สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: ชุมพร ::: ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ชึ้นชื่อรังนก

ประวัติจังหวัดชุมพร : ประตูสู่ภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

by sator4u_team @2 พ.ย. 54 02:09 ( IP : 101...34 ) | Tags : ข้อมูลจังหวัด
photo  , 448x336 pixel , 17,909 bytes.

ประวัติจังหวัดชุมพร : ประตูสู่ภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

คำว่า จังหวัดชุมพร เพิ่งเริ่มใช้ในปี พ.ศ.2459 โดยทางราชการเปลี่ยนนามท้องที่ที่เรียกว่า เมือง อันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลว่า “จังหวัด” ส่วนคำว่าเมืองให้ใช้สำหรับเรียกตำบลที่ประชาชนได้เคยเรียกว่าเมืองมาแล้วแต่เดิมอันเป็นเขตชุมชนเท่านั้น ในสมัยโบราณมีชื่อว่า “เมืองชุมพร” เมืองชุมพรเป็นเมืองเเก่าแก่เมืองหนึ่งแต่จะตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน เพิ่งมาปรากฏตามตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของหอสมุดแห่งชาติมีความตอนหนึ่งว่าเมื่อศักราชได้ 1098 ปี พระยาศรีธรรมาโศกราชก็สร้างเมืองลงบนหาดทรายรอบเป็นเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสั่งให้ทำอิฐทำปูนก่อพระธาตุครั้งนั้น และยังมีพระพุทธสิหิงค์ล่องทะเลมาแต่่เมืองลังกาถึงเกาะปีนัง และลอยมาถึงหาดทรายแก้วที่จะก่อพระธาตุนั้น ต่อมาพระยาศรีธรรมาโศกราชได้ขุดพบพระธาตุแล้วแบ่งให้พระยาศรีธรรมาโศกราชไปก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่เหลือไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช แล้วตั้งเมืองสิบสองนักษัตรตามปูมโหรขึ้นแก่เมืองนครศรีธรรมราชให้ใช้ตรารูปสัตว์ประจำปีเป็นตราของเมืองนั้นๆ คือ ปีชวดตั้งเมืองสายถือตราหนูหนึ่ง ปีฉลูเมืองตานีถือตราโคหนึ่ง ปีขาลเมืองกลันตันถือตราเสือหนึ่ง ปีเถาะเมืองปาหัง ถือตรากระต่ายหนึ่ง ปีมะโรงเมืองไทรถือตรางูใหญ่หนึ่ง ปีมะเส็งเมืองพัทลุงถือตรางูเล็กหนึ่งปีมะเมียเมืองตรังถือตราม้าหนึ่ง ปีมะแมเมืองชุมพรถือตราแพะหนึ่ง ปีวอกเมืองปันทายสมอถือตราลิงหนึ่ง ปีระกาเมืองอุลาถือตราไก่หนึ่ง ปีจอเมืองตะกั่วป่าถือตราสุนัขหนึ่ง ปีกุนเมืองกระถือตราหมูหนึ่ง เข้ากัน 12 เมือง มาช่วยทำอิฐปูนก่อพระธาตุขึ้น


ตามตำนานนี้เมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้นมีอำนาจมาก ปรากฏว่ามีเมืองชุมพรเป็นเมืองขึ้นอยู่เมืองหนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.1098 เมืองชุมพรในสมัยนั้นปรากฏว่า เป็นเมืองด่านเพราะอยู่ระหว่างช่องแคบมลายูเป็นเมืองด่าน หรือแคว้นเทพนครหรือแคว้นอู่ทอง ในสมัยต่อมาไม่มีหลักฐานที่อ้างอิงหรือกล่าวถึงเมืองชุมพรไว้เลย จึงมีผูู้้เข้าใจว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา เมื่อปีจอ พุทธศักราช 1997 (จ.ศ.816) ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระเจ้าอยู่หัวในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงซึ่งได้โ้ปรดให้ชำระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ได้มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าสั่งว่า บรรดาข้าราชการอยู่บนหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงให้ถือศักดินาตามพระราชบัญญัตและปรากฏว่ามีออกญาเคางะทราธิบดีศรีิสุรัตวลุมหนักพระชุมพร เมืองตรีถือศักดินา 5,000 ไร่ เป็นอันรับรู้ว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองตรีและเกิดขึ้นแล้วในแผ่นดินของพระองค์ แต่ต้องเข้าใจว่าก่อนที่จะได้เป็นเมืองตรี เมืองชุมพรจะต้องเป็นเมืองเล็กมาก่อนจึงไม่มีหลักฐานในประวัติศาสตร์ไว้ให้เห็นชัด เพิ่งมาปรากฏแน่ชัดขึ้นว่าเมืองชุมพรเป็นหัวเมืองหนึ่งในหัวเมืองปักษ์ใต้้ตั้งแต่ปี พ.ศ.1997 เป็นต้นมา หรือประมาณ 503 ปีเศษแล้ว


เมืองชุมพรจะตั้งอยู่ ณ ตำบลใด ที่ใดไม่มีหลักฐานที่แน่นอนทั้งนี้เมืองชุมพรไม่มีโบราณวัตถุุที่เป็นพยานหลักฐานว่าเมืองแต่โบราณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเรียบเรียงไว้ในตำนานเมืองระนอง ความตอนหนึ่งว่า"เมืองชุมพรประหลาดผิดกับเมืองอื่นในแหลมมลายู เมืองที่ตั้งมาแต่โบราณ เช่น เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น ล้วนมีโบราณวัตถุและมีตัวเมืองปรากฏอยู่บ้างรู้ได้ว่าเป็น้เมืองมาแต่โบราณ แต่เมืองชุมพรยังไม่ได้พบโบราณสถานวัตถุเป็นสำคัญแต่อย่างใด อาจจะเป็นด้วยเหตุ 2
ประการ คือ มีที่นาไม่พอกับคนประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอยู่ตรงคอคอดแหลมมลายู มักเป็นสมรภูมิิรบพุ่งกันตรงนี้ จึงไม่สร้างเมืองถาวรไว้ แต่ก็ต้องรักษาไว้เป็นเมืองด่าน" นอกจากเหตุผล 2 ประการดังกล่าวแล้วพิจารณาจากสภาพตามธรรมชาติแล้วยังมีเหตุผลอีกอย่างหนึ่ง คือ ที่ท้องที่ตั้งจังหวัดชุมพรเป็นที่ราบต่ำน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร เรือกสวนไร่นาเสียหายอยู่เสมอ บางปีน้ำท่วมถึง 2 - 3 ครั้ง ภัยจากน้ำท่วมอาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่นิยมสร้างถาวรวัตถุไว้ให้ปรากฏแก่ชนรุ่นหลังก็ได้ แม้แต่บ้านเรือนราษฎรในเมืองก็ไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างอาคารถาวรเป็นเรือนตึกหรือคอนกรีต เพิ่งจะมีตึกขึ้นเป็นครั้งแรกในตลาดชุมพร เมื่อ พ.ศ.2491 นี้เอง


อย่างไรก็ดี จากหลักฐานบางอย่างปรากฏว่ามีหมู่บ้านหนึ่งอยู่ใกล้วัดประเดิมอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำชุมพรเรียกว่า “บ้านวัดประเดิม” หรือ “บ้านประเดิม” ปัจจุบันอยู่หมู่ที่ 20 ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร พิจารณาตามลักษณะภูมิประเทศจะเห็นว่ามีคลองสองคลองไหลมาเกือบบรรจบกัน และในระหว่างคลองทั้งสอง คือ คลองชุมพรและคลองท่าตะเภา ซึ่งขณะนี้เรียกกันว่าคลองร่วมเมืองชุมพรตั้งอยู่ ณ คลองท่าตะเภา หาใช่ตั้งที่ ่คลองชุมพรตามชื่อเมืองไม่ จึงเป็นเหตุหนึ่งทำให้สันนิษฐานว่า เมืองชุมพรแต่เดิมน่าจะอยู่ที่คลองชุมพร โดยใช้ชื่ออย่างเดียวกัน นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงวัดมีวัดใหญ่อยู่บริเวณใกล้เคียงหลายวัดคือ วัดประเดิม วัดนอกวัดพระขวาง และวัดวังไผ่ ส่วนวัดประเดิมเป็นวัดใหญ่ที่สำคัญ ชาวบ้านนับถือและพากันไปทำบุญมากกว่าวัดอื่นๆ ซึ่งตามธรรมดาที่ตั้งเมืองโบราณมักจะมีวัดมากและตั้งอยู่ติดๆกันบริเวณวัดประเดิมถัดมาทางทิศเหนือมีอิฐแผ่นใหญ่ ่จมอยู่ในดินบางแห่ง และมีหลักเมืองแห่งหนึ่งใกล้ๆวัดประเดิม หลักเมืองนี้ชาวบ้านในปัจจุบันมักไม่ค่อยรู้จักว่าเป็นอะไร เพราะสภาพในปัจจุบันเป็นเพียงหินก้อนหนึ่งปักอยู่ในดินใต้ต้นข่อยใหญ่ ชาวบ้านใกล้เคียงเรียกกันว่า “พระข่อย” ถือเป็นเทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ตามธรรมดาเมืองโบราณจะต้องมีหลักเมือง พระเสื้อเมืองเป็นประจำเมือง ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ จึงสันนิษฐานว่าเมืองชุมพรเดิมตั้งอยู่ ณ บ้านประเดิม ทางฝั่งซ้ายของเมืองชุมพร จึงมีชื่อตรงกับชื่อคลองอยู่ห่างจากเมืองชุมพรในปัจจุบันไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิิโลเมตร


ต่อมาสันนิษฐานว่าได้ย้ายตัวเมืองไปตั้งอยู่ ณ บ้านท่ายาง ตำบลท่ายาง โดยมีหลักฐานอ้างอิงว่า เมื่อพ.ศ. 2357 ปีจอ ฉศก.(จ.ศ. 1176) ในรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงส่งสงฆ์ไทยจำนวน 7 รูป เป็นสมณทูตออกไปเมืองลังกาโดยทางเรือ โดยมีขุนทรงวิชัยหมื่นไกรคุมเครื่องดอกไม้เงินทองไปบูชาพระเจดีย์ฐานทั้งทั้ง 15 ตำบล ครั้นวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 2 เวลา 4 โมง มีคลื่นจัดเรือได้เกยหาดมัทรี ปากน้ำชุมพรแตก คณะทูตได้ส่งคนออกหาบ้านคนแล้วโดยสารเรือจับปลามาถึงเมืองชุมพรได้ขออาหารจากเจ้าอธิการวัดท่ายางบริโภค แล้วพากันมาหาเจ้าเมืองกรมการเมืองชุมพรได้ป่าวร้องให้ราษฎรจัดแจงหาอาหารมาถวายพระสมณทูตแล้วออกไปรับพระสงฆ์สมณทูตกับคณะเข้ามา ณ เมืองชุมพร นิมนต์ให้พระสงฆ์อาศัยในวัดท่ายาง คราวนี้จะเห็นได้ว่า เมืองชุมพรในปี พ.ศ. 2357 ตั้งอยู่ ณ ตำบลท่ายาง ภูมิฐานของตำบลท่ายางในปัจจุบันนี้ยังมีบ้านเรือนหนาแน่น และใกล้กับปากอ่าวมีเรือสินค้าขนาดใหญ่ไปมาสะดวกบัดนี้ก็ยังเป็นท่าเรือสินค้ามีเรือต่างๆ จากกรุงเทพมหานครบรรทุกสินค้ามาขึ้นแล้วบรรทุกรถยนต์ไปในเมืองอยู่เสมอ ท่ายางเป็นตำบลใหญ่ตำบลหนึ่ง ขณะนี้มีวัดถึง 7 วัด วัดที่อยู่ใกล้เคียงตลาดเก่ามีถึง 3 วัดติดกัน คือ วัดท่ายางใต้ วัดท่ายางกลางและวัดท่ายางเหนือ ตำบลท่ายางจึงน่าจะเป็นที่ตั้งเมืองชุมพรในสมัยต่อมา แต่ย้ายมาเมื่อใดยังไม่พบ่หลักฐานแน่นอน เมื่อตรวจสอบหลักฐานที่พอเชื่อถือได้ พบว่าเมื่อปี พ.ศ. 2433 (ร.ศ.109) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินประพาสแหลมมลายูได้เสด็จประทับที่เมืองชุมพรแล้วทรงม้าทรงช้างพระที่นั่งไปยังเมืองกระบุรี จังหวัดระนอง พลับพลาที่ประทับที่ชุมพรอยู่ทางใต้ของคลองท่าตะเภาโดยมีทุ่งตีนสาย หนองหว้า หนองหวาย ตำบลกรอกธรณี ปัจจุบันขึ้นกับคลองท่าตะเภาโดยมีทุ่งตีนสาย หนองหว้า หนองหวาย ตำบลกรอกธรณี (ปัจจุบันคือตำบลตากแดด) อยู่หลังพลับพลาทุ่งตีนสายยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้อยู่ใกล้วัดสุบรรณนิมิตรไปทางทิศตะวันตกและได้ทรงเรือข้ามไปที่บ้านท่าตะเภา ขึ้นที่หน้าบ้านเจ้าเมืองก่อนแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปตามริมฝั่งบ้านเรือนราษฎร จึงเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 (ร.ศ.109) เมืองชุมพรได้มาตั้งอยู่ที่คลองท่าตะเภาแล้ว ตัวเมืองและสถานที่ราชการหาใช่ที่อยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ อยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับทุ่งตีนสายและบริเวณบ้านท่าตะเภาเหนือ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ได้เสด็จโดยทางเรือพระที่นั่ง 12 กรรเชียง ถึงพลับพลาที่ท่าตะเภาเหนือ ไปถึงหมู่บ้านที่เป็นเมืองชุมพร เวลาจวนค่ำเสด็จพระราชดำเนินที่หมู่บ้านท่่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร ตลาดท่าตะเภาเดิมอยู่ตรงข้ามบ้านทุ่งตีนสาย บริเวณระหว่างที่ทำการป่าไม้จังหวัดกับตลาดในปัจจุบันนี่ ตลาดท่าตะเภานี้แต่เดิมเป็นป่ามีเสือชุกชุมมากจนขึ้นชื่อว่า เสือชุมพรดุมาก เมื่อทางราชการตัดทางรถไฟสายใต้ผ่านตัวเมืองชุมพร ป่าเสือก็กลายสภาพเป็นตลาดการค้า ต่อมาตัวเมืองได้ย้ายอีกแต่ไม่ทราบว่าเมื่อใด เนื่องจาก ไม่มีีหลักฐานแน่นอน แต่จะต้องหลังจาก พ.ศ. 2433 (ร.ศ.109) แล้ว ปรากฏว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดการปกครองท้องที่ใหม่ โดยแบ่งการปกครองออกเป็นเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หลายเมืองรวมเป็นมณฑลเทศาภิบาล ในปีพุทธศักราช 2439(ร.ศ.115)ได้ตั้งมณฑลชุมพรขึ้น ตั้งศาลารัฐบาล ณ จังหวัดชุมพร ปรากฏหลักฐานว่าตัวเมืองชุมพรได้ย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่ริมคลองท่าตะเภา คือที่ปลูกบ้านพักนายอำเภอเมืองชุมพรอยู่ใกล้จวนผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันเหตุผลที่จำเป็นต้องย้ายเมืองจากบ้านประเดิมและตำบลท่ายางมาอยู่ที่คลองท่าตะเภาไม่พบหลักฐาน ณ ที่ใด แต่เท่าที่ค้นคว้าน่าจะเป็นเพราะเหตุสองประการดังต่อไปนี้ คือ


(1) คลองชุมพรอันเป็นที่ตั้งเมืองมาแต่เดิม เคยใช้เป็นทางเรือสำเภาใหญ่ๆสัญจรและบรรทุกสินค้าไปมากับจังหวัดใกล้เคียงและต่างประเทศมีระยะไกลจากปากอ่าว ประกอบกับคลองท่าตะเภาเป็นท่าเรืออยู่ก่อนแล้ว ความเจริญก็มีมากทำเลการทำมาหากินก็ดีขึ้น ประกอบกับขณะนั้นประชาชน ณ เมืองชุมพรเดิมคงจะถูกพม่ารุกรานจึงเที่ยวหลบซ่อนหาที่ตั้งบ้านเรือนใหม่ จึงได้อพยพกันมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินที่บ้านท่าตะเภามากขึ้นกลายเป็นท้องที่ที่ ประชาชนหนาแน่น จึงเป็นเหตุหนึ่งให้ย้ายเมืองชุมพรไปจากบ้านประเดิม


(2) ปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมืองชุมพรถูกพม่ายกทัพมาย่ำยีหลายครั้งที่สำคัญมี 2 ครั้ง คือ
ก. ในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยาอัมรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2307 ปีจอ ฉศก (จ.ศ. 1126) พระเจ้าอังวะ มังระแห่งพุกามประเทศ ได้จัดกองทัพใหญ่พลฉกรรจ์สองหมื่นห้าพันมาตีกรุงศรีอยุธยา แยกไปทางเหนือทัพหนึ่ง แยกไปทางใต้ทัพหนึ่ง มีมังมหานรธาโบชุกเป็นแม่ทัพถือพลหมื่นห้าพันยกมาตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี หุยตองจากเจ้าเมืองทวายสู้ไม่ได้หลบหนีเข้าไปทางเมืองกระเข้ามาอยู่เมืองชุมพร ทัพพม่ายกติดตามไป เมื่อตีได้้แล้วเผาเมืองชุมพรเสียแล้วยกเข้ามาตีเมืองปะทิว เมืองกุย เมืองปรานแตกทั้งสามเมือง แล้วกลับเข้าไปเมืองทวาย

ข. ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ. 2238 ปีมะเส็ง สัปตศก (จ.ศ.1147) พระเจ้าปดุงแห่งประเทศพม่า จัดกองทัพใหญ่มีพลหนึ่งแสนสามพันคนแยกเป็นหลายกองทัพมาย่ำยี ประเทศไทย ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่มาจนถึงเมืองถลาง (ภูเก็ต) ทางด้านปักษ์ใต้ได้แก่หวุ่นแมงญีเป็นแม่ทัพใหญ่ ให้เนมโยตุงนรัตน์เป็นแม่ทัพหน้ายกมาทางเมืองกระ เมืองระนอง เข้าตีเมืองชุมพร เจ้าเมืองกรมการเมืองชุมพรมีไพร่พลสำหรับป้องกันเมืองน้อยก็เทครัวเข้าป่า ทัพพม่ายกเข้าตีเมืองชุมพรได้แล้วเผาเมืองชุมพรเสีย ทัพหน้าเลยเข้าไปตีเมืองไชยา แล้วก็เผาเมืองไชยาเสียด้วย ส่วนทัพใหญ่ยังคงตั้งอยู่เมืองชุมพร ต่อมากองทัพหลวงมาจากกรุงเทพฯจึงตีกองพม่าแตกไป ในสมัยนี้บ้านเมืองก็คงจะร่วงโรย มีผู้คนเหลือน้อย ต่างกระจัดกระจายกันไปเช่นเดียวกับเมืองระนอง เมื่อเมืองชุมพรได้มาตั้งอยู่คลองท่าตะเภาแล้วที่ตรงนั้นอยู่ริมน้ำตกถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ในสถานที่ซึ่งเป็นบริเวณหน้าศาลจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน เป็นสมัยที่พระสำเริงนฤปการเป็นเจ้าเมือง ในปี พ.ศ. 2460 พระยาคงคาธราธิบดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลสุราษฎรได้ขอเงินงบประมาณเพื่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ที่ตำบลท่าตะเภา คือ บริเวณเทศบาลเมืองชุมพร และสำนักงานที่ดินจังหวัดในปัจจุบัน ก่อสร้างเสร็จเปิดทำงาน ณ ศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ เมื่อ 3 เมษายน 2462เวลา 08.00 น. ในสมัยอำมาตย์ตรีพระชุมพรศรีสมุทรเขต(บัว) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงถือว่า วันที่ 3 เมษายน เป็นวันที่ระลึกของจังหวัดชุมพร


เมืองชุมพรได้เป็นที่ศาลารัฐบาลมณฑลชุมพรด้วย เมื่อเริ่มตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้ว ในปี พ.ศ. 2437มีเมืองขึ้นกับมณฑลนี้ 3 เมือง คือ เมืองสุราษฎร์ธานี เมืองชุมพร และเมืองหลังสวน

ในพ.ศ. 2448 (ร.ศ.124) ได้ย้ายศาลาเทศบาลมณฑลชุมพรไปอยู่ที่บ้านดอน ซึ่งเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้ตรงกับท้องที่ที่ตั้งมณฑล
ในปี พ.ศ. 2468 ได้ประกาศยกเลิกมณฑลสุราษฎร์ธานี และโอนการปกครอง 3 จังหวัด รวมทั้งจังหวัดชุมพรด้วยไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช หลังจากยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลทุกมณฑล

ในปี พ.ศ. 2476 เป็นเหตุให้ยกเลิกมณฑลนครศรีธรรมราชไปด้วย จังหวัดชุมพรจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักรขึ้นตรงต่อราชการ บริหารส่วนกลางจนทุกวันนี้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.chumphon.go.th/2010/pgs/pages.php?pagecatid=1&pageid=1&m=1


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6398
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง