอนุชา 3 พระองค์ องค์รองชื่อ จันทรภาณุ ซึ่งเป็นพระนามฐานันดรตำแหน่งอุปราช องค์สุดท้ายทรงพระนามว่า พงษาสุระ เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระเชษฐาสวรรคต องค์รองพระเจ้าจันทรภาณุขึ้นเสวยราชย์แทน เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากกษัตริย์แห่งอาณาจักรนครศรีธรรมราช พระองค์ก่อนสิ้นพระชนม์ กษัตริย์พระองค์ต่อมาก็เป็นพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแทน ดังเช่นเมื่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์พี่สิ้นพระชนม์ พระเจ้าจันทรภาณุ ก็ได้รับพระนามว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เช่นกัน แต่คนทั่วไปก็มักจะเรียกจนติดปากว่า พระเจ้าจันทรภาณุ หรือในอีกชื่อหนึ่งของพระองค์คือ จตุคามรามเทพ "ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช" เป็นราชวงศ์หนึ่ง ของไทยที่เคยมีอำนาจปกครอง อาณาจักรนครศรีธรรมราช ซึ่งปกครองเมืองต่างๆ ทางภาคใต้ของไทย จำนวน 12 เมือง เรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตร ดังนี้
1) เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
2) เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
3) เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
4) เมืองปาหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปาหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
5) เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
6) เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
7) เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
9) เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
10) เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
11) เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
12) เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
เมื่อสมัยสุโขทัยเรืองอำนาจ ของอาณาจักรไทยทางภาคเหนือและภาคกลาง อาณาจักรนครศรีธรรมราช เองก็มีอำนาจรุ่งเรืองในภาคใต้ อาณาจักรนครศรีธรรมราชเป็นมิตรที่ดีต่ออาณาจักรสุโขทัย มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา มีส่งพระสงฆ์ไปยังอาณาจักรสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ยังไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่า อาณาจักรนครศรีธรรมราชยอมเข้ารวมเป็นส่วนหนึ่ง ของประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ในสมัยใด แต่จากการสันนิษฐานคาดว่า อาณาจักรนครศรีธรรมราชคงเป็นประเทศราชของอโยธยาและสุโขทัยตามลำดับมาตั้งแต่ประกาศเอกราชจากศรีวิชัย เนื่องจากประวัติศาสตร์ของสองนครนั้นกล่าวว่านครศรีธรรมราชเป็นประเทศราชของตนในช่วงต่อเนื่องกันพอดี และต่อมาคงได้มีเอกราชอยู่สักระยะหนึ่ง จึงเข้ามาเป็นประเทศราชของอาณาจักรไทยอีกครั้งในสมัยอาณาจักรอยุธยาในประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ที่ปรากฏในหลักฐานที่เด่นชัดที่สุดคือในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชพระองค์มีพระมเหสี 4 พระองค์ หนึ่งในนั้นคือพระมเหสีจากราชวงศ์ศรีธรรมาโศก ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติในสมัยโบราณ ที่จะให้อาณาจักรของตน มีความสัมพันธ์กับกับอีกราชอาณาจักรหนึ่ง เพื่อเป็นมิตรกันจะได้เกื้อหนุน ช่วยเหลือกัน อาณาจักรนครศรีธรรมราชรุ่งเรืองอยู่ได้ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ โดยอาจเป็นประเทศราชของอโยธยาและสุโขทัยตามลำดับก็ตาม แต่ก็คงมีช่วงที่เป็นเอกราช สร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เรียกว่า "ไทยถิ่นใต้" ตามเขตแดนปัจจุบันนั่นเอง
ปล. จงภูมิใจและศึกษาประวัติความเป็นมาของบ้านเกิดของตัวเราเองแล้วจะรู้ว่าบ้านเกิดของเราแต่ละคนก็เป็นแหล่งวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่เหมือนกันไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนของประเทศไทย ประวัติของบรรพบุรรุษคือความสุขของอนุชนรุ่นหลังอย่างเรา จงภูมิใจในความเป็นไทย และ " สำนึกรักบ้านเกิด" กันเหอะเพื่อนเพื่อน แล้วจะหาเรื่องราวดีดีของจังหวัดอื่นมาฝากในโอกาสต่อไปนะ
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://lektmddiarymuangthai.multiply.com/journal/item/8
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ