สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

การผลิตเชื้อราขาวหรือจุลินทรีย์ในท้องถิ่น

by sator4u_team @3 ก.พ. 58 20:28 ( IP : 113...67 ) | Tags : ทำมาหากิน , น้ำหมักจุลินทรีย์
  • photo  , 649x495 pixel , 53,156 bytes.
  • photo  , 649x517 pixel , 76,989 bytes.
  • photo  , 664x542 pixel , 63,371 bytes.

จุลินทรีย์ในท้องถิ่น สามารถเก็บได้จากหลายแหล่ง เช่น จากภูเขา เนินเขา ป่าสน ป่าผลัดใบ ในป่าที่ชุ่มชื้นจากป่าไผ่ ใบไผ่ทุกชนิด เศษใบไม้ที่เน่าสลาย จะพบว่าด้านล่างของเศษพืชที่กำลังย่อยสลาย เหล่านั้นจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยราขาว (จุลินทรีย์ท้องถิ่น) แต่ที่พบมากและมีตามหมู่บ้าน ชุมชน ได้แก่ ใต้ต้นไผ่ เศษใบไม้ไผ่ที่กำลังย่อยสลาย เชื้อราขาวจะมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นสังเกตได้ง่าย เกาะติดตามใบไผ่และกิ่งไผ่ การเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) จะขาดไม่ได้เนื่องจากเชื้อราขาวจะช่วยย่อยสลายวัสดุที่ใส่ลงไปในหลุมให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก ตลอดจนช่วยดับกลิ่นมูลสุกรไม่ให้มีกลิ่นเหม็นและไม่ให้เกิดน้ำเสีย ลดปัญหามลภาวะเป็นพิษ รักษาสภาพแวดล้อมได้อีกด้วย การเก็บเชื้อราขาวจะต้องมีขั้นตอนและกรรมวิธี จะทำให้ได้เชื้อราขาวที่มีคุณภาพ (เลี้ยงหมูหลุมต้องทำเชื้อราขาว)


วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้

1.) กะบะไม้สี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม.และสูง 10 ซม. 2.) ข้าวเจ้าหุงสุก
3.) ทัพพีตักข้าว
4.) กระดาษบรุ๊ฟ (กระดาษที่อากาศผ่านเข้าออกได้)
5.) เชือกฟาง
6. ตาข่ายหรือสุ่มไก่
7.) พลาสติก
8.) น้ำตาลทรายแดง
9.) ขวดโหลแก้วหรือพลาสติก


ขั้นตอนและวิธีการทำ

1.) หุงข้าวเจ้าจำนวน 1 ลิตร ให้สุกเหมือนใช้รับประทาน
2.) เทข้าวลงในกะบะสี่เหลี่ยมให้หมดห้ามข้าวสัมผัสกับมือเด็ดขาดจะทำให้ข้าวเน่าเสีย
3.) ใช้ทัพพีเกลี่ยข้าวให้ทั่วกะบะ
4.) ปิดกะบะด้วยกระดาษบรุ๊ฟสองชั้น และใช้เชือกฟางมัดให้แน่น
5.) นำไปวางใต้ต้นไผ่ที่เห็นว่ามีเชื้อราขาวก่อนวางใช้ไม้ไผ่เล็กๆ รองพื้นแล้วนำกะบะวางลงไป
6.) ใช้ใบไผ่คลุมทับกะบะเพื่อควบคุมความชื้น
7.) ใช้ตาข่ายหรือสุ่มไก่กันไว้เพื่อป้องกันสัตว์เข้าทำลาย 8.) คลุมพลาสติกบนตาข่ายหรือสุ่มไก่ เพื่อป้องกันน้ำและสัตว์เข้าทำลายทิ้งไว้นาน 3-4 วัน ถ้าเป็นฤดูหนาวจะใช้เวลานานประมาณ 5-6 วัน 9.) เมื่อครบกำหนดเปิดดูและพบราขาวขึ้นมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำไปใช้ได้ 10.) ใช้มือขยำเชื้อราขาวกับข้าวให้เละเหมือนโคลนทำในกะบะและสามารถใช้มือสัมผัสได้
11.) ใส่น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ลงในกะบะและใช้มือขยำคลุกเคล้าผสมกันให้ทั่ว
12.) นำไปใส่ในขวดโหลหมักทิ้งไว้ 4-5 วัน เก็บไว้ในที่ร่ม แล้วนำไปใช้


ข้อบ่งใช้

อัตราการใช้ เชื้อราขาว 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร


1.) รดพื้นคอกหมูหลุม เพื่อช่วยย่อยสลายของวัสดุในหลุมกลายเป็นปุ๋ยหมักเร็วขึ้น
2.) ป้องกันน้ำเสียและกลิ่นเหม็นจากมูลและปัสสาวะของสุกร
3.) ผสมในน้ำให้สัตว์ดื่มกินเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร 4.) ผสมอาหารให้สัตว์กินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอาหารที่สัตว์กินเข้าไปให้ดีขึ้น 5.) ใช้เร่งการย่อยสลายของกองปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ 6.) ช่วยปรับความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดิน 7.) ช่วยให้ดินปลดปล่อยแร่ธาตุ พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น 8.) ช่วยให้โปร่ง ร่วนซุย มีความชุ่มชื้น อากาศถ่ายเทในดินได้สะดวก 9.) ราดโคลนต้นไม้ เพื่อช่วยทำให้เกิดความชุ่มชื้นและดินร่วนซุย


ที่มา @ ศูนยวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1397
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง