สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

กระบี่สร้างเครือข่ายผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพ

by sator4u_team @8 ก.พ. 57 20:53 ( IP : 180...182 ) | Tags : ชุมชน-ท้องถิ่น , ASTV , กระบี่
photo  , 400x300 pixel , 85,617 bytes.

กระบี่ - กระบี่สร้างเครือข่ายการผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพ ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อการผลิตน้ำมันอย่างยั่งยืน เกษตรจังหวัดกระบี่ เผยปี 55 มีรายได้จากปาล์มน้ำมัน กว่า 15,611 ล้านบาทเศษ


วันนี้ (6 ก.พ.) ที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ นายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ จังหวัดกระบี่สร้างเครือข่ายการผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพแก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรแกนนำศูนย์เรียนรู้ปาล์มน้ำมันชุมชนตำบล ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อการผลิตน้ำมันอย่างยั่งยืน โดยมี นายไชยยุทธ์ ขุนฤทธิ์แก้ว เกษตรจังหวัดกระบี่ เกษตรอำเภอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้รับผิดชอบงานปาล์มน้ำมันอำเภอ แกนนำศูนย์เรียนรู้ปาล์มน้ำมันชุมชนตำบล และเกษตรกร เข้าร่วม จำนวน 100 คน จากตัวแทนทั้ง 8 อำเภอของจังหวัดกระบี่


นายไชยยุทธ์ ขุนฤทธิ์แก้ว เกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จังหวัดกระบี่ มีการปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดของประเทศ ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด โดยในปี 55 ที่ผ่านมา จังหวัดกระบี่ มีรายได้จากปาล์มน้ำมันกว่า 15,611 ล้านบาทเศษและคาดว่ามีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต มีเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากกว่า 22,000 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันตั้งแต่ 2-5 ไร่ จนถึงผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทมหาชนมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 10,000 ไร่ มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน และองค์ความรู้ด้านปาล์มน้ำมันที่ครบวงจร ที่พร้อมจะให้เกษตรกร ผู้ประกอบการทั้งใน และต่างจังหวัดได้เข้ามาเรียนรู้จนอาจจะเรียกได้ว่าเมื่อกล่าวถึงปาล์มน้ำมันจะต้องนึกถึงจังหวัดกระบี่


สำหรับปัญหาที่สำคัญในกระบวนการผลิตปาล์มน้ำมัน คือ คุณภาพปาล์มน้ำมันที่เก็บเกี่ยวผลปาล์มดิบ รวมทั้งต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ย เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชอายุยาว ดังนั้น ในการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันจะต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพราะหากมีการบริหารจัดการผิดพลาดไปในช่วงแรกก็จะมีผลต่อการให้ผลผลิตในช่วงต่อไปของปาล์มน้ำมันการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน การใช้ปุ๋ย จะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะกำหนดว่าการจัดการสวนมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย


เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการใช้ปุ๋ยในปริมาณมาก พบว่าค่าใช้จ่ายมากกว่า 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เป็นต้นทุน เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อปุ๋ยเพื่อใส่ให้ปาล์มน้ำมัน สาเหตุหนึ่งที่ปาล์มน้ำมันต้องการปุ๋ยในปริมาณมาก เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตทั้งปี การใช้ปุ๋ยในปาล์มน้ำมันจำเป็นต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพราะหากมีการใช้ปุ๋ยในปริมาณที่น้อยกว่าความต้องการของปาล์มน้ำมัน ก็จะทำให้ผลผลิตลดลง ในทางตรงกันข้าม หากมีการใช้ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้สิ้นเปลือง เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต นอกจากปริมาณของปุ๋ยที่เหมาะสมแล้ว ความเหมาะสมของสัดส่วนปุ๋ยแต่ละชนิดก็มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ทำให้สัดส่วนของความต้องการปุ๋ยมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้


ซึ่งปัจจุบันการใส่ปุ๋ยพืชอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ควรมีการวิเคราะห์ปริมาณอาหารที่มีอยู่ในพืช เพื่อให้ทราบถึงความต้องการปริมาณ และชนิดของธาตุอาหารที่มีในพืชว่าเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตหรือไม่ หากทราบข้อมูลดังกล่าวจะทำให้มีการใช้ปุ๋ยได้ถูกต้อง ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการผลิตในการใช้ปุ๋ยได้ประมาณ 20-30% และจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ แกนนำศูนย์เรียนรู้ปาล์มน้ำมันชุมชนตำบล จะได้นำความรู้ไปปฏิบัติ และแนะนำเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันของจังหวัดกระบี่ ได้อย่างมั่นคง และยืนยาว


ที่มา / ต้นฉบับ @ ASTV ภาคใต้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1304
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง