สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

มารู้จักปุ๋ย 'ยูเรีย' กันครับ ชาวนาบ้านเราขาดมันไม่ได้ !!!

by sator4u_team @16 ก.พ. 58 23:38 ( IP : 113...222 ) | Tags : ทำมาหากิน
  • photo  , 600x600 pixel , 90,304 bytes.
  • photo  , 640x480 pixel , 57,926 bytes.

มารู้จักปุ๋ย 'ยูเรีย' กันครับ


ชาวนาบ้านเราขาดมันไม่ได้ !! เลยครับ.. เหมือนเป็นคำสั่งเสียมาจากบรรพบุรุษสืบทอดเป็นมรดกปุ๋ย อย่าทิ้งเขานะ ต้องใช้เขานะ ไม่ใช้ไม่ได้นอนไม่หลับแน่นอน เริ่มตั้งแต่ตอนหว่านแปลงกล้าก็ว่าได้ และต้องใช้มัน..


ปุ๋ยยูเรีย จะมีธาตุอาหารหลักไนโตรเจน (N) เป็นส่วนประกอบในอัตราส่วนที่สูงมากคือร้อยละ 46 โดยน้ำหนัก (ตามกฎหมายเรียกว่า "ปุ๋ยเคมียูเรีย" โดยต้องมีปริมาณไนโตรเจนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 44 ของน้ำหนัก) สูตรปุ๋ยของปุ๋ยยูเรีย คือ 46-0-0 เริ่มคุ้นๆ กับตัวเลขนี้แล้วใช่ไหมครับ เป็นประโยชน์เป็นธาตุอาหารหลักของพืช โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเพาะปลูกที่ต้องเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็ว ทำให้พืชมีลำต้นยาว มีใบดก ใบใหญ่ ใบสีเขียวเข้ม ชาวนาอีสานจะหว่านรองพื้นร่วมกับเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกในแปลงนา


ประโยชน์ของยูเรีย

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นแม่ปุ๋ยที่ให้แร่ธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ซึ่งพืชทุกชนิดมีความต้องการในปริมาณที่สูงมาก โดยทั่วไปไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุอาหารในดินที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของ พืช จึงมีความจำเป็นต้องใส่เพิ่มในทุกกรณี เพื่อให้พืชเจริญเติบโตงอกงาม ได้ผลผลิตที่ดี โดยปุ๋ยยูเรีย ช่วยทำให้พืชมีใบสีเขียว มีส่วนในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโตมีความสูง ใบเจริญงอกงามมีขนาดใหญ่ ใบดกหนา ใบสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มโปรตีนในผลผลิต ข้อควรพึงระวัง จากการศึกษาพบว่านาข้าวของภาคกลางชาวนามีการเติมปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป สะสมขึ้นทุกๆ รอบการทำนา เป็นที่มาทำให้เกิดโรคเพลี้ยระบาด ข้าวล้ม


การให้ธาตุอาหารไนโตรเจนของปุ๋ยยู

ไนโตรเจน (N2) เป็นแก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศ โดยมีมากถึง 78% (มากกว่าแก๊สออกซิเจนที่เราใช้หายใจ) แต่เนื่องจากไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อย มีโครงสร้างโมเลกุลยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง อีกทั้งไนโตรเจนไม่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้โดยง่าย ทำให้ในธรรมชาติและในดินมีไนโตรเจนซึ่งอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ น้อยมาก ดินทั่วไปโดยเฉพาะดินสำหรับการเพาะปลูกถูกพืชดูดซึมไนโตรเจนไปใช้จนหมด ทำให้คลาดแคลนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชอีกต่อไป มีความจำเป็นต้องเติมไนโตรเจนกลับลงสู่ดินในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ในรูป ของปุ๋ย และปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูงที่สุดคือปุ๋ยยูเรีย


อัตราการใช้ปุ๋ยยูเรีย วิธีใช้ และระยะเวลาที่ใช้

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของดิน ปริมาณของสารอาหารในดิน และที่สำคัญขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของพืชที่ปลูก พันธุ์พืชที่ปลูกปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีมาก และพืชจึงสามารถดูดซึมธาตุไนโตรเจนไปใช้ได้ทั้งจากทางรากและทางใบ เพราะฉะนั้น การใส่ปุ๋ยยูเรียต้องใส่ในขณะที่ดินเปียกชื้นพอเหมาะ


นาข้าว

สำหรับพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 5-10 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงก่อนข้าวออกดอก 30 วัน สำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-15 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงหลังปักดำข้าว 35-45 วัน


พืชไร่ชนิดต่างๆ

อ้อย สำหรับอ้อยปลูก ใช้ยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50-80 กิโลกรัมต่อปี แบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง เท่า ๆ กันครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน

สำหรับอ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว

สำหรับอ้อยตอ ในเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกหลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว


สับปะรด

ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 25 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบหลังจากปลูก 30 วัน


ข้าวโพด ข้าวฟ่าง

ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-20 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบเมื่อมีอายุ 25-30 วัน


พืชผัก ชนิดต่างๆ

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้ได้กับมะเขือเทศ แตงโม พริก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หอมหัวใหญ่ กระเทียม มันฝรั่ง มันเทศ และพืชผักทุกชนิด โดย แบ่งอัตราการใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อต้นพืชอายุประมาณ 10-15 วัน โดยหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม ครั้งที่สองใช้หลังหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ครั้งแรกประมาณ 30-45 วัน อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม


ข้อควรระวังของการใช้ปุ๋ยยูเรีย

การใช้ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยเคมีชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้มีปุ๋ยตกค้างในดิน ทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพ ทำให้ดินแข็ง เนื่องจากในปุ๋ยไม่ใช่มีแต่ปุ๋ยอย่างเดียวเกินขึ้นหนึ่งในเม็ดปุ๋ยคือสารเติมเต็ม ซึ่งประกอบไปด้วย หิน กรวด ทราย ดิน ซึ่งสารเติมเต็มเหล่านี้แหละครับที่จะเข้าไปแทรกในเนื้อดินและดินแข็งขึ้น รากพืชชอนไชหาอาหารได้ไม่ดี ทำให้ดินเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ทำให้ดินเค็มถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่สูงเกินไปมาก จะทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม มีใบเพิ่มผิดปกติ อาจทำให้พืชเฉาและตายได้ (น็อคปุ๋ย) ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ในกรณีต้นข้าว จะได้ข้าวเมล็ดเล็กลีบกว่าปกติ ทำให้ต้นพืชอ่อนแอไม่แข็งแรง และเป็นโรคได้ง่าย เช่น โรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อรา ที่เคยระบาดในจังหวัดมหาสารคาม หนองบัวลำภู อันเนื่องมาจากใช้ปุ๋ยยูเรียปริมาณสูงมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นข้าวอวบ ใบข้าวอวบ แต่เปราะและอ่อนแอ ติดโรคไหม้ข้าวได้ง่ายเคยมีผลสำรวจการ


ใช้ปุ๋ยยูเรียจากทางการ ปรากฏว่าเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยยูเรียมากเกินความจำเป็น เพราะคิดว่ายิ่งใส่ปุ๋ยปริมาณมาก จะทำให้ได้ผลผลิตปริมาณมากตาม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะนอกจากปุ๋ยส่วนเกินที่พืชไม่ได้ดูดซึมไปใช้แล้ว ทำให้ปุ๋ยตกค้าง และเป็นผลเสียต่อดินในระยะยาว และเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ


วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องศึกษาลักษณะของดิน เคมีของดิน ปริมาณแร่ธาตุอาหารในดิน ปริมาณปุ๋ยที่มีอยู่ในดิน ก่อนการเพาะปลูกในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย ๆ จากประสบการณ์ ควรส่งดินไปตรวจสอบที่หน่วยเกษตรเป็นระยะ เพื่อจะได้รู้ปริมาณปุ๋ยและแร่ธาตุในดิน เพื่อจะได้เลือกประเภทปุ๋ย และสัดส่วนการใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนจังหวะเวลาในการใส่ปุ๋ย เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้สูงสุดไม่เหลือตกค้าง และยังเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยได้อย่างดี


อย่างไรก็ได้ได้มีผลการวิจัย สรุปว่าการใช้แต่ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว กลับจะทำให้โครงสร้างดิน สมดุลของดินเสีย ตลอดจนได้ผลผลิตปริมาณต่ำ ควรใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กันไปด้วยในสัดส่วนที่เหมาะสม


Cr.

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1397
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง