ยาลดไขมัน เพิ่มโอกาสเบาหวาน ยาลดเบาหวาน เพิ่มโอกาสปอดบวม
ยาลดไขมัน เพิ่มโอกาสเบาหวาน ยาลดเบาหวาน เพิ่มโอกาสปอดบวม
การรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันผิดปกติ ด้วยการกินยาควบคุมอย่างเดียว เป็นการแก้ปลายเหตุ นอกจากจะต้องกินยาไปตลอดชีวิตแล้ว ผลเสียของการกินยาระยะยาวอาจเกิดตามมา เพราะยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง ทั้งที่รู้ และไม่รู้
ยาลดไขมัน กลุ่มสแตติน เพิ่มโอกาสเป็นเบาหวาน (Statins and risk of incident diabetes: a collaborative meta-analysis of randomised statin trials. Sattar N. Lancet 2010;375:735. Risk of incident diabetes with intensive-dose compared with moderate-dose statin Therapy. A Meta-analysis. Preiss D. JAMA 2011;305:2556)
จากการคัดเลือกการศึกษายาลดไขมันกลุ่มสแตติน ในการศึกษา randomized controlled trials ที่มากกว่า ๑ พันคน ติดตามมากกว่า ๑ ปี ตั้งแต่ปี ๑๙๙๔-๒๐๐๙ ได้การศึกษาคุณภาพดี ๑๓ การศึกษา (รวม ๒ พันกว่าคนที่ได้ยาสแตติน เทียบกับกลุ่มควบคุมอีก ๒ พันกว่าคน) ติดตามเฉลี่ย ๔ ปี พบว่ายากลุ่มสแตตินเพิ่มโอกาสเป็นเบาหวานร้อยละ ๙ โดยมีความแตกต่างในแต่ละการศึกษาน้อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ โอกาสเป็นเบาหวานจะสูงกว่าคนอายุน้อย
ทุกๆ ๒๕๕ คน ที่กินยาลดไขมันสแตติน จะเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น ๑ คน ในเวลา ๔ ปี
อีกการคัดเลือกรวบรวมการศึกษา (meta-analysis) การศึกษา randomized controlled trials แบบเดียวกับการศึกษาข้างต้น เปรียบเทียบการกินยาสแตตินขนาดสูง เทียบกับ กินยาในขนาดต่ำ ได้การศึกษาคุณภาพดี ๕ การศึกษา ประชากรทั้งหมด ๓ หมื่น ๒ พันกว่าคน เป็นเบาหวานขึ้นใหม่ ๒ พัน ๗ ร้อยกว่าคน
ในระหว่างการติดตาม พบว่าการกินยาสแตตินขนาดสูง เพิ่มโอกาสเป็นเบาหวาน ร้อยละ ๑๒ ไม่มีความแตกต่างในแต่ละการศึกษา (I2=0) และลดโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ ๑๖ แต่มีความแตกต่างในแต่ละการศึกษามาก (I2 = 74%) แปลว่า ผลของการเพิ่มเบาหวาน น่าเชื่อถือกว่าผลของการลดโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และทางการแพทย์ถือว่าผู้ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงพอๆ กับผู้ที่เกิดเป็นโรคหัวใจแล้ว
ดังนั้น การกินยาลดไขมันสแตตินผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ ไม่เคยมีอาการโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน เป็นต้น อาจไม่คุ้มกับโอกาสเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น
ยาเบาหวานตัวใหม่เพิ่มโอกาสปอดบวม (Long-term use of thiazolidinediones and the associated risk of pneumonia or lower respiratory tract infection: systematic review and meta-analysis. Sonal S. Thorax 2011;66:383-8)
เบาหวานเป็นโรคที่คนไทยเราเป็นมากที่สุดโรคหนึ่ง สาเหตุการตายของผู้ป่วยเบาหวานอันดับหนึ่งคือ การติดเชื้อ และการติดเชื้อที่พบบ่อยที่ทำให้เสียชีวิตคือ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือเรียกอีกอย่างว่า ปอดบวม
ดังนั้น อะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เพิ่มโอกาสเป็นปอดบวม ก็เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเหตุปัจจัยเป็นยาควบคุมระดับน้ำตาลที่ผู้ป่วยเบาหวานกินเป็นประจำจะทำอย่างไรดี
จากการคัดเลือกรวบรวมการศึกษายาเบาหวานกลุ่มใหม่ ที่เรียกว่า ยากลุ่ม Thiazolidinediones หรือยา Rosiglitazone และ Pioglitazone (ยาที่ลงท้ายด้วยคำว่า glitazone)*
*ในบ้านเรา มีจำหน่ายเฉพาะยา Pioglitazone เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี ง. ใช้เป็นยาชนิดที่ ๓ เพิ่มเติมหลังจากใช้ยา Sulfonylureas และ metformin แล้วเกิด secondary failure หรือใช้เมื่อแพ้ยา ๒ ชนิดดังกล่าวข้างต้น ชื่อการค้า มี Actos, actosmet,gitazone-forte, glucbosil, piozone, senzulin, utmost, piozone
ในการศึกษาแบบ randomized controlled trials ที่เปรียบเทียบยากลุ่มนี้กับยาหลอกหรือยาเบาหวานอื่น และมีการติดตามอย่างน้อย ๑ ปี โดยดูการรายงานผลข้างเคียงเกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดขึ้น ได้การศึกษาคุณภาพดี ๑๓ การศึกษา ในประชากรรวม ๑ หมื่น ๗ พันกว่าคน (๘ พันกว่าคนได้ยากลุ่ม glitazone เทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือยาเบาหวานอื่น อีก ๙ พันกว่าคน) ระยะเวลาการติดตามในแต่ละการศึกษา ระหว่าง ๑-๕.๕ ปี พบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่กินยากลุ่มนี้นานกว่า ๑ ปีขึ้นไป เพิ่มโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือปอดบวมร้อยละ ๔๐ โดยไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละการศึกษา (I2=0%)
แปลว่า ผู้ป่วยเบาหวาน ๘ พันกว่าคนที่กินยาดังกล่าว ๑-๕ ปี จะเป็นปอดบวมเพิ่มขึ้น ๓๐ คน เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้กินยานี้ และเพิ่มโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างหรือปอดบวมอย่างรุนแรง ร้อยละ ๓๙ โดยไม่มีความแตกต่างกันในการศึกษา เมื่อดูในรายละเอียดเปรียบเทียบการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของยา Rosiglitazone และ Pioglitazone (การศึกษายาละ ๒ พันกว่าคน) พบว่า Pioglitazone มีผลเพิ่มโอกาสปอดบวมมากว่า Rosiglitazone เล็กน้อย แต่ไม่มีความสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ยากลุ่มนี้ที่มีขายในบ้านเรา ก็เพิ่มโอกาสเกิดปอดบวมในผู้ป่วยเบาหวานที่กินยานี้เป็นประจำเกินกว่า ๑ ปี
ทำไมยาเบาหวานตัวใหม่นี้ เพิ่มโอกาสปอดบวม เราต้องทราบว่ากลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มนี้ มีผลต่อการทำงานของสตีรอยด์ในทางเดินหายใจ ทำให้สตีรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใช้งาน ทำงานมากขึ้นในทางเดินหายใจ ซึ่งจะลดการอักเสบ กดภูมิคุ้มกันบริเวณหลอดลม (เหมือนกับเรากินสตีรอยด์ในยาชุดบ้านเรา ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง) หลอดเลือดของเราจึงติดเชื้อง่ายขึ้นจนปอดบวม ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที หรือเชื้อรุนแรงมาก ผู้ป่วยเบาหวานก็เสียชีวิตจากปอดบวมได้
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ยาเบาหวานก็ต้องกิน มิฉะนั้น น้ำตาลในเลือดที่สูงๆ อยู่นานๆ เราก็จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ขาดเลือด อัมพาต หรือแม้แต่มะเร็ง
ทางออกและทางเลือกสำหรับปัญหานี้ก็อยู่ที่ตัวเราเอง ที่เป็นเหตุปัจจัยทำให้น้ำตาลในเลือดเราสูงขึ้นจนต้องกินยาเบาหวานเพื่อแก้ปลายเหตุ
ต้นเหตุอยู่ที่การใช้ชีวิต กินอร่อยเกิน อยู่สบายเกิน แล้วก็เครียดเกิน อ้วนเกิน เห็นแก่ตัวเกิน เราก็จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยใช้ยาเบาหวานตัวเก่าแก่ที่ใช้มานาน เพียง ๒ กลุ่มก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้ยากลุ่มใหม่เป็นตัวที่ ๓ ในการควบคุมเบาหวาน เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นปอดบวม
นอกจากนี้แล้ว การกินยาลดการสร้างกรดในกระเพาะอาหารเป็นประจำ ก็เพิ่มโอกาสปอดบวมทั้งที่เกิดในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล (Use of acid-suppressive drugs and risk of pneumonia: a systematic review and meta-analysis. Eom CS. CMAJ 2011;DOI:10.1503/cmaj.092129) จึงควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น บางครั้งการใช้ยา กินยามาก ๆ หลายตัว อาจเกิดผลเสียมากกว่า (Less is more) เพราะยาทุกชนิดมีทั้งผลดีและผลข้างเคียงเป็นธรรมดา ใช้ได้พอเหมาะพอควรก็เป็นประโยชน์มากกว่าโทษ
/////////////
Relate topics
- 10 อาหารที่ควรทานหลังออกกำลังกายหลายคนที่ลดน้ำหนักอาจเข้าใจผิดไปว่า หลังออกกำลังกายแล้วนั้นไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ ทั้งสิ้นเพราะจะทำให้ยิ่งอ้วน แต่หารู้ไม่ว่าช่วงหลังออกกำลังกายนี่แหละเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการอาหารอย่างเช่น น
- " ฝึกสมองให้ลดน้ำหนัก "การลดน้ำหนักหรืออดอาหารไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ยิ่งสำหรับบางคนมันเป็นความท้าทายที่หนักหนาสาหัสอย่างมากสำหรับร่างกายและ จิตใจของตัวเองในการที่จะลดอาหาร ลดไขมัน รวมไปถึงการควบคุมปริมาณแคลลอรี่ที่บริโภคเข
- ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพร่ำๆ!!! เตือนภัย 15 โรคติดต่อที่มาพร้อมฤดูฝน!อีกไม่นานประเทศไทยก็จะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัว หลายคนเริ่มตระเตรียมอุปกรณ์กันฝน แต่แค่นั้นยังไม่เพียงพอ เพราะเมื่อฤดูฝนย่างกรายเข้ามา ก็จะมี 15 เชื้อโรคติดต่อรอโจมตีเราอยู่อย่างเงียบๆ ![
- 'รากบัว' เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย สรรพคุณทางยามหาศาลในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สรรพคุณทางยามากมาย เช่น ลดไข้ บรรเทาอาการไอ อีกด้วย
- ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่ปัญหาที่มักพบเสมอเวลาจะรับประทานยา คือ ต้องรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร และก่อนอาหารนานเท่าไหร่ หลังอาหารกี่นาที ก่อนนอนนานแค่ไหน ถ้าลืมแล้วจะทำอย่างไร ![ คำอธิบายภาพ : findingtherightpill ](http:
- ข้าวโพดต้มสุก มีดีกว่าที่คิด!!!สีเหลืองเข้มอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ชื่อ ลูทีน และ ซีเซนทีน ยิ่งนำไปต้มหรือย่าง สารตัวนี้จะยิ่งออกมาเยอะขึ้น!!! ![ คำอธิบายภาพ : IMG20150517112917 ](http://sator4u.com/upload/pics/IMG
- ช็อค! Ending the War on Fat ความเชื่อคนทั้งโลก เมื่อผลวิจัยเผย “คอเรสเตอรอล” มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษนิตยสารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง TIME ได้เผยถึงบทความเกี่ยวกับ Ending the War on Fat “ความจริงของคอเรสเตอรอล” ที่ทุกๆ คนเข้าใจผิดมาตลอด 60 ปี ที่ว่าคอเรสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจ
- ผัก-ผลไม้ 7 อย่าง! บำรุงสายตา!!!การเลือกรับประทานพืชผักบางชนิดนอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังสามารถช่วยบำรุงดวงตาให้มองเห็นแจ่มแจ๋ว ไม่ร่วงโรยตามอายุได้อีกด้วย ![ คำอธิบายภาพ : foods-for-eye-health-934934 ](http://sator4u.com
- โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี
- โรคเก๊าท์ ...การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง และในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก็ตาม แต่การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรักษาผู้