ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
หลักเมืองนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นตามแนวคิดเรื่องศิลปะศรีวิชัย องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทอง จากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขานครศรีธรรมราชท้องที่ตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดความสูง 294 เซนติเมตร เส้นรอบวงกว้าง 94 เซนติเมตร สลักลวดลายพรรณนาโลกธรรมตามคติความเชื่อ พุทธศาสนามหายาน ว่าด้วยกฎแห่งกรรม ปลายเสาสลักเป็นรูปเค้าพระพักตร์จันทรภาณุ จตุคาม (องค์ราชันจตุคามรามเทพ) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ มีรูปพรหมสี่หน้าเป็นสัญลักษณ์ของเทวดาผู้พิทักษ์รักษาบ้านเมือง ปลายยอดสุดคือ ยอดชัยหลักเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายเมื่อ วันจันทร์ ที่3 สิงหาคม พุทธศักราช 2530 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร
ส่วนศาล"หลักเมืองนครศรีธรรมราช" สร้างขึ้นตามแนวคิดเรื่องพุทธเจดีย์แบบศรีวิชัย ทรงเหมราชลีลา มีศาลบริวารสี่ทิศ (คือ ศาลจตุโลกเทพ) ประกอบด้วย ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระบันดาลเมือง และศาลพระพรหมเมือง หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า ศาลจตุโลกธาตุ หมายถึง ดิน น้ำ ลมไฟ ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันศาลหลักเมืองให้อยู่ยั่งยืนนาน
ที่ตั้ง บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง เนื้อที่ 2 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองออกแบบให้มีลักษณะ คล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรง เหมราชลีลา วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2532 ส่วนอาคาร เล็กทั้งสี่หลังถือเป็น ศาลบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง และศาลพระบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2535 ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2542 ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2542 ด้วยอิทธิพลานุภาพแห่งองค์ศาลหลักเมือง อีกทั้งอำนาจแห่งเทวดาฟ้าดิน และพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งคุณงามความดี และพลังจิตอธิษฐานของชาวนครศรีธรรมราช จงบัลดาลให้พลเมืองมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข รู้รักสามัคคี พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรืองพัฒนาถาวรสืบไป
จารึกใว้เมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 ณ "หลักเมืองนครศรีธรรมราช"
กำแพงเมือง อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช อยู่ริมถนนราชดำเนิน เป็นกำแพงที่ซ่อมขึ้นใหม่ตามรูปเดิมในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับการบูรณะเพิ่มเติมขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2533 เป็นแนวขนานไปกับคูเมือง ตั้งแต่ป้อมประตูชัยเหนือ หรือประตูชัยศักดิ์ ไปทางตะวันออก ยาวประมาณ 100 เมตร
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ