เรื่องเล่าภาคใต้(นิทานพื้นบ้าน) ตำนานถ้ำพระขยางค์
มีตำนานเล่าว่า นายแก้วชาวเมืองนครศรีธรรมราช เป็นนายบ้านอยู่ที่ตำบลปากจั่นในปัจจุบัน จากการจับเต่ากระสีทองไปถวายเจ้าเมืองชุมพรซึ่งนำไปถวายพระเจ้าอยู่หัวอีกต่อหนึ่ง ทำให้นายแก้วได้รับความดีความชอบพระทานบรรดาศักดิ์เป็นพระแก้วโกรพ เจ้าเมืองตระหรือเมืองกระ พระแก้วโกรพได้ส่งบุตรชายไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองนครศรีธรรมราช ด้วยหวังจะให้มาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนตน ระหว่างนั้นนายแก้วได้นางจันเป็นภรรยาอีกคนหนึ่ง เมื่อนายทองบุตรชายกลับมา ได้ผูกสมัครรักใคร่ได้เสียกับนางจัน ความเกรงว่าบิดาจะทราบเรื่องจึงคิดทำปิตุฆาต แต่พระแก้วโกรพทราบก่อน จึงโกรธมาก สั่งจับบุตรชายใส่ขื่อคาไปฆ่าทิ้ง
แต่นายทองสำเร็จวิชาอยู่ยงคงกะพันมา การเฆี่ยนตีหรือใช้อาวุธจึงไม่เป็นผล บิดาจึงสั่งจับบุตรชายขึ้นขาหยั่ง โดยใช้ไม้ ๓ ต้นปักโคนทะแยงเป็นรูป ๓ มุม ปลายไม้ผูกติดกันไว้ แล้วให้เอาไปไว้ในถ้ำเขาแหลมเนียง ทรมานจนตายด้วยการอดอาหาร
นางน้อยผู้เป็นมารดาได้พยายามหาช่องทางส่งอาหารไปให้แต่ก็ไม่เป็นผล อาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาก็นำว่านจำนวนมากมาเพื่อช่วยเหลือ ก็ไม่ทันนายทองตายก่อนแล้ว
คติและแนวคิด
สาระสำคัญของตำนานเรื่องดังกล่าว คือเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างบิดากับบุตรชายในเรื่องชู้สาว ที่บุตรชายและภรรยาน้อยของตนมีต่อกันจนขั้นคิดทำปิตุฆาต และได้รับการลงโทษจากบิดาอย่างโหดร้าย ในขณะเดียวความรักและความห่วงใยของมารดาและอาจารย์ที่มีต่อบุตรชายและลูกศิษย์ก็ทำให้บุคคลเหล่านั้นแสวงหาวิธีการช่วยเหลือ เรื่องราวที่ปรากฏในตำนานจะเป็นที่มาของชื่อสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดระนอง และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เขาหยาง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า ขาหยั่งที่เพี้ยนมาเป็น พยาง และขยางค์ นอกจากนี้ยังมีชื่อคลองลำเลียง แม่น้ำน้อย เกาะโลงทอง คลองจั่น เกาะคนที เกาะใส่ยา เกาะผี เป็นต้น
ส่วนคติและแนวคิดที่ได้รับจากตำนานเรื่องดังกล่าว ก็คือ ให้ควรระวังความใกล้ชิดกันระหว่างหญิงชายซึ่งอาจนำไปสู่การผิดศีลธรรมได้ การสะท้อนถึงความรักของแม่ที่มีต่อบุตรแม้ว่าบุตรจะกระทำผิด นอกจากนี้การเปลี่ยนใจมายึดมั่นในหลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของพระแก้วโกรพ ทำให้ได้รับการยอมรับนับถือจากสมาชิกในชุมชนยกย่องให้เป็นพ่อตาหลวงแก้ว
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.muangkondee.com/index.php?topic=126.0
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ