พายุโซนร้อนวาชิ เคลื่อนออกจากทะเลทางตอนใต้ประเทศฟิลิปปินส์ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง และเริ่มอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
19 ธ.ค. 2554 ขณะนี้พายุโซนร้อนวาชิ เคลื่อนออกจากทะเลทางตอนใต้ประเทศฟิลิปปินส์ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง ด้วยความเร็วประมาณ 13 น๊อต 24 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งค่อยๆลดความเร็วลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากบริเวณส่วนเหนือของพายุได้ปะทะเข้ากับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาแล้ว เป็นเหตุผลหลักที่จะทำให้พายุโซนร้อนวาชิอ่อนกำลังลงและสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อนที่จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประเทศมาเลเซียในที่สุด
คาดการณ์ล่าสุดจากสำนัก JTWC และ JMA พายุโซนร้อนวาชิจะสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อนที่จะเข้าสู่ชายฝั่งของประเทศมาเลเซีย JTWC คาดว่าจะส่งผลกระทบมากที่สุด บริเวณพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ของมาเลเซีย (รัฐตรังกานู, ปะหังและยะโฮร์) และอาจรวมทั้งสิงคโปร์ ในช่วงวันที่ 21 - 22 ธันวาคมนี้
สำหรับประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเตือนภัย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 20-22 ธ.ค. 54 และคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่าง มีกำลังแรงขึ้นด้วย โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร
ข้อมูลเพิ่มเติม :
Joint Typhoon Warning Center (JTWC) @ www.usno.navy.mil/JTWC/
Japan Meteorological Agency (JMA) @ http://www.jma.go.jp/
กรมอุตุนิยมวิทยา @ http://www.tmd.go.th/
Weather Underground Inc. @ http://www.wunderground.com/
Typhoon Update @ http://www.typhoon2000.ph/
Western Pacific Weather @ http://westernpacificweather.com/
Relate topics
- ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ตรัง และสตูล ...ระวังฝนตกหนักคลื่นกระแสลมตะวันออกจากทะเลจีนใต้ยังคงเคลื่อนเข้ามาปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ยังพบกลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง รวมทั้งบริเวณทะเลอันดามันคลื่นกระแสลมตะวันออกจากทะเลจีนใต้เคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังมีฝนเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะ 1-2 วันนี้ ข้อมูลเพิ่ม
- ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา และยะลา ...เตรียมร่มกันให้พร้อมด้วยนะครับเวลา 16.15 น. วันที่ 18 พ.ย. 55 ...เรดาร์ฯ สทิงพระตรวจพบกลุ่มเมฆฝนชั้นต่ำ ปกคลุมเหนือจังหวัดสงขลา (อ.รัตภูมิ อ.ควนเนียง) ตรัง สตูล และยะลา ทำให้พื้นที่ดังกล่าว มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป
- หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้วหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 500 กิโลเมตร คาดว่าจะเคลื่อนเข้าสู่ปลายแหลมญวนในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 ลักษณะเ
- ประกาศเตือนภัย "ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก " ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 05 พฤษภาคม 2555ประกาศเตือนภัย "ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก " ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 05 พฤษภาคม 2555 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวมะตะบันจะเ
- ประกาศเตือนภัย"พายุฤดูร้อน " ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 28 เมษายน 2555ประกาศเตือนภัย"พายุฤดูร้อน " ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 28 เมษายน 2555 ความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูง ยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่
- ประกาศเตือนภัย "พายุฤดูร้อน " ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 26 เมษายน 2555ประกาศเตือนภัย "พายุฤดูร้อน " ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 26 เมษายน 2555 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในคืนวันนี้ (26 เม.ย.55) ในขณะที่บริเ
- ประกาศเตือนภัย "พายุฤดูร้อน " ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 03 เมษายน 2555ประกาศเตือนภัย "พายุฤดูร้อน " ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 03 เมษายน 2555 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในคืนนี้ (3 เม
- สภาพอากาศภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ประจำวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555สภาพอากาศภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ประจำวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555 พยากรณ์อากาศ ตั้งแต่เวลา 06:00 น.วันนี้ - 06:00 น.วันพรุ่งนี้ มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมา
- อุตุฯ ประกาศเตือนภัย "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักในภาคใต้ตอนล่างกับคลื่นลมแรงในอ่าวไทยตอนล่าง "อุตุฯ ประกาศเตือนภัย "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักในภาคใต้ตอนล่างกับคลื่นลมแรงในอ่าวไทยตอนล่าง " ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2554 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนยังค