พระยาทิพย์โกษา (โต โชติกเสถียร)
พระยาทิพย์โกษา (โตหรือหมาโต โชติกเสถียร) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน ต้นตระกูล โชติกเสถียร) เดิมเคยรับราชการทางฝ่ายปกครองมาแล้ว ในหัวเมืองสังกัดกรมท่า กล่าวคือเป็นผู้ว่าราชการเมืองนครชัยศรี (ชื่อเดิมของนครปฐม) มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้โอนมารับราชการในกรมท่าถลาง และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็นพระยาทิพย์โกษา
หน้าที่ของพระยาพิทย์โกษาในกรมท่าถลางคือ เป็นผู้ชำนาญการภาษีอากร ซึ่งเป็นตำแหน่งลอยๆ ในปีเดียวกันนั่นเอง ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับข้าหลวงใหญ่หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกมีอำนาจมากกว่าข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงทั้งหมด แต่ไม่ต้องมาประจำอยู่ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตกของภาคใต้โดยเฉพาะที่เมืองภูเก็ตตลอดเวลา เพียงแต่ให้ผู้ออกมาดูแลราชการเป็นครั้งคราวเท่านั้นเอง เพราะมีกระแสพระราชดำรัสอนุญาตไว้ว่า พระยาทิพย์โกษาออกไปดูการพอจัดการเรียบร้อยแล้วกลับเข้ามาได้
ในฐานะข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ตคนแรก พระยาทิพย์โกษาได้กลายเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่การแบ่งเขตการปกครองเมืองต่างๆออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การจัดตั้งคณะผู้บริหารมณฑลขึ้นมาเรียกว่า กองมณฑล ซึ่งประกอบด้วย ข้าหลวงใหญ่ และข้าหลวงฝ่ายต่างๆ ของเมืองต่างๆ นอกจากจัดแบ่งพื้นที่และจัดตั้งมณฑลแล้วพระยาทิพย์โกษายังได้ทำการปฏิรูปมณฑลภูเก็ตอีกหลายด้าน อย่างเช่น รักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การตุลาการ การภาษีอากร การเกษตร การศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้นและได้ถึงแก่อนิจกรรมวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๕๓
ผลงานหรือเกียรติคุณที่ได้รับ
เป็นผู้ชำนาญการภาษีอากร สังกัดกรมท่าในกรุงเทพฯ ซึงรัฐบาลกลางได้ส่งออกมาเป็นผู้กำกับข้าหลวงใหญ่ ประจำหัวเมืองภาคใต้ฝั่งตะวันตกระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๓๘ และเป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ต คนแรกระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๔๑
ข้อมูลและรูปภาพจาก : siamsouth
Relate topics
- หมู่บ้านทำเรือกอและ บ้านปะเสยะวอ จังหวัดปัตตานีหมู่บ้านทำเรือกอและ บ้านปะเสยะวอ จังหวัดปัตตานี บ้านปะเสยะวอ อำเภอปะนาเระ เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการต่อเรือประมงของชาวปัตตานี และนราธิวาสที่มีลักษณะเป็นเรือหัวแ
- ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดฉลองหลวงพ่อแช่ม (พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี) อดีตเจ้าอาวาส วัดฉลอง ภูเก็ต ถึงแม้พระคุณท่านจะได้มรณภาพไปนานแล้วก็ตาม ชื่อเสียงและเกียรติคุณของพระคุณท่านยังตรึงตราตรึงใจอยู่ในความทรงจำของชาว ภูเก็ตและชาว
- ชุมโจรบ้านดอนทราย : รุ่งดอนทรายและดำหัวแพรในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฏเกล้าเจ้าหัวอยู่ ในท้องที่ตำบลดอนทราย อำเภอทะเลน้อย (คืออำเภอควนขนุนปัจจุบัน) เมืองพัทลุง ได้เกิดชุมโจรขนาดใหญ่ขึ้นคณะหนึ่งมีร่งุดอนทรายเป็นหัวหน้าดำหัวแพรเป็นรองหัว
- พระพิฆเนศวร์ กรุนครศรีธรรมราช ' เทพแห่งศิลปะและความสำเร็จทั้งปวง 'นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 ประมาณ 1,800 ปีล่วงมาแล้ว เป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การศาสนา มากที่สุดในภาคใต้ นครศรีธรรมราช มีชื่อเรียกในสมัยโบร