เกลือ ฆาตรกรอำมหิต ฆ่าคนทั่วโลก ไปแล้วร่วม 2 ล้านชีวิต
วารสารการแพทย์ “นิว อิงแลนด์” เปิดโปงว่า เกลือได้ฆ่าคนด้วยโรคหัวใจทั่วโลกลงไปเกือบ 1.65 ล้านคน เนื่องจากการกินเค็ม
การสำรวจจากคนชาติต่างๆ 187 ชาติ ทำให้ทราบผลว่า เฉลี่ยแล้วคนเรากินเกลือกันเป็นปริมาณวันละ 3.95 กรัม เค็มเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกตั้งเกณฑ์ไว้เกือบ 2 เท่า เฉพาะอย่างยิ่งชาวอินเดีย กินมากถึงวันละ 7.6 กรัม ยิ่งเค็มปี๋หนักกว่าชาวโลกเสียอีก ชาวภารตะพากันเป็นโรคความดันโลหิตสูง มากกว่าที่จะเป็นโรคเบาหวาน
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ประกาศเตือนตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วว่า “เกลือหรือโซเดียมเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและอัมพฤกษ์อัมพาต”
อันตรายที่มองไม่เห็น
เราทราบมานานแล้วว่าการบริโภคเกลือมากเกินไปไม่ดีต่อร่างกาย และเราควรลดการบริโภค มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ได้ หลายคนยังไม่เข้าใจ และมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังบริโภคเกลือมากเกินไปจนเป็นอันตราย
"ตามปกติการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด เปิดช่องให้เราได้รับเกลือได้สะดวกที่สุด ทั้งทั้งให้สารอาหารจำเป็นไม่ครบถ้วน" เอียน มาร์เบอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการของ Health Plus กล่าว "อาหารมากมายเหล่านี้มีเกลือและน้ำตาลมากเกินไป"
The Food Agency (FSA) แนะให้ทานเกลือไม่เกินวันละ 6 กรัม แต่ข้อมูลจากกรมสุขภาพระบุว่า คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มบริโภคเกลืออย่างน้อยวันละ 9 กรัม และโดยมากบริโภคเกินกว่านั้น ขณะเดียวกันเกลือก็จำเป็นต่ออาหาร และมีความสำคัญต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ที่จริงเราจำเป็นต้องได้รับเกลือแค่วันละ ? กรัม เพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ได้เป็นปกติ การบริโภคมากเกินไปก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย
ถ้าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง คุณก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดมากขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่บริโภคในปริมาณปกติ ลำพังในประเทศอังกฤษ มีคนเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 170,000 คนต่อไป ไมเพียงแค่นั้น การบริโภคเกลือมากเกินไปเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร กระดูกพรุน หอบหืด และน้ำหนักตัวเพิ่ม ทำให้อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (PMS) รุนแรงมากขึ้น
อันตรายที่ซุกซ่อนอยู่ ?
มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนให้ลดการบริโภคเกลือ และทางที่ดีควรเริ่มจากการคำนวณว่าเกลือ 6 กรัม มีอัตราส่วนเท่าไร คิดง่ายๆ เกลือ 1 ช้อนชา มีค่าประมาณ 5 กรัม แต่เป็นเรื่องยากที่จะวัดว่าเกลือที่คุณกินมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากอาหารส่วนมากมักมีเกลือซ่อนอยู่ ถ้าอาหารใดมีรสจืด ๆ อาจเป็นไปได้ว่ามีเกลืออยู่น้อย เนื่องจากในอุตสาหกรรมอาหารจะเติมเกลือลงไป เพื่อเพิ่มรสชาติ อาหารสำเร็จรูปที่มีชื่อส่วนใหญ่มีเกลืออยู่เป็นจำนวนมาก นี่จัดเป็นวิธีที่ถูกที่สุดในการเพิ่มรสชาติให้อาหาร และช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ที่วางขายอยู่บนชั้นวาง
ผู้ผลิตอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจาก 80% ของเกลือที่กินมาจากอาหารที่ผ่านการแปรรูป ไม่ใช่มาจากเกลือที่เราโรยในอาหาร นักโภชนาการเตือนว่าเกลือที่ซ่อนในอาหารนี่เองที่เป็นต้นตอของปัญหา
เมื่อเร็ว ๆ นี้ FSA ได้ทดสอบอาหารปรุงสำเร็จประเภทลาซานญ่าเพื่อสุขภาพ สำหรับรับประทานคนเดียว อันที่จริงไม่น่าจะเรียกว่าอาหารเพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น พบว่ามีเกลืออยู่ 3.6 กรัม (หรือ 60% ของปริมาณที่แนะนำให้ทานในแต่ละวัน) และถึงแม้จะมีฉลากบอกว่าเป็น "อาหารเพื่อสุขภาพ" ซึ่งแม้จะทำให้เป็นอาหารไขมันต่ำ แต่ก็มีการเติมเกลือในปริมาณมากเพื่อเพิ่มรสชาติ
การทดสอบยังดำเนินต่อไป โดยสุ่มตัวอย่างจากอาหารปรุงสำเร็จได้แก่ เชพเพิร์ดพาย (shepherd’s pie) และนักเกตไก่ จากผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ และซูเปอร์มาร์เก็ตที่ผลิตสินค้าภายใต้ชื่อยี่ห้อของตัวเอง ผลที่ได้สร้างความตื่นตระหนกอย่างยิ่ง จนมีการเรียกร้องไห้ลดปริมาณเกลือในอาหารปรุงสำเร็จเหล่านี้
คุณบริโภคเกลือมากน้อยแค่ไหน
อาหารประจำวัน มันฝรั่งทอด : 3.1 กรัมต่อ 200 กรัม ถั่วอบกรอบ : 2.98 กรัมต่อ 225 กรัม ขนมปังขาว 2 แผ่น : 1 กรัม นักเกดไก่ 6 ชิ้น : 1.3 กรัม สปาเกดดี : 2 กรัมต่อ 210 กรัม Deep crust pizza : 4.1 กรัมต่อ 225 กรัม แซลมอนรมควัน : 5 กรัมต่อ 112 กรัม คอร์นเฟล็กซ์ : 1 กรัมต่อ 40 กรัม เชดดาร์ซีส (cheddar cheese) 1 กรัมต่อ 60 กรัม
อาหารที่มองว่ามีประโยชน์... ซูซิ : 3 กรัมต่อ 145 กรัม เฟต้าซีส (Feta cheese) : 1.8 กรัมต่อ 60 กรัม คอดเทจซีส (cottage cheese) : 0.2 กรัมต่อ 60 กรัม รานซีเรียล (Bran cereal) : 0.91 กรัมต่อ 40 กรัม โยเกิร์ต : 0.13 กรัมต่อ 100 กรัม Fromage frais (ครีมชีสชนิดหนึ่ง) : 0.1 กรัมต่อ 100 กรัม ซีอิ๊ว : 1 กรัมต่อ 5 กรัม ครีมสเปรดทานตะวัน (Suntlower spread) : 0.17 กรัมต่อ 10 กรัม ถั่วแดงหลวงในน้ำเกลือ : 1 กรัมต่อ 200 กรัม
ทำไมต้องกังวลว่าจะกินเกลือมากเกินไป ?
มีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า สารโซเดียม หรือ เกลือ เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง มีผลร้ายแรงอย่างต่อเนื่องกับโรคหัวใจ และอัมพฤกษ์
โดย Jaen Brody นักเขียนและโภชนากร เขียนถึงเกลือไว้ในหนังสือ Nutrition Book หนังสือขายดีติดอันดับของเธอว่า ในเลือดมีปริมาณโซเดียมอยู่ถึง 40 % โซเดียมเป็นส่วนประกอบสำคัญในร่างกายมนุษย์ผสมอยู่ในของเหลวในร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณโซเดียมสูงเหมือนน้ำทะเลที่เค็มจัด ร่างกายจำเป็นต้องการน้ำมาก เพื่อทำให้ความเค็มอยู่ในระดับที่สมดุล
และโซเดียมคลอไรด์ เป็นตัวบังคับสำคัญที่จะกำหนดความสมดุลของน้ำที่ทำละลายสสารต่างๆ นอกเซลล์ นอกเหนือจากนั้นยังทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ และชีพจรด้วย เมื่อระบบการดูดซึมผิดปกติ อาจทำให้ระบบการทำงานดังกล่าวผิดปกติ และเกิดอาการร้ายแรงต่อสภาพร่างกายได้
คุณอาจคาดไม่ถึงว่าเกลือในปริมาณที่มากเกินความต้องการจะมีผลร้ายแรงต่อร่างกายขนาดไหน และส่งผลไปถึงโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร Dr.Marlelo Agama นักฟิสิกซ์ชาวฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการปรับระดับโซเดียมในร่างกายคนเรา เมื่อปริมาณโซเดียมสูงเกินไป ไตจะขับถ่ายออกมา ในทางกลับกันถ้าร่างกายต้องการโซเดียม ไตจะทำงานโดยดูดสสารนั้นกลับสู่เลือด แต่เมื่อใดที่ไตทำงานผิดปกติไม่สามารถขับโซเดียมได้ในปริมาณที่เหมาะสม จนร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสมสูง น้ำในร่างกายก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น นั่นหมายถึงว่าระดับเลือดก็จะสูงขึ้นด้วย เมื่อปริมาณเลือดสูงขึ้น เลือดต้องวิ่งผ่านไปยังเส้นเลือดมากขึ้น เป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งหัวใจก็ต้องสูบฉีดหนักขึ้น เพราะปริมาณเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้น
นอกจากผลต่อความดันโลหิตแล้ว ปริมาณโซเดียมที่มากเกินความต้องการของร่างกายจะทำให้ปริมาณน้ำของเนื้อเยื่อภายในและภายนอกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการบวม หรือปริมาณของเหลวในร่างกายที่มากเกินไปทำให้เกิดอาการเส้นเลือดคั่ง และหัวใจวายได้
การค้นพบที่น่าสนใจยิ่ง
มีการสำรวจพบว่า แทบจะไม่มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในบริเวณที่ไม่นิยมใช้เกลือในการปรุงอาหาร นักวิจัยชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัย Harvard ศึกษาประชากรที่อาศัยอยู่ในเกาะ Solomon แถบหมู่เกาะทะเลใต้ ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณภูเขา ไม่นิยมปรุงอาหารด้วยเกลือ ไม่พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ผลสำรวจแบบเดียวกันที่แคว้น Akita ทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น ประชากรในบริเวณนั้นนิยมใช้เกลือในการถนอมอาหาร ในแต่ละวันพวกเขารับประทานเกลือปริมาณ 3 ½ – 6 ช้อนชา เหตุนี้เองทำให้พบว่าประชากรส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคอัมพฤกษ์ ที่แย่ไปกว่านั้น จากการวิจัยที่โรงพยาบาลเซนต์โทมัสในลอนดอน พบว่าเกลือมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด
นอกจากนี้ยังพบว่า เกลือมีผลทำให้โรคริดสีดวงกำเริบ จากข้อคิดเห็นของ Dr.Lohn Lawder จาก Torrance California ได้กล่าวว่า ระดับเกลือที่เกินความต้องการทำให้ร่างกายขับของเหลวเพื่อเจือจาง ของเหลวในร่างกายที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น จะวิ่งผ่านระบบไหลเวียนของร่างกาย ไปยังเส้นเลือดต่างๆ ทั้งนี้มีผลทำให้เส้นเลือดดำโป่งพองได้ในบริเวณทวารหนัก และบริเวณอื่นๆ เช่นเดียวกันกับผลร้ายที่เกิดจากเกลือที่เขียนไว้ในหนังสือ The Doctors Book of Home Remedies ว่าการรับประทานเกลือมากเกินไปทำให้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะ(ไมเกรน)
Dr.Norman Schulman สูตินรีแพทย์จาก Cedars-Sinai Medical Center ใน LA แนะนำว่าควรลดการรับประทานเกลือ(เค็ม) ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เพื่อลดอาการเจ็บคัดหน้าอกก่อนมีประจำ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดย Dr.Penny Wise Budoff จาก New York ที่แนะนำว่าให้ลดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงประมาณ 7 -10 วัน ก่อนมีประจำเดือนเพื่อลดอาการบวมน้ำขณะมีประจำเดือน
ในประเทศอังกฤษ มีคนเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 170,000 คนต่อปี
การใช้เครื่องปรุงรสทางเลือกเป็นวิธีที่ดี ลองเครื่องเทศ น้ำมะนาว กระเทียม ตะไคร้ ไวน์ พริก และน้ำส้มสายชู หรืออะไรก็ได้ตามจินตนาการของคุณ เพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหาร และจำไว้ว่าวิธีปลอดภัยที่สุดในการตรวจสอบการบริโภคเกลือของคุณคือ การซื้อเครื่องปรุงที่ยังดิบและสดด้วยตัวเอง แล้วนำมาปรุงสุกเร็ว ๆ
โรคที่มากับเกลือ
ความดันโลหิตสูง การบริโภคเกลือมากเกินไป เป็นสาเหตุให้ร่างกายต้องกักเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น จนทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก เพื่อดันเลือดไปยังเส้นเลือดที่อยู่ทั่วร่างกาย
บวมน้ำ เกลือทำให้ร่างกายบวมน้ำ โดยเฉพาะที่เกิดกับผู้หญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ทำให้รู้สึกท้องอืด
กระดูกพรุน ผลการวิจัยระบุว่า การบริโภคเกลือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกระดูก เพราะทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียม ผลคือกระดูกเสื่อม
มะเร็งกระเพาะอาหาร การบริโภคเกลือมาก ๆ จะไปทำลายผนังกระเพาะอาหาร จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร
หอบหืด การบริโภคเกลือมาก ๆ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ การบริโภคเพียงเล็กน้อยช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น จะได้พึ่งยาน้อยลง
รวบรวมโดย @ สะตอฟอร์ยู เฮลท์ตี้ทีม
Relate topics
- 10 อาหารที่ควรทานหลังออกกำลังกายหลายคนที่ลดน้ำหนักอาจเข้าใจผิดไปว่า หลังออกกำลังกายแล้วนั้นไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ ทั้งสิ้นเพราะจะทำให้ยิ่งอ้วน แต่หารู้ไม่ว่าช่วงหลังออกกำลังกายนี่แหละเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการอาหารอย่างเช่น น
- " ฝึกสมองให้ลดน้ำหนัก "การลดน้ำหนักหรืออดอาหารไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ยิ่งสำหรับบางคนมันเป็นความท้าทายที่หนักหนาสาหัสอย่างมากสำหรับร่างกายและ จิตใจของตัวเองในการที่จะลดอาหาร ลดไขมัน รวมไปถึงการควบคุมปริมาณแคลลอรี่ที่บริโภคเข
- ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพร่ำๆ!!! เตือนภัย 15 โรคติดต่อที่มาพร้อมฤดูฝน!อีกไม่นานประเทศไทยก็จะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัว หลายคนเริ่มตระเตรียมอุปกรณ์กันฝน แต่แค่นั้นยังไม่เพียงพอ เพราะเมื่อฤดูฝนย่างกรายเข้ามา ก็จะมี 15 เชื้อโรคติดต่อรอโจมตีเราอยู่อย่างเงียบๆ ![
- 'รากบัว' เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย สรรพคุณทางยามหาศาลในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สรรพคุณทางยามากมาย เช่น ลดไข้ บรรเทาอาการไอ อีกด้วย
- ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่ปัญหาที่มักพบเสมอเวลาจะรับประทานยา คือ ต้องรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร และก่อนอาหารนานเท่าไหร่ หลังอาหารกี่นาที ก่อนนอนนานแค่ไหน ถ้าลืมแล้วจะทำอย่างไร ![ คำอธิบายภาพ : findingtherightpill ](http:
- ข้าวโพดต้มสุก มีดีกว่าที่คิด!!!สีเหลืองเข้มอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ชื่อ ลูทีน และ ซีเซนทีน ยิ่งนำไปต้มหรือย่าง สารตัวนี้จะยิ่งออกมาเยอะขึ้น!!! ![ คำอธิบายภาพ : IMG20150517112917 ](http://sator4u.com/upload/pics/IMG
- ช็อค! Ending the War on Fat ความเชื่อคนทั้งโลก เมื่อผลวิจัยเผย “คอเรสเตอรอล” มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษนิตยสารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง TIME ได้เผยถึงบทความเกี่ยวกับ Ending the War on Fat “ความจริงของคอเรสเตอรอล” ที่ทุกๆ คนเข้าใจผิดมาตลอด 60 ปี ที่ว่าคอเรสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจ
- ผัก-ผลไม้ 7 อย่าง! บำรุงสายตา!!!การเลือกรับประทานพืชผักบางชนิดนอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังสามารถช่วยบำรุงดวงตาให้มองเห็นแจ่มแจ๋ว ไม่ร่วงโรยตามอายุได้อีกด้วย ![ คำอธิบายภาพ : foods-for-eye-health-934934 ](http://sator4u.com
- โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี
- โรคเก๊าท์ ...การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง และในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก็ตาม แต่การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรักษาผู้