มารู้จัก จังหวัดนราธิวาส กันอีกนิด
แต่เดิม บ้านบางนรา หรือ มะนาลอ เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนราใกล้กับทะเล ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) บ้านบางนราถูกจัดอยู่ในเขตปกครองของเมืองสายบุรี ครั้นต่อมาเมื่อปัตตานีได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล บ้านบางนราจึงย้ายมาสังกัดเมืองระแงะที่อยู่ในมณฑลปัตตานี กระทั่งปี พ.ศ. 2449 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) บ้านบางนราได้เจริญเป็นชุมชนใหญ่ มีการค้าทั้งทางบกและทะเลคึกคักมาก จึงได้ย้ายที่ว่าการจากเมืองระแงะมาตั้งที่บ้านมะนาลอ และพ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา และได้พระราชทานชื่อ “นราธิวาส” แปลว่า “ที่อยู่ของคนดี”
ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT Growth Triangle Development Project) มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก ที่ชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์มาเที่ยวพักผ่อน และซื้อสินค้ารวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีการถ่ายเทวัฒนธรรมรวมทั้งสินค้านำเข้า ส่งออกซึ่งกันและกัน
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษายาวีเป็นภาษาพูดและภาษาเขียนที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ภาษายาวีมีต้นกำเนิดจากภาษามาลาย ูซึ่งเป็นภาษาพูดและนำสระและพยัญชนะ จากภาษาอาหรับมาใช้ประกอบกัน
จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมด 4,475.43 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู ทิศเหนือจดจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย ทิศตะวันตกจดจังหวัดยะลา ทิศตะวันออกจดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย และทิศใต้จดรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าและภูเขาประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ติดกับบริเวณอ่าวไทยซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงที่ฝนตกมากที่สุด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
การเมืองการปกครอง
อำเภอ
การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 77 ตำบล 551 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองนราธิวาส
อำเภอตากใบ
อำเภอบาเจาะ
อำเภอยี่งอ
อำเภอระแงะ
อำเภอรือเสาะ
อำเภอศรีสาคร
อำเภอแว้ง
อำเภอสุคิริน
อำเภอสุไหงโก-ลก
อำเภอสุไหงปาดี
อำเภอจะแนะ
อำเภอเจาะไอร้อง
เทศบาล
อำเภอเมืองนราธิวาส
เทศบาลเมืองนราธิวาส
อำเภอตากใบ
เทศบาลเมืองตากใบ
อำเภอบาเจาะ
เทศบาลตำบลบาเจาะ
เทศบาลตำบลต้นไทร
อำเภอยี่งอ
เทศบาลตำบลยี่งอ
อำเภอระแงะ
เทศบาลตำบลตันหยงมัส
เทศบาลตำบลมะรือโบตก
อำเภอรือเสาะ
เทศบาลตำบลรือเสาะ
อำเภอศรีสาคร
เทศบาลตำบลศรีสาคร
อำเภอแว้ง
เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา
เทศบาลตำบลแว้ง
อำเภอสุคิริน
เทศบาลตำบลสุคิริน
อำเภอสุไหงโก-ลก
เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
อำเภอสุไหงปาดี
เทศบาลตำบลปะลุรู
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ดอกบานบุรีเหลือง (Odontadenia macrantha)
ต้นไม้ประจำจังหวัด ตะเคียนชันตาแมว (Neobalanocarpus heimii)
คำขวัญประจำจังหวัด ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน
แหล่งท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง อุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ป่าพรุโต๊ะแดง พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ ศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดชลธาราสิงเห มัสยิดตะโละมาเนาะ 200ปี น้ำตกสิรินธร น้ำตกปาโจ หาดนราทัศน์
การเดินทาง
รถยนต์
ระยะทาง 1,149 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-พัทลุง-หาดใหญ่ และต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 42 เข้าสู่จังหวัดปัตตานี-นราธิวาส สอบถามเส้นทางและแจ้งเหตุตำรวจทางหลวง โทร. 1193
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถกรุงเทพฯ-นราธิวาส-สุไหงโกลก ทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2435 1193–200, 0 2434 7192 (ปรับอากาศ) 0 2434 5557-8 (ธรรมดา) หรือ www.transport.co.th สถานีขนส่งนราธิวาส โทร. 0 7351 1845 สถานีขนส่งสุไหงโกลก โทร. 0 7361 2045
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพฯ – ตันหยงมัส (นราธิวาส) - สุไหงโกลก ทุกวันทั้งรถด่วนและรถเร็ว สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 สถานีรถไฟสุไหงโกลก โทร. 0 7361 1162, 0 7361 4060 หรือ www.railway.co.th
เครื่องบิน
มีเที่ยวบินกรุงเทพฯ- นราธิวาส ติดต่อ สายการบินแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com
การเดินทางในตัวจังหวัด
- จากสนามบินมีรถตู้ไปตัวเมืองนราธิวาส สุไหงโกลก และด่านตาบา
- มีบริการรถโดยสารเส้นทางต่างๆ จากหน้าที่ว่าการอำเภอ ระหว่างเวลา 06.00-17.00 น.
- รถตู้ จากบริเวณแยกหอนาฬิกา เส้นทางนราธิวาส-สุใหงโกลก และนราธิวาส-ตากใบ ออกทุกครึ่งชั่วโมง ระหว่างเวลา 05.00-17.00 น.
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.moohin.com/075/
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ