พระราชประวัติ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นกษัตริย์นครศรีธรรมราชโบราณในสมัยที่ยังเรียกว่า “ตามพรลิงค์” พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ปัทมวงศ์ พระราชประวัติของพระองค์กล่าวเป็น ๓ นัยด้วยกัน คือ
(๑) จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองอื่นมาก่อน ภายหลังเกิดโรคห่าระบาดในเมืองนั้นจนทำให้ผู้คนล้มตายลงเป็นจำนวนมาก จนต้องอพยพผู้คนที่เหลือลงเรือหนีตายมาขึ้นที่หาดทรายแก้ว และได้ตั้งบ้านเมืองขึ้น ณ ที่นั้น และขนานนามว่า”นครศรีธรรมราชมหานคร” เมื่อสร้างเมืองเสร็จก็ได้สร้างสถูปเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นที่เมืองนั้น
(๒) จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชอีกฉบับหนึ่งคือฉบับที่พบที่วัดเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับฉบับที่พบที่ทุ่งตึก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา กล่าวความตรงกันว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชนั้นเป็นพราหมณ์ชาวอินเดีย เดิมชื่อว่า “พราหมณ์มาลี” ได้อพยพพรรคพวกลงเรือสำเภาหลายร้อยลำ หนีการรุกรานพวกอิสลามจากอินเดียมาขึ้นบกที่บ้านทุ่งตึก ใกล้เมืองตะกั่วป่า ฝั่งทะเลตะวันตก ในชั้นแรกได้ตั้งบ้านเมืองขึ้นที่นั่น อภิเษกพราหมณ์มาลีขึ้นเป็นกษัตริย์ถวายพระนามว่า “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” พราหมณ์มาลาผู้เป็นน้องเป็นพระมหาอุปราช
การอพยพครั้งนั้นพวกอินเดียได้นำเอาพระทันตธาตุมาด้วยพวกอินเดียสร้างเมืองทุ่งตึกไม่ทันเสร็จก็ถูกพวกอิสลามตามตีแตกพ่ายอีก จนต้องอพยพทิ้งบ้านเมือง หนีขึ้นไปตามลำน้ำตะกั่วป่า ข้ามเขาสก ล่องเลียบริมฝั่งแม่น้ำพุมดวงมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งมั่นอยู่ที่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีท่าทีว่าจะตั้งราชธานีที่นั่นอีก แต่เพราะเหตุภูมิประเทศไม่อำนวยทำให้พวกอินเดียที่อพยพมานี้ผิดน้ำผิดอากาศ จนเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้ต้องอพยพผู้คนต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปตั้งถิ่นฐานที่เชิงเขาชวาปราบปลายคลองสินปุน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แต่ก็มีสาเหตุคล้าย ๆ กับที่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต่อไปเพื่อหาชัยภูมิใหม่ได้อพยพขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้งและได้มาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเสียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะโรคห่ายังไม่ขาดหาย ต้องรื้อถอนต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนพบหาดทรายใหญ่อยู่ริมทะเล ภูมิประเทศต้องลักษณะชัยภูมิที่ดี คือมีลำน้ำและที่ราบเหมาะสำหรับการเกษตร จึงได้สร้างราชธานีขึ้น ณ ที่นั่น โดยสร้างกำแพงเมือง ปราสาทราชวัง เทวสถาน และพระมหาธาตุเจดีย์บรรจุพระทันตธาตุที่เอามาจากอินเดียด้วย
(๓) ขจร สุขพานิช ได้เสนอเรื่อง “ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช” โดยอ้างหลักฐานจากจารึกหลักหนึ่งที่พบจากจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบกับการศึกษาจารึกวัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและหลักฐานจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมาประกอบกัน ทำให้ได้ความเลา ๆ ว่า ราชวงศ์นี้อุบัติขึ้นในลุ่มน้ำเจ้าพระยามาก่อนแล้ว จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏราชวงศ์นี้มีเหตุให้ต้องทิ้งราชธานีเดิม ลงไปแสวงหาที่พักพิงใหม่ทางปักษ์ใต้ และขณะเดินทางลงใต้ได้พบและทำสัตย์ปฏิญาณกับราชวงศ์อู่ทอง ได้แบ่งอาณาเขตปกครองซึ่งกันและกัน และสัญญาจะเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันในยามคับขัน และลงความเห็นว่าราชธานีน่าจะตั้งอยู่ลพบุรีมาก่อน
จากสาเหตุดังกล่าว พอจะอนุมานได้ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชนั้นเป็นผู้ที่อพยพมาจากถิ่นอื่นและเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อได้สร้างบ้านเมืองขึ้น จึงนำเอาพระพุทธศาสนารวมทั้งลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์มาด้วย พระนามว่า”ศรีธรรมาโศกราช” นี้ ภายหลังได้ใช้เป็นพระนามหรือนามที่เป็นอิสริยศของพระมหากษัตริย์หรือเจ้าเมืองที่ปกครองเมืองนี้ตลอดมาพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อราว ๆ พ.ศ. ๑๐๙๘ ในชั้นแรกคนทั่วไปเรียกว่า “สิริธัมนคร” ในศิลาจารึกเมืองไชยาเรียกว่า “ตามพรลิงค์” หรือในจดหมายเหตุของจีนเรียกว่า “ตั้งมาหลิ่ง” เป็นต้น การที่เรียกเมืองตามพรลิงค์ว่า “นครศรีธรรมราช” นี้ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (หลักที่ ๑)เป็นครั้งแรกชื่อนี้มีเค้ามูลที่จะเชื่อถือได้ว่า เป็นราชอิสริยยศที่ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครศรีธรรมราชว่า “ศรีธรรมราช” คงจะถือเป็นประเพณีสืบต่อเนื่องกันมาหลายองค์ จึงเป็นเหตุให้ไทยขนานนามราชธานีนี้ตามพระนามราชอิสริยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ว่า”นครศรีธรมราช”ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นต้นมาเมืองที่ทรงสร้างดังกล่าวเป็นมหานครใหญ่มีอำนาจมาก มีกำแพงปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นใน นอกจากนั้นยังมีเมืองขึ้น ๑๒ หัวเมือง เรียกว่า ๑๒ นักษัตร ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต ด้านศาสนจักรได้ทรงสร้างสิ่งสำคัญคือสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น จึงนับได้ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช และสร้างพระสถูปเจดีย์ที่เรียกว่า “พระบรมธาตุ”ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยต่อมา
พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณ
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงมีพระกรณียกิจและมีพระเกียรติคุณดังนี้
๑. ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของนครศรีธรรมราชโบราณ และได้เป็นผู้สร้างบ้านแปงเมืองให้เป็นอาณาจักรสำคัญในแหลมอินโดจีน
๒. ได้ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๙๘ โดยสร้างกำแพงป้อมปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นใน ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทำให้นครศรีธรรมราชเป็นมหานครใหญ่และมีอำนาจมาก มีเมืองขึ้น ๑๒ หัวเมืองเรียกว่า ๑๒ นักษัตร ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต โดยกำหนดให้ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราเมืองแต่ละเมือง
๓. ได้ทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นบนหาดทรายแก้ว ซึ่งนับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญในสมัยต่อมาตราบจนปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.kontaiclub.com/
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ