สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ถั่วลันเตา สรรพคุณและประโยชน์ของถั่วลันเตา 28 ข้อ !

by sator4u_team @18 ส.ค. 57 12:11 ( IP : 113...110 ) | Tags : สุขภาพ , ถั่วลันเตา , อาหารเพื่อสุขภาพ
  • photo  , 640x480 pixel , 86,617 bytes.
  • photo  , 600x450 pixel , 229,141 bytes.
  • photo  , 640x599 pixel , 101,015 bytes.

ถั่วลันเตา

ถั่นลันเตา ภาษาอังกฤษ Sugar Pea, Sweet peas, Garden Pea, Pea ถั่วลันเตา ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisum sativum Linn. จัดอยู่ในวงศ์ FABACEAE[1] และถั่วลันเตายังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ถั่วลันเตาเปลือกหนา ถั่วหวาน ถั่วแขก ถั่วลันเตา (ไทย), ถั่วน้อย (พายัพ) เป็นต้น

ลันเตา หรือ ถั่วลันเตา เป็นผักที่คนทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี เพาะมีการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารมานานหลายพันปีแล้ว โดยเชื่อว่าถั่วลันเตาเดิมทีแล้วเป็นถั่วป่ามีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตอนกลาง หรือบางทีอาจเป็นอินเดีย และนักวิชาการให้การยอมรับว่าสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในแถบชายแดนไทยพม่านี่เอง เพราะมีหลักฐานย้อนกลับไปถึงกว่าหนึ่งหมื่นปี

ชื่อของถั่วลันเตามาจากภาษาจีนที่เรียกว่า “ห่อหลั่นเตา” ซึ่งหมายถึงฮอลแลนด์ ส่วนคำว่า “เตา” ในภาษาจีนก็แปลว่าถั่ว สรุปถั่วลันเตาก็คือถั่วที่มาจากฮอลแลนด์ โดยจัดเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่อาหารจีนประเภทผัดผักจะขาดเสียไม่ได้


ลักษณะถั่วลันเตา

ต้นถั่วลันเตา จัดเป็นพืชผักที่มีเถาเลื้อย มีความสูงได้ถึง 2 เมตร เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นเล็กและเป็นเหลี่ยม ส่วนรากเป็นระบบรากแก้ว สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดโดยเฉพาะดินร่วนปนเหนียว และควรเป็นดินที่ค่อนข้างมีความเป็นกรดเล็กน้อย เป็นพืชที่ชอบอากาศเย็นจึงปลูกได้ดีในช่วงฤดูหนาว และโดยถั่วลันเตามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นพันธุ์ฝักเหนียว มีเมล็ดโต นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานเมล็ด ส่วนอีกประเภทจะปลูกไว้เพื่อรับประทานเฉพาะฝักสด โดยฝักจะมีขนาดใหญ่และมีปีก ส่วนอายุการเก็บเกี่ยวแต่ละสายพันธุ์ก็ไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะเก็บเกี่ยวหลังการเพาะปลูกประมาณ 2-3 เดือน โดยสายพันธุ์ที่ส่งเสริมให้ปลูกในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้1 พันธุ์แม่โจ้2 และพันธุ์ฝางเบอร์7 การปลูกถั่วลันเตา จะนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด


สรรพคุณของถั่วลันเตา

ยอดของถั่วลันเตามีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งช่วยในการบำรุงสายตาและผิวพรรณ (ยอดถั่วลันเตา) ใช้บำบัดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นประจำ ด้วยการใช้ฝักอ่อนสดนำมาล้างน้ำให้สะอาดและนำไปต้มจนสุก แล้วนำมารับประทานเป็นจำ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ถั่วลันเตา สรรพคุณของเมล็ดช่วยบำรุงไขมัน (เมล็ด) ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินบี12 และสารเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทมาก จึงช่วยป้องกันอาการขี้หลงขี้ลืมได้ ช่วยรักษาโรคหัวใจ ด้วยการใช้ฝักถั่วลันเตาทั้งฝักที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและเย็น ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการใช้ฝักถั่วลันเตาทั้งฝักที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและเย็น ถั่วลันเตาเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยละลายลิ่มเลือด เนื่องจากผู้ป่วยบางท่านได้ดื่มน้ำถั่วลันเตาแล้วมีอาการดีขึ้น เป็นความรู้ที่เล่าต่อกันมา และยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน (ยอดถั่วลันเตา) ช่วยขับของเหลวในร่างกาย สรรพคุณถั่วลันเตา ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด คนโบราณมักใช้เถาถั่วลันเตามาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เข้าเครื่องยาเพื่อรักษาโรคตับพิการ รักษาโรคตับทรุด ตับติดเชื้อ อาการผิดปกติในตับ และช่วยบำรุงตับ โดยนิยมใช้กับเถาลิ้นเสือ (เถา)

นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยซักตับหรือทำให้ตับสะอาดและแข็งแรง (เถา,เมล็ด)[8] ส่วนฝักถั่วลันเตาก็มีฤทธิ์บำรุงตับด้วยเช่นกัน (ฝัก) ช่วยถอนพิษ ช่วยแก้เป็นตะคริว อาการเหน็บชา ช่วยบำรุงเส้นเอ็น (เมล็ด) ช่วยเพิ่มน้ำนมของสตรี

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของถั่วลันเตา ได้แก่ มีฤทธิ์เป็นยาคุมกำเนิด ช่วยยับยั้งคอหอยพอก ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และลดความดันโลหิตสูง


ประโยชน์ของถั่วลันเตา

ประโยชน์ถั่วลันเตา ถั่วลันเตามีเส้นใยอาหารอยู่มาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ถั่วลันเตานอกจากจะมีเส้นใยอาหารสูงแล้ว ยังมีไขมันต่ำ และอยู่ในรูปของไขมันไม่อิ่มตัว การรับประทานเป็นประจำ จึงไม่มีผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด ถั่วลันเตาเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพราะถั่วชนิดนี้มีโซเดียมเพียง 5% ของปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ต่อวัน ซึ่งถือว่าน้อยมากๆ ดังนั้นมันจึงเป็นถั่วที่ถูกโฉลกกับผู้ที่เป็นโรคความดันสูง ถั่วลันเตามีโปรตีนสูงกว่าพืชผักทั่วไป มีทั้งแป้ง และน้ำตาล ทำให้มีความหวานน่ารับประทาน พ่อแม่อาจริเริ่มให้ลูกรักการรับประทานผักได้ด้วยการผักถั่วลันเตาอ่อนๆ ให้ลองชิมก่อน เด็กอาจจะชอบเพราะความหวาน และยังเป็นการปลูกฝังนิสัยการรับประทานผักให้เด็กได้เป็นอย่างดี สำหรับบางคนอาจใช้น้ำถั่วลันเตาเพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กที่มีความผิดปกติทางด้านโภชนาการ หรือขาดสารอาหาร ผอมแห้ง รวมไปถึงเด็กที่มีอาการท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็นหืนและค่อนข้างเหนียว ถั่วลันเตาหรือซุปถั่วลันเตา สามารถช่วยให้อาการทุเลาลงหรือหายไปได้ เพราะส่วนกากที่ผสมอยู๋ในน้ำถั่วลันเตานั้น จะช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารช่วยจับสารพิษก่อโรคต่างๆ และช่วยเพิ่มการดูดซึมอาหารให้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาอาการของโรคไอบีเอส (Irritable Bowel Syndrome) หรือโรคลำไส้หงุดหงิด เมื่อดื่มน้ำปั่นถั่วลันเตาแล้วอาการจะดีขึ้นมาก แต่ต้องเป็นน้ำถั่วลันเตาที่นำไปต้ม แล้วเสิร์ฟแบบอุ่นๆ พร้อมทั้งเติมผลกระวานและขิงเข้าไปด้วยพอให้ออกรสร้อน ถั่วลันเตาประเภทกินเมล็ดเป็นผักที่นิยมใช้ในอาหารจีนประเภทผัดผัก ผัดถั่วลันเตา หรือนำไปต้ม ทำไข่ยัดไส้ แกงจืดใส่หมู ข้าวผัดอเมริกัน ใช้เป็นส่วนประกอบในเบเกอรี่ อย่างเช่น พิซซ่า แซนวิส ไส้ขนมปัง หรือใช้เป็นเครื่องเคียงในเสต็ก ฯลฯ ส่วนถั่วลันเตาประเภทกินฝัก เราจะใช้ฝักถั่วที่ยังอ่อนอยู่นำมาใช้ปรุงอาหาร ด้วยการนำไปผักกับหมูหรือกุ้ง ผัดน้ำมันหอย ผัดผักรวมมิตร ใช้ลวกจิ้มกินกับน้ำพริก ทำเป็นแกงแคร่วมกับผักต่างๆ แกงเลียง แกงส้ม หรือทำแกงจืดหมูสับ เป็นต้น ส่วนฝักแก่ก็นำมาปลอกแยกเอาแต่เมล็ดมารับประทานเป็นผัก เรามักนิยมใช้ยอดของต้นถั่วลันเตาพันธุ์กินยอดมาใช้ปรุงอาหาร และยังให้โปรตีนมากกว่าผักทั่วๆ ไป หากนำมาใช้ผัดจะมีรสหวานและกรอบแต่ควรผัดด้วยไฟแรงอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้


คุณค่าทางอาหารสูญหายไปมากนัก เมล็ดถั่วลันเตา สามารถนำไปต้มดอง หรือทำเป็นถั่วกระป๋องขาย ใช้แปรรูปเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำเป็นผักแช่แข็ง นำไปต้ม คั่ว หรืออบกรอบกับเกลือเป็นขนมขบเคี้ยวก็ได้ ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลันเตา ต่อ 100 กรัม พลังงาน 81 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 14.45 กรัม น้ำตาล 5.67 กรัม เส้นใย 5.1 กรัมถั่วลันเตาแบบกินเมล็ด ไขมัน 0.4 กรัม โปรตีน 5.42 กรัม วิตามินเอ 38 ไมโครกรัม 5% เบต้าแคโรทีน 449 ไมโครกรัม 4% ลูทีน และ ซีแซนทีน 2,477 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.266 มิลลิกรัม 23% วิตามินบี2 0.132 มิลลิกรัม 11% วิตามินบี3 2.09 มิลลิกรัม 14% วิตามินบี6 0.169 มิลลิกรัม 13% วิตามินบี9 65 ไมโครกรัม 16% วิตามินซี 40 มิลลิกรัม 48% วิตามินอี 0.13 มิลลิกรัม 1% วิตามินเค 24.8 ไมโครกรัม 24% ธาตุแคลเซียม 25 มิลลิกรัม 3% ธาตุเหล็ก 1.47 มิลลิกรัม 11% ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม 9% ธาตุแมงกานีส 0.41 มิลลิกรัม 20% ธาตุฟอสฟอรัส 108 มิลลิกรัม 15% ธาตุโพแทสเซียม 244 มิลลิกรัม 5% ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม 10% ธาตุสังกะสี 1.24 มิลลิกรัม 13%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)


คำแนะนำในการรับประทานถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาเป็นถั่วที่มีสารพิวรีน (Purine) ปานกลาง ดังนั้นผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงผิดปกติ ควรลดปริมาณการรับประทานถั่วลันเตาลงเพราะสารพิวรีนจะทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ส่งผลทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และโรคเกาต์ได้

ถั่วลันเตาเป็นหนึ่งในผักที่มักมีสารปนเปื้อนหรือยาฆ่าแลงผสมอยู่ ดังนั้นก่อนการนำมาปรุงอาหารควรล้างให้สะอาดเสียก่อน ด้วยการนำฝักถั่วมาล้างให้สะอาดหลายๆ น้ำ และการล้างผักที่ดีควรแช่ไว้ในน้ำให้ไหลรินสักช่วงเวลาหนึ่ง

การเลือกซื้อถั่วลันเตา ควรเลือกฝักที่สดหักแล้วดังเป๊าะ ถ้าหนังเหี่ยวเหนียงยาน ยอมงอไม่ยอมหัก แบบนี้ไม่ควรซื้อมาผัดกิน เมื่อซื้อถั่วลันเตาจากตลาดมาแล้วก็ให้รับนำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วแช่ไว้ในตู้เย็นทันทีเพื่อคงความสด เพราะถ้าหากทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเพียงแค่ 3 ชั่วโมง ก็จะทำให้ความหวานและความกรอบลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8674
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง