สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ปาบึก ส่งสมุนออกอาละวาดแล้ว ชายแดนใต้และสงขลาฝนหนัก คาดขึ้นฝั่งเมืองคอนค่ำพรุ่งนี้! กระทบ 16 จว.ใต้

เผย ‘พายุปาบึก’ ออกอาละวาดแล้ว! – เวลา 10.00 น. วันที่ 3 ม.ค. แบบจำลองสภาพอากาศ (วาฟ-รอม) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) รายงานเรื่องการเฝ้าระวัง พายุโซนร้อน “ปาบึก” ว่าจะเคลื่อนตัวผ่านอ่าวไทยตอนล่างและมีแนวโน้มเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านลงไปสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลให้ภาคใต้จะเกิดฝนตกหนัก ถึงหนักมาก เป็นบริเวณกว้าง ในช่วงวันที่ 3-6 มกราคม โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


 คำอธิบายภาพ : 66


วาฟ-รอม ระบุว่า ให้มีการเฝ้าระวัง คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น และอาจเกิดคลื่นซัดฝั่งกำลังแรง ความสูงคลื่นประมาณ 3-5 เมตร รวมทั้งระดับน้ำทะเลยกตัวขึ้นสูง 3 เมตร


ขณะเดียวกัน นายวัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยา ทางทะเล ยืนยัน เมื่อ 10.00 น. ตำแหน่งการเคลื่อนตัวของพายุเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่คาดว่าจะเคลื่อนผ่านดอนสัก เกาะสมุย ผ่านสุราษฎ์ธานี รอยต่อชุมพร แต่ล่าสุดเคลื่อนตัวต่ำลง ทำให้สมุยได้รับผลกระทบน้อยลง ได้รับผลกระทบด้านขวาของสมุย โดยศูนย์กลางจะเคลื่อนเข้านครศรีธรรมราช ซึ่งเข้าจังหวัดนครศรีธรรมราช และวิ่งตัดเข้าแผ่นดินลึก ขึ้นฝั่งที่ หัวไทร อ.ปากพนัง สอดคล้องกับแบบจำลองพยากรณ์ของญี่ปุ่น ส่วนฝนที่ตกช่วงเช้านี้ทางภาคใต้เป็นอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อิทธิพลของพายุยังไม่เข้ามา โดยจะเคลื่อนสู่อ่าวไทยช่วงบ่ายถึงค่ำ โดยที่ หัวไทร จะมีฝนตกหนักตั้งแต่เช้ามืดวันที่ 4 มกราคม ไปจนถึงช่วงบ่าย ที่จะมีฝนรุนแรง ตั้งแต่ 37 มิลลิเมตร มากถึง 150 มิลลิเมตร ความเร็วลม 56 กม./ชม.พัดต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง และ อาจจะเกิดสตอมเสริช สูง สาเหตุที่ทำให้พายุเปลี่ยนทิศทาง เนื่องจากมีมวลอกาศเย็นลงมา เกิดจากความแปรปรวนของความกดอากาศ


 คำอธิบายภาพ : 49457121_2231919813507682_3112183665468112896_n

ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วมสากล (JTWC) ระบุว่า พายุจะมีกำลังเร็วลมก่อนขึ้นฝั่ง ในช่วงค่ำของวันที่ 4 มกราคม ที่บริเวณแหลมตะลุมพุก ความเร็วลมหมุนรอบตัวอยู่ที่ 50 นอต หรือประมาณ 90 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง และ อาจจะมีลมกระโชกแรงขึ้นมาเป็นระยะ ความเร็วลมกระโชกสูงสุดจะอยู่ที่ 65 นอต หรือ 120 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง



ทั้งนี้ พายุโซนร้อน “ปาบึก” บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีแนวโน้มเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านลงไปสู่ทะเลอันดามันต่อไป กลุ่มเมฆฝนด้านหน้าของพายุปาบึก ได้เคลื่อนตัวเข้าปกคุลมบริเวณภาคใต้ตอนล่างแล้ว ภาคใต้ตอนล่างเริ่มมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักแล้วในบริเวณจังหวัดสงขลา 59 มิลลิเมตร


ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม บริเวณความกดอากาศสูงเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนตะวันออกและอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาปกคลุมประเทศไทยตอน ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยยังคงมีกำลังแรง ส่วนพายุโซนร้อน “ปาบึก” จะเคลื่อนตัวผ่านอ่าวไทยตอนล่าง


และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านลงไปสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลให้ภาคใต้จะเกิดฝนตกหนักถึงหนักมากเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


 คำอธิบายภาพ : Screenshot_2019-01-03-14-01-16-04

เรดาร์สทิงพระ เวลา 14.00 น. แสดงกลุ่มฝนเหนือทะเลอ่าวไทย และภาคใต้ล่าง



ช่วงวันที่ 6-9 มกราคม พายุโซนร้อน “ปาบึก” จะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามัน แต่ยังคงมีกระแสลมพัดผ่านภาคใต้ตอนบนเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุ ส่งผลให้ภาคใต้ตอนบนยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในช่วงวันที่ 6 มกราคม โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ต


และอาจเกิดฝนตกหนักในบางบริเวณของภาคเหนือตอนบนอาจเกิดฝนตกปานกลางถึงตกหนักได้ในช่วงวันที่ 7-8 มกราคม เนื่องจากพายุจะเคลื่อนตัวขึ้นไปทางอ่าวเมาะตะมะ แล้วอ่อนกำลังลง

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 0760
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง