ประวัติเจ้าเมืองระนอง พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง)
พระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) เป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง จวบจนสมัยรัชการที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศพระยารัตนเศรษฐีเป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี พร้อมทั้งมีพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองระนอง และมอบหน้าที่ให้เป็นที่ปรึกษาราชการเมืองระนอง พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2425
พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) มีบุตรชาย 6 คน ได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาถึง 4 คนดังนี้
คนที่ 1 ชื่อ คอซิมเจ็ง ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ในรัชกาลที่ 4 เป็นหลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วถึงแก่กรรมในตำแหน่งนั้น
คนที่ 2 ชื่อ คอซิมก๊อง ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ในรัชกาลที่ 4 เป็นหลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ถึงรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระศรีโลหภูมิพิทักษ์และเป็นพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง แทนบิดา ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร
คนที่ 3 ชื่อ คอซิมจั๊ว ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ในรัชกาลที่ 5 เป็นหลวงศรีสมบัติ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง ถึงแก่กรรมในตำแหน่งนั้น
คนที่ 4 ชื่อ คอซิมขิม ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ในรัชกาลที่ 5 เป็นหลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ แล้วเลื่อนเป็นพระยาศรีโลหะภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง ภายหลังได้เลื่อนเป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี
คนที่ 5 ชื่อ คอซิมเต็ก ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ในรัชกาลที่ 5 เป็นพระจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน ภายหลังได้เลื่อนเป็นพระยาจรูญราชโภคากร
คนที่ 6 ชื่อ คอซิมบี้ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นหลวงบริรักษ์โลหวิสัย ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วเลื่อนเป็นพระอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี (เมื่อยังเป็นหัวเมืองจัตวา) ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ผู้ว่าราชการเมืองตรัง แล้วเลื่อนขึ้นเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่งนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้) เป็นนักปกครองที่มีความสามารถ ได้ใช้ความคิดริเริ่ม ปรับปรุงหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกเจริญรุดหน้าไปมาก เป็นสมุหเทศาภิบาล ตัวอย่างของเมืองไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 มีชื่อเสียงปรากฏสืบมา ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์อยู่ที่จังหวัดตรัง
นับได้ว่าพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) เป็นบุคลากรตัวอย่างคนหนึ่ง เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน เกิดที่เมืองเจียงจิวหู ประเทศจีน เดิมชื่อ ซู้เจียง แซ่คอ เริ่มต้นจากอาชีพกรรมกรรับจ้างมาก่อน เป็นเจ้าภาษีนายอากร และเจ้าเมืองระนองคนแรก ที่มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาเมืองระนองให้เจริญก้าวหน้า กลายเป็นเมืองชั้นเอกของประเทศจากการ ที่สามารถเรียกเก็บภาษีอากร จากการทำกิจการเหมืองแร่ดีบุก ได้เป็นอันดับหนึ่ง แต่ละปีสามารถส่งเงินให้ภาครัฐได้เป็นจำนวนหลาย ล้านบาทและยังมีบุตรหลานเป็นใหญ่เป็นโตในภูมิภาคนี้อีกหลายคน ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากบุคลิกส่วนตัว จังหวะของเวลา ผลงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น คุณสมบัติเฉพาะตัวที่พิเศษไปจากคนทั่วไปคือ เป็นคนฉลาด รอบรู้ มองการณ์ไกล มัธยัสถ์ ถี่ถ้วน อดทน และข้อสำคัญ คือรู้จักจัดการ รู้จักแก้ปัญหา สามารถปกครองเมืองระนองได้อย่างเรียบร้อยและเป็นรากฐานมั่นคง
ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
ผลงาน
พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง) เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีผลงานสำคัญดังนี้
๑.เป็นผู้นำท้องถิ่นที่เป็นนักพัฒนามุ่งส่งเสริมให้ราษฎรมีงานทำไม่เบียดเบียนราษฎรในขณะที่เป็นเจ้าเมืองระนองได้สร้างถนนจากชุมพรไปยังเมืองกระบุรี โดยวิธีการจ้างไม่เกณฑ์แรงงานเพราะจะทำให้ราษฎรเดือดร้อน
๒.สร้างเรือนตะเกียงที่ปากน้ำเมืองระนอง
๓.เป็นผู้บุกเบิกในการทำงบประมาณใช้จ่ายประจำปีของเมืองระนอง
๔.ขณะที่ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพรได้จัดการด้านการปกครองการสร้างความสงบเรียบร้อย การโยธาและการก่อสร้างสถานที่ราชการ การศึกษาและศาสนา การภาษีอากร การศาล และส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรโดยที่ท่านต้องดำเนินการเองทั้งหมด
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับเลือกให้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพรและได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง) เพราะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการปกครองบ้านเมืองและการติดต่อค้าขาย
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.ranongvariety.com/menuranongraja.php และ http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=23234.0
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ