คลินิกเกษตร-เคล็ดลับการปลูก "สะตอ" ให้ได้ผลผลิตที่ดี
สะตอ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia speciosa Hassk. เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ชื่ออื่น กอตอ, ลูกตอ มีกิ่งก้านที่มีขนละเอียดใบประกอบแบบขนนกสองชั้น จะออกช่อที่ปลายของกิ่งตามตำราแพทย์แผนไทย จะใช้เมล็ด ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ ไตพิการ ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้เมล็ดสดรับประทาน แก้อาการผิดปกติของไต
สะตอปลูกง่าย เหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น ๆ แต่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชแซมหรือไม้บังร่ม เพราะโตเร็วให้ร่มเงาดี
ระยะปลูก ควรใช้ระยะ 12 x 12 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ 11 ต้น ในขณะต้นสะตอเล็กสามารถปลูกพืชแซมได้
หลุมปลูก ใช้ขนาด 1 x 1 x 1 เมตร ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กระป๋องนม พร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 บุ้งกี๋คลุกเคล้ากันแล้สกลบหลุม ให้เต็ม
ฤดูปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
การปลูก หลังจากเตรียมหลุมปลูกแล้วให้ใช้จอบขุดดินในหลุมให้มีขนาดพอดีเท่ากับถุงที่ใช้เพาะต้นกล้า กรีดด้านข้างถุงเพาะแล้ววางลงไปในหลุมปลูกใช้ไม้ปักแนบลำต้นผูกเชือกยึดกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่มชื้น ทำร่มเงาให้โดยอาจใช้ทางมะพร้าวมามุงหลังคาบังแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี (ทั้งต้นปลูกจากต้นเพาะเมล็ดและไว้สำหรับทำต้นตอ)
การให้น้ำ รดน้ำให้ชุ่มชื้นเสมอ สะตอที่ปลูกใหม่ในปีแรก ควรให้น้ำวันเว้นวันในช่วงหน้าแล้ง เมื่ออายุ 2-3 ปี ควรให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงหน้าแล้งควรหาเศษพืชคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นสำหรับต้นสะตอที่ให้ผลแล้วระยะที่ต้องการน้ำมาก คือช่วงระยะออกดอกถึงติดฝักจนเก็บเกี่ยวได้ ในช่วงฤดูฝน ควรเตรียมร่องระบายน้ำด้วย
การพรวนดิน ควรทำตั้งแต่เริ่มปลูกเป็นต้นไป ปีละประมาณ 3 ครั้ง เพื่อช่วยกำจัดวัชพืชและถ่ายเทอากาศในดิน หลังจากให้ผลแล้วควรทำการพรวนดินในช่วงก่อนออกดอกและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ควรใส่ตั้งแต่เริ่มปลูก อัตรา 1-2 ปี๊บต่อต้นเมื่อให้ผลแล้วควรใส่อัตรา 3-4 ปี๊บต่อต้น โดยใส่หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะทำให้สะตอให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกปี
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ควรใช้สูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ใส่ก่อนออกฝักและสำหรับต้นที่ให้ฝักแล้วใช้อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใส่ก่อนออกดอกและครั้งที่สองใส่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต จากนั้นให้ทำการตัดแต่งกิ่งด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยอัตราการใส่ ควรเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 0.5 กิโลกรัม
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ ที่นิยมในปัจจุบัน คือ
1.) เพาะเมล็ด
การขยายพันธุ์วิธีนี้ดยเลือกฝักจากต้นพันธุ์ที่แก่เต็มที่แล้วแต่ไม่ต้องถึงกับสุกงอมแกะเมล็ด ออกแล้วลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้เหลือเนื้อเมล็ดที่มีสีเขียว แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน นำขึ้นจากน้ำแล้วนำไปเพาะ ก่อนเพาะควรคลุกสารป้องกันมดกัดกิน เช่นเซฟวิน 85 อัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อ 100 เมล็ด ควรทำการเพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
การเพาะ ใช้ถุงพลาสติก ขนาด 4 x 8 นิ้ว เจาะก้นถุง 2-3 รูเพื่อระบายน้ำ ใส่ดินผสมปุ๋ยคอกอัตรา 2 ต่อ 1 ลงไปประมาณค่อนถุงนำไปตั้งในเรือนเพาะชำ แล้วนำเมล็ดที่เตรียมไว้มาปลูกตรงกลางถุงโดยให้ทางด้านหัวกดลงลึกประมาณ 1 เซนติเมตร เวลางอกลำต้นจะตั้งตรงรดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ภายใน 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกใส่ปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยน้ำบ้าง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตจนอายุ 1 ปี จะมีใบออกประมาณ 3-4 ใบ สามารถนำไปปลูกได้ ข้อดีวิธีนี้คือ ปลูกได้รวดเร็วเป็นจำนวนมากข้อเสียมักกลายพันธุ์ อายุการตกผล 4-7 ปี แล้วแต่ชนิดของพันธุ์
2.) การติดตาแบบเพลท
การติดตาเป็นการทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนต้นเดิมและให้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด ประมาณ 2-3 ปี ระยะเวลาที่เหมาะสมอยู่ในช่วงฤดูฝน ราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพราะเปลือกของต้นตอและตาของกิ่งพันธุ์ดี จะสามารถลอกเปลือกออกได้ง่าย
อุปกรณ์ในการติดตา
มีดติดตา
ผ้าพลาสติกใสสีขาวสำหรับพันแผล
กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
การเตรียมต้นตอเพื่อใช้ในการติดตา
ใช้ต้นตอสะตอหรือเหรี่ยงที่เพาะปลูกในถุงพลาสติกแล้วย้ายปลูกลงในแปลง เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ขนาดของต้นตอมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร
การเลือกกิ่งพันธุ์ดี
เลือกจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง ออกดอกติดผลเร็ว ลำต้นแข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลง เลือกตาบริเวณกิ่งที่ออกฝักแล้วนำไปตัดเป็นท่อน ๆ และควรเป็นตาที่ยังตูมอยู่ ซึ่งตายยังไม่โผล่ออกมา
วิธีติดตา
กรีดต้นตอลึกถึงเนื้อไม้ 2 รอย กว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 -3.5 เซนติเมตร ลึก 0.5-1 เซนติเมตร ให้สูงจากพื้นดินที่โคนต้นตอประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วเปิดเปลือกลง จากนั้นตัดเปลือกส่วนที่เปิดทิ้งให้เหลือประมาณ 0.5 เซนติเมตร
กรีดแผ่นตาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร แล้วใช้ปลายมีดค่อย ๆ แซะให้แผ่นเปลือกลอกออกจากเนื้อไม้ซึ่งมีตาอยู่ตรงกลาง
สอดแผ่นตาลงใต้เปลือกต้นตอที่เปิดไว้โดยให้ตาพันธุ์ดีตั้งตรงตามปกติให้ขอบชิดด้านใดด้านหนึ่ง
พันด้วยผ้าพลาสติกใสสีขาวจากด้านล่างขึ้นบน โดยให้ผ้าพลาสติกซ้อนกันประมาณ 1 ใน 4 ของแผ่นและพันปิดรอยแผลและแผ่นตาทั้งหมด แล้วผูกมัดผ้าพลาสติกให้แน่นเหนือตา
การดูแลรักษาหลังติดตา
หลังติดตาแล้วประมาณ 5-7 วัน ให้สังเกตดู ถ้าการติดตาไม่ได้ผลแผ่นตาจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ถ้าการติดตาได้ผลดีแผผ่นตาจะเป็นสีเขียว ประมาณ 15-20 วันหลังจากติดตาให้ควั่นต้นตอเพื่อเตือนโดยให้สูงจากตาประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เป็นเวลา 7 วัน เมื่อครบกำหนดให้ตัดต้นตอส่วนบนออกทิ้งพร้อมกับเอามีดกรีดพลาสติกให้ขาด ทางด้านตรงกันข้ามกับตา ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 วัน ยอดใหม่ก็จะเจริญออกมาทางตาข้างที่ติดไว้ ข้อดีของต้นติดตา คือ ต้นเตี้ยเก็บฝักง่าย ดูแลรักษาง่าย ลักษณะตรงตามพันธุ์เดิม อายุการออกดอกติดฝัก 3-4 ปี
การเก็บเกี่ยวฝักสะตอ
สะตอจะเริ่มออกดอก ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ใช้ระยะเวลา 68-70 วัน ทั้งพันธุ์สะตอข้าวและสะตอดาน เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุ 4-7 ปี ในต้นหนึ่ง ๆ จะให้ผลผลิตได้ประมาณ 200-300 ฝัก และจะให้ฝักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีตามอายุ
ลักษณะฝักที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวได้ มีดังนี้
สีฝักจะมีลักษณะเป็นมันแววสีเขียวเข้ม เปลือกบริเวณหุ้มเมล็ดจะนูนเห็นเส้นเยื่อใยเด่นชัด รูปทรงสะดุดตา
เปลือกหุ้มเมล็ดเมื่อแกะออกดูด้านในที่บริเวณขั้วของเปลือกจะเห็นเป็นสีส้มเข้มเล็กน้อย แสดงว่าใช้ได้แล้ว
ชิมเมล็ดดูจะพบว่า เมล็ดพันธุ์สะตอข้าว จะมีรสชาติมันและค่อนข้างหวาน เนื้อเมล็ดค่อนข้างแน่น พันธุ์สะตอดานจะมีรสชาติค่อนข้างฉุน เนื้อเมล็ดแน่น
การเก็บเกี่ยวฝักสะตอ มีอยู่ 2 วิธี
ใช้ไม้สอย โดยใช้ไม้ไผ่ลวกยาวประมาณ 5-10 เมตร โดยทำเว้าที่ปลายไม้ำไผ่ ในกรณีต้นที่สูงจะขึ้นบนต้นแล้วใช้ส่วนที่เว้าบิดขั้วฝักสะตอแล้วดึงเข้าหาตัว แล้วปล่อยฝักสะตอให้รูดลงตามเชือกซึ่งผูกโยงระหว่างกิ่งกับหลักไม้ที่พื้นดินลงสู่ด้านล่าง โดยจะมีคนคอยรับอยู่ด้านล่างวิธีนี้ทำให้ฝักสะตอช้ำน้อยที่สุด
ใช้ลิงเก็บ ใช้ในเขตจังหวัดสุราษฎ์ธานี และจังหวัดชุมพร วิธีนี้จะต้องพิจารณาลักษณะฝักที่แก่พอเหมาะที่จะเก็บก่อนทั้งต้น เพราะลิงจะเก็บทุกช่อ ต้องใช้ผ้าขาวม้าขึงด้านล่างเพื่อรองรับด้วย ถ้าไม่รับจะทำให้ฝักเส้ยหาย
ค่าจ้างการเก็บเกี่ยว เกษตรกรที่รับจ้างเก็บจะคิดราคา 100 ฝักละ 15-20 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณของฝักสะตอมีมากน้อยขนาด ไหนในช่วงเก็บนั้น ๆ ต้นหนึ่ง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวได้ 3-4 ครั้งจึงหมด
การรวบรวมฝักสะตอก่อนส่งขาย นิยมใช้วิธีการมัดสะตอรวมเป็นมัด ๆ แต่ละมัดจะมีฝักสะตอ 100 ฝัก โดยจะส่งให้พ่อค้าคนกลางซึ่งจะรับซื้อถึงสวน หรืออาจส่งไปขายที่ตลาดโดยตรง
อายุการวางตลาด
ฝักสะตอสามารถวางตลาดขายได้ประมาณ 3-4 วัน หลังจากนั้นผิวเปลือกจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ และบริเวณเนื้อฝักที่หุ้มเมล็ดจะเริ่มสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มและดำในที่สุด ทำให้ราคาตก การเก็บมาทั้งช่อ และมีใบติดด้วยจะทำให้อายุการวางตลาดยาวนานไปได้อีก 2-3 วัน ตลาด ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
ในประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ หาดใหญ่ (สงขลา) สุไหงโกลก (นราธิวาส) นิยมขายในรูปฝักสด
ต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และสหพันธ์รัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ผลผลิตจะนิยมส่งไปขายในรูปเมล็ดบรรจุลังและบรรจุกระป๋อง
โรคของสะตอ
ยังไม่มีงานวิจัยด้านโรคอย่างจริงจัง เท่าที่พบคือ อาการกิ่งแห้ง หรือเกษตรกรเรียกว่า กิ่งปลดทิ้ง สาเหตุ อาจเนื่องมาจาก ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่เพียงพอ
วิธีป้องกันกำจัดและดูแลรักษา ควรให้น้ำในช่วงหน้าแล้ง และหาเศษวัชพืชคลุมโคนรักษาความชื้น ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งในช่วงฤดูฝน ตัดกิ่งที่แห้ง เผาทำลายเสีย
สัตว์ศัตรูในสวนสะตอ
สัตว์ศัตรูในสวนสะตอ เท่าที่พบมีดังนี้
กระกรอกและกระแต
ลักษณะการทำลาย จะกัดกินเปลือกฝักสะตอที่มีลักษณะสุก ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือแก่เต็มที่เฉพาะเปลือกเหลือแต่เมล็ด เพราะมีรสหวาน
วิธีป้องกันกำจัด เก็บฝักสะตอที่มีอายุแก่พอดี กรณีเอาฝักไว้ทำพันธุ์จะต้องคอยสังเกตดูตลอด ใช้กรงดัก ใช้หนังสติกยิงถ้าพบ
เจริญเติบโตของฝักสะตอ
ชาวสวนสะตอทั่วไปจะเรียกชื่อการเจริญเติบโตของฝักสะตอแต่ละช่วงดังนี้ จากหางช้าง หมายถึงส่วนที่หย่อนออกมาจากบริเวณง่ามใบ เข้าตอบาน หมายถึงช่วงเป็นปุ่มสีเหลือง ขาเขียด หมายถึงช่วงหลังผสมเกสรแล้ว ดาน หมายถึงส่วนที่ยังเป็นลักษณะฝักอ่อน โมน หมายถึงฝักเมล็ดหรือ 1 ช่อ ใช้เวลาประมาณ 68-70 วัน
พันธุ์และการขยายพันธุ์
มี 2 พันธุ์ โดยแบ่งตามลักษณะของฝักและรสชาติได้ดังนี้
สะตอข้าว ฝักมีลักษณะบิดเป็นเกลียว ยาว 31 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดเล็กค่อนข้างชิด ฝักหนึ่ง ๆ มี 10-20 เมล็ด ในแต่ละช่อ มี 8-20 ฝัก รสชาติมัน ไม่มีกลิ่นฉุนเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น สีของฝักเป็นสีเขียวอ่อน ขอบฝักชิดกับเมล็ดเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่ว ไป อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 3-4 ปี
สะตอดาน ฝักมีลักษณะแบนตรง ยาว 32.5 เซนติเมตร กว้าง 3.9 เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดใหญ่ ฝักหนึ่ง ๆ มี 10-12 เมล็ด แต่ละช่อมี 8-15 ฝัก รสชาติมัน มีกลิ่นฉุนจัด เนื้อเมล็ดแน่น ช่องว่างระหว่างเมล็ดห่างกัน ฝักมีสีเขียวแก่ขอบฝักจะห่างจากเมล็ดและมีขนาดหนา ผู้บริโภคชาวภาค ใต้นิยมรับประมาณ อายุการเก็บเกี่ยว 6-7 ปี
การคัดเลือกพันธุ์ มีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ
1.) ตรงตามพันธุ์
2.) ออกฝักทุกปี ผลผลิตมากในหนึ่งต้นและออกฝักก่อนต้นอื่น
3.) ในช่อหนึ่ง ๆ ควรมีฝักตั้งแต่ 10-15 ฝัก ที่สมบูรณ์ มีเมล็ด 15-20 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอและเรียงเป็นแถวสวยงาม
4.) รสชาติดีเป็นที่นิยมของตลาด
5.) ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากแมลงรบกวน
การปลูกและดูแลรักษา
สะตอปลูกง่าย เหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น ๆ แต่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชแซมหรือไม้บังร่ม เพราะโตเร็วให้ร่มเงาดี
ระยะปลูก ควรใช้ระยะ 12 x 12 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ 11 ต้น ในขณะต้นสะตอเล็กสามารถปลูกพืชแซมได้
หลุมปลูก ใช้ขนาด 1 x 1 x 1 เมตร ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กระป๋องนม พร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 บุ้งกี๋คลุกเคล้ากันแล้สกลบหลุม ให้เต็ม
ฤดูปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
การปลูก หลังจากเตรียมหลุมปลูกแล้วให้ใช้จอบขุดดินในหลุมให้มีขนาดพอดีเท่ากับถุงที่ใช้เพาะต้นกล้า กรีดด้านข้างถุงเพาะแล้ววางลงไปในหลุมปลูกใช้ไม้ปักแนบลำต้นผูกเชือกยึดกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่มชื้น ทำร่มเงาให้โดยอาจใช้ทางมะพร้าวมามุงหลังคาบังแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี (ทั้งต้นปลูกจากต้นเพาะเมล็ดและไว้สำหรับทำต้นตอ)
การให้น้ำ รดน้ำให้ชุ่มชื้นเสมอ สะตอที่ปลูกใหม่ในปีแรก ควรให้น้ำวันเว้นวันในช่วงหน้าแล้ง เมื่ออายุ 2-3 ปี ควรให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงหน้าแล้งควรหาเศษพืชคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นสำหรับต้นสะตอที่ให้ผลแล้วระยะที่ต้องการน้ำมาก คือช่วงระยะออกดอกถึงติดฝักจนเก็บเกี่ยวได้ ในช่วงฤดูฝน ควรเตรียมร่องระบายน้ำด้วย
การพรวนดิน ควรทำตั้งแต่เริ่มปลูกเป็นต้นไป ปีละประมาณ 3 ครั้ง เพื่อช่วยกำจัดวัชพืชและถ่ายเทอากาศในดิน หลังจากให้ผลแล้วควรทำการพรวนดินในช่วงก่อนออกดอกและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ควรใส่ตั้งแต่เริ่มปลูก อัตรา 1-2 ปี๊บต่อต้นเมื่อให้ผลแล้วควรใส่อัตรา 3-4 ปี๊บต่อต้น โดยใส่หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะทำให้สะตอให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกปี
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ควรใช้สูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ใส่ก่อนออกฝักและสำหรับต้นที่ให้ฝักแล้วใช้อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใส่ก่อนออกดอกและครั้งที่สองใส่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต จากนั้นให้ทำการตัดแต่งกิ่งด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยอัตราการใส่ ควรเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 0.5 กิโลกรัม
การขนส่งฝักสะตอ
โดยรถบบรทุกกระบะ สามารถบรรทุกได้ประมาณ 17,000 ฝักต่อครั้ง โดยใช้ใบตองรองพื้นและด้านข้างของรถ ก่อนนำฝักสะตอวางลงไป
โดยใส่กระสอบ ที่สามารถบรรจุได้ 300 ฝักต่อถุง ปิดปากถุงให้มิด ก่อนส่งไปต่างจังหวัดต่อไป
โดยใส่เข่ง ซึ่งมีหลายขนาดสามารถบรรจุได้ 400-600 ฝักต่อเข่ง ก่อนบรรจุฝักสะตอลงเข่ง ควรมีกระดาษหนังสือพิมพ์หรือใบตองรองก้นก่อนป้องกันการช้ำ
สำหรับสะตอแกะเมล็ดขาย แม่ค้าจะแยกขนาดของเมล็ด 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง และเล็กสุด ราคาขายกิโลกรัมละ 35-80 บาทแล้วแต่ขนาด ในการขายแม่ค้านิยมใช้พันธุ์สะตอดานเพราะมีเมล็ดขนาดใหญ่และรูปทรงน่าซื้อ
การเก็บเมล็ดที่แกะไว้ขาย ถ้าพรมน้ำจะเก็บได้ 3-4 วัน ถ้าไม่พรมน้ำจะเก็บได้ 2-3 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มงอกและเหม็นเน่าในที่สุด ในการแกะเมล็ดขายแม่ค้านิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออกด้วย
การรับจ้างแกะเมล็ด ผู้รับจ้างในการแกะเมล็ด จะคิดราคา 1 มัด (100 ฝัก) เป็นเงิน 13-15 บาท วันหนึ่ง ๆ จะแกะได้ประมาณ 4-5 มัด
การตัดแต่งกิ่ง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
ตัดยอด เมื่อต้นสูง 2-3 เมตร หลังจากปลูกใหม่ ๆ เพื่อให้ได้ทรงพุ่มเตี้ย เก็บเกี่ยวง่าย
ตัดแต่ง กิ่งกระโดง กิ่งแห้ง กิ่งตาย กิ่งเป็นโรค กิ่งเบียดชิด กิ่งไม่ถูกแสงภายในทรงพุ่ม เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งไม่ทึบแน่นเกินไป
แมลงที่พบในสวนสะตอ
ด้วงปีกแข็งเจาะลำต้น
ลักษณะการทำลาย เจาะกินภายในลำต้น และกัดกินเปลือกอ่อนระหว่างเนื้อไม้กับเปลือกแข็ง ที่เปลือกของลำต้นจะมีลักษณะเป็นน้ำฟูเยิ้มออกมา
วิธป้องกันกำจัด ใช้สำลีชุบสารฆ่าแมลงพวกกเมธิล พาราไธออนและมาลาไธออน อัดเข้าไปในรู แล้วใช้ดินเหนียวอุด
แมลงกัดกินใบ ลักษณะการทำลาย จะเข้าทำลายในขณะต้นสะตอแตกใบอ่อน โดยจะกัดกินจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้การเจริญเติบโตช้าลง
การป้องกันกำจัด ตัดและเก็บรวบรวมกิ่งที่ถูกแมลงกัดกินใบจนโกร่นออกไปทำลาย เพราะอาจมีไข่แมลงติดอยู่ด้วยในช่วงที่สะตอแตกใบอ่อน ควรพ่นสาร คาร์บาริล ชนิดผง อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณต้นที่มียอดอ่อน
แมลงสิง ลักษณะการทำลาย ตัวแก่ของแมลงสิงจะใช้ปากซึ่งเป็นงวงยาวแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากฝักอ่อนของสะตอ ทำให้ฝักไม่มีเมล็ด ดูภายนอกจะเป็นสีน้ำตาลหรือดำ จะพบระบาดในช่วงเดือนกรกฎาคม ทำให้ฝักสะตอเสียหาย
การป้องกันกำจัด ใช้สวิงจับตัวแก่ ตามฝักสะตออ่อนทำลายทิ้งเสีย ในขณะที่ต้นยังไม่สูงมาก ตัวแก่ชอบกินเนื้อเน่า ควรนำเนื้อเน่าใส่ถุงแขวนไว้ในสวนสะตอแล้วจับตัวแก่มาทำลายเสีย พ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ในระยะที่สะตอยังเป็นฝักอ่อน โดยใช้โมโนโครโตฟอส อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือตอนเย็นเพราะตัวแก่มักบินมาทำลายในระยะอากาศค่อนข้างเย็น
ปลวก ลักษณะการทำลาย จะสร้างรังบริเวณโคนต้นในขณะที่ยังเล็กอยู่แล้วเข้าไปกัดกินรากอ่อนของสะตอ ทำให้การเจริญเติบโตช้าลง
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เฮปตาคลอร์ ผสมน้ำตามอัตราแนะนำข้างฉลาก ราดบริเวณจอมปลวก โดยทำให้เป็นรูที่รังปลวกก่อนแล้วจึงราดสารเคมี
ประโยชน์ของสะตอ
เป็นรายได้ของเกษตรกร
ช่วยยึดดินมิให้พังทลาย และทำให้ดินชุ่มชื้นเสมอ
ใบเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
ลำต้นใช้ทำเครื่องตกแต่งบ้าน
เชื่อว่ารับประทานแล้วป้องกันโรคเบาหวานได้ และมีผู้สังเกตพบว่ามีฤทธิ์เป็นยาระบาย
ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัด ต้ม แกง หรือรับประทานดิบ
อ้างอิง @ เที่ยง ตู้แก้ว สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, พัฒนา นรมาศ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
ที่มา @ baanjomyut , รูปจาก @ เว็บบ้านสวนพอเพียงดอทคอม
Relate topics
- ถุงเท้าเงินล้านถ้าเรามีเงินหนึ่งพันบาทจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ??? คำตอบของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่คงตอบว่าเงินแค่นี้เอง เอาไปซื้อของกินของใช้ก็หมดแล้ว แต่รู้ไหมว่า เงินหนึ่งพันบาท สำหรับเด็กวัยรุ่น
- ไก่ต้มน้ำปลา สูตรโบราณอร่อยอยากลองทำไก่ต้มน้ำปลากินเอง ก็มาจดสูตรและวิธีทำไก่ต้มน้ำปลา ไปลองทำกันเองง่าย ๆ แถมไม่จำเป็นต้องใช้ไก่ทั้งตัว พ่วงมากับน้ำจิ้มสูตรโบราณอีกด้วย ลองตามมาดูกันเลย ![ คำอธิบายภาพ : 1-2
- เผาแกลบให้เป็นเงิน โดยใช้เตาขนาด 200 ลิตรกรรมวิธีการเผาแกลบให้เป็นขี้เถ้าแกลบโดยใช้ถังขนาด 200 ลิตร ซึ่งเป็นขบวนการที่ง่าย ได้ขี้เถ้าแกลบที่เป็นแกลบกัมมันหรือแอคติเวเต็ดคาร์บอน มีน้ำหนักเบา รูพรุนมาก สามารถนำมาเป็นถ่านอัดแท่งพลังงานสู
- ตอน “มะนาว” ด้วย “กะปิ” ได้กิ่งพันธุ์ดี เป็นที่ต้องการ การปลูกมะนาวสายพันธุ์ที่ดี นอกจากได้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการขอ
- โรคราน้ำค้าง ในแตงกวา แตงร้าน แคนทาลูป แตงไทยโรครานํ้าค้าง (downy mildew) โรคราน้ำค้างของแตงตามรายงานมีผู้พบครั้งแรกในประเทศคิวบา เมื่อราวปี ค.ศ. 1864 หลังจากนั้นก็ปรากฏว่าเป็นโรคที่ระบาดแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความชื้นสูงอุณหภ
- ข้าวโพดหวาน ปลูกได้ตลอดปี รายได้ดีข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยั
- เพาะถั่วงอกยิ้มหวาน …สะอาด รสชาติดี กินเองก็ได้ ทำขายก็ดีถั่วงอก คือ ต้นอ่อนของถั่วที่ได้จากการเพาะเมล็ดถั่วเขียวโดยไม่ให้ถูกแสง นิยมนำมาประกอบอาหารชนิดต่างๆ อาทิ ผัดถั่วงอก ใส่ก๋วยเตียว ยำถั่วงอก รวมถึงเป็นผักรับประทานสด ![ คำอธิบายภาพ : IMG_
- ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ...ปลูกง่าย ผักทำเงินคนขยัน!ผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Cruciferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee เป็นพืชอายุปีเดียว โดยใช้บริโภคส่วนของใบและก้านใบ เป็นผักที่นิยม
- สูบน้ำใช้ทำการเกษตรด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ และ มอเตอร์ DC 24V 250W กับปั้มชักสูบน้ำใช้ทำการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) และ มอเตอร์ DC 24V 250W กับปั้มชัก ![ คำอธิบายภาพ : pic57301f3cd5658 ](http://www.sator4u.com/upload/pics/pic57301f3cd5658.jpg "ชื่อภาพ : p
- แตงกวา ผักที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะอาหารเพื่อนๆไทยอาชีพคนไหนไม่เคยกิน แตงกวา บ้านครับผมว่าทุกคนต้องเคยกินแตงกวากันมาบ้างแล้วผมเชื่ออย่างนั้นเพราะว่าแตงกวาเป็นผักที่คนไทยทุกคนนิยมกัน ใช่แล้วครับวันนี้ผมจะมาพูดถึง อาชีพเกษตรกรรม ในการปลูกแตงก