ใส่ใจอาหารและหลักโภชนาการเพื่อเพิ่มความสูงให้กับลูกน้อย

by beautifultime @20 ธ.ค. 65 13:38 ( IP : 58...205 )
photo  , 466x360 pixel , 26,248 bytes.

การเจริญเติบโตในวัยเด็กนั้นมีความสำคัญมากๆ พ่อแม่จึงให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรกเสมอ เลือกผลิตภัณฑ์ก็จะเลือกที่ดีที่สุด เห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน การได้เห็นลูกรักเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงและสุขภาพดีสมบูรณ์ คือ สิ่งที่พ่อแม่ต้องการมากที่สุด ปัญหาเกณฑ์ความสูงของเด็กไทยและเด็กอาเซียนนั้น อาจจะไม่พัฒนาเท่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ สังเกตได้จากความสูงของนักกีฬาประเภทต่างๆ ที่สามารถแข่งกับชาวต่างประเทศอย่างประเทศทางยุโรปได้อย่างสูสีหรือใกล้เคียง อย่างที่เราเห็นในกีฬาบาสเก็ตบอล กีฬาวอลเลย์บอล ที่ต้องใช้ความสูงเป็นหลักหากจะชนะในเกมส์ แน่นอนว่าเทคนิคในการเล่นนั้นสำคัญไม่แพ้กัน แต่ถ้าเรามีข้อได้เปรียบทั้งความสูงและไหวพริบในการเล่นแล้วล่ะก็ เราสามารถคว้าแชมป์ได้อย่างแน่นอน

ความกังวลในเรื่องลูกจะไม่สูงนั้น พ่อแม่หลายคนคิดมาก เนื่องด้วยอาจจะเพราะกรรมพันธุ์ทางครอบครัวที่ไม่สูงมากนัก เด็กๆที่อยากสูงเองก็เครียดไปด้วย เพราะถ้าอยากประกอบอาชีพบางอาชีพ ที่ต้องใช้ความสูง อย่างเช่น นายแบบ นางแบบ แอร์โฮสเตส เมื่อเด็กไม่มีความสูงตามเกณฑ์ ก็อาจจะทำให้ไม่ได้ทำตามความฝันได้ ด้วยเหตุนี้พ่อแม่จึงได้เลือกเข้าปรึกษามืออาชีพอย่างคลินิกเพิ่มความสูงหรือสถาบันเพิ่มความสูงที่เข้าใจและช่วยในเรื่องการออกกำลังกาย การดูแลในเรื่องความสูง มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กิจกรรมต่างๆที่ถูกแบบมาเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก อาหารและโภชนาการคือส่วนจำเป็นที่ช่วยเสริมสร้างให้เด็กเจริญเติบโตและสูงขึ้น เว็บไซต์ synphaet ได้แชร์บทความที่น่าสนใจไว้ว่า แคลเซียม มีความสำคัญมากต่อมวลกระดูกและการขยายตัวของกระดูก โดยเฉพาะในวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และมีความสำคัญมากขึ้นในวัยรุ่นที่เริ่มมีช่วงโตเร็ว (growth spurt) อายุเฉลี่ยที่มีการสะสมแคลเซียมในอัตราสูงสุด คือ 14 ปี ในเพศชาย และ 12.5 ปี ในเพศหญิง โดยแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปจะดูดซึมได้เพียงร้อยละ 30 ดังนั้น เด็กควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร ช่วยในการเจริญเติบโต และยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์อันเป็นสาเหตุให้เกิดการสลายกระดูก หากขาดวิตามินดีจะส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในทางเดินอาหารลดลง มวลกระดูกลดลง เด็กที่ขาดวิตามินดีรุนแรงอาจทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน (Rickets) ซึ่งจะทำให้ตัวเตี้ยและขาโก่งได้ การรับประทานวิตามินดีเสริม ในกรณีที่มีภาวะขาดวิตามินดีควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ชนิดและปริมาณของวิตามินดีตามความเหมาะสมของรายบุคคลแต่ละราย และทำการตรวจติดตามระดับวิตามินดีในเลือดอย่างสม่ำเสมอ โปรตีน การกินอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานเพียงพอมีความสำคัญต่อการขยายตัวของกระดูก เด็กที่เป็นโรคขาดอาหาร (protein energy malnutrition) จะมีความสูงและน้ำหนักน้อยกว่าปกติ กระดูกบางกว่าปกติ เด็กที่ขาดโปรตีน ระดับฮอร์โมน IGF-1 จะต่ำลง ฮอร์โมน IGF-1 มีความสำคัญต่อการขยายตัวและแบ่งตัวของเซลล์กระดูกบริเวณส่วนปลายของกระดูกยาว ดังนั้นโปรตีนที่เพียงพอจึงมีความจำเป็นต่อการเติบโตของกระดูก

Post new comment

« 6492
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง