พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์)
อำมาตย์เอกพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (บุรินทร์ สมันตรัฐ) เดิมชื่อ ตุ๋ย บินอับดุลลาห์ เป็นบุตรคนที่ ๑๒ ของหลวงโกชาอิสหาก และนางเลี้ยบ บินอับดุลลาห์ เกิดวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๑๔ ที่ตำบลบางลำพูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี ซึ่งขณะนั้นบิดาของท่านดำรงตำแหน่งล่ามมาลายูที่กรมท่า ติดต่อกับต่างประเทศมีหน้าที่รับเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ของบรรดาหัวเมืองขึ้น ฝ่ายแหลมมาลายูที่มาสวามิภักดิ์ บิดาของท่านจึงสนิทสนมกับบรรดาสุลต่านทางมาลายู เป็นอย่างดี เมื่ออายุ ๘ ขวบ เจ้าเมืองปะลิสขอตัวไปอุปการะ เป็นบุตรบุญธรรม ได้เข้าเรียน ณ วัดบางลำพูล่าง (วัดเศวตฉัตร) จังหวัดธนบุรี ใช้เวลาเรียนภาษาไทย ๓ ปี มีความรู้ภาษาไทย แตกฉาน อ่านออกเขียนได้และกลับจากปะลิส ได้มาอยู่ที่กรุงเทพกับบิดา ท่านได้ศึกษาระเบียบบริหารราชการต่าง ๆ เพราะบิดามีความประสงค์ให้ท่านรับราชการต่อไป
ปี พ.ศ.๒๔๓๒ อายุ ๑๘ ปี เป็นล่ามมาลายู สังกัดกลาโหม ปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้รับยศเป็นขุนราชบริรักษ์ มณฑลปัตตานี ปี พ.ศ.๒๔๔๑ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเบตง ปี พ.ศ.๒๔๕๕ ดำรงตำแหน่งปลัดเมืองสตูล ปี พ.ศ.๒๔๕๗ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ปี พ.ศ.๒๔๗๒ เกษียนอายุราชการ
ผลงานหรือเกียรติคุณที่ได้รับ
ปี พ.ศ.๒๔๗๖ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดสตูล เป็นคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล ปี พ.ศ.๒๔๗๘ มีการตั้งรัฐบาลใหม่ ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกพระยาพหล พลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงมหาดไทย และปี พ.ศ.๒๔๙๑ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ ๗๗ ปี และถึงแก่กรรม ปี พ.ศ.๒๕๐๖ เกียรติประวัติ คือ
๑. ด้านการปกครอง เป็นนักปกครองที่ดี เอาใจใส่ ดูแลทุกข์สุขของราษฎรส่งเสริมได้ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำการประมง เป็นข้าราชการตัวอย่างที่ทำการตรวจราชการที่ดี และได้เป็นแบบอย่างที่ยึดถือมาถึงปัจจุบัน ๒. ด้านการศึกษา ได้ขยายโรงเรียนประถมศึกษา ไปตำบลต่าง ๆ เร่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล็งเห็นโรงเรียนควรมีเนื้อที่มาก จะสะดวกในการเรียนการสอนการเกษตร แก้ไขความเชื่อผิดที่ว่าชายหญิงเรียนร่วมกันจะเป็นบาป เป็นบิดาการประถมศึกษาเมืองสตูล ๓. ด้านคมนาคม สร้างถนนสายสำคัญ ถนนสายเกาะนก สายฉลุง สายบ้านท่าจีน บ้านเกตรี อำเภอละงู ถึงอำเภอทุ่งหว้า ๔. ส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการปลูกกาแฟ พริกไทย ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ๕. การจัดตั้งศาลาดาโต๊ะยุติธรรม เห็นว่ามุสลิมมีปัญหามาก เรื่องมรดกทรัพย์สิน จึงดำเนินการตั้งศาลาดาโต๊ะยุติธรรมขึ้นมาเป็นครั้งแรก
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1800.0
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ