สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

สินเชื่อคืออะไร มารู้จักความหมาย ประเภท ประโยชน์ และเอกสารยื่นขอสินเชื่อกัน

by localspeaker @13 พ.ค. 68 19:25 ( IP : 49...50 )

สินเชื่อคืออะไร


การขอสินเชื่อคืออะไร? น่าจะเป็นคำถามสำหรับคนที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนสงสัยกัน เพราะการขอสินเชื่อสามารถนำไปใช้ในสิ่งจำเป็นหรือใช้ในกรณีฉุกเฉินได้ ซึ่งการขอสินเชื่อมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจอยู่พอสมควร บทความนี้ขอพาทุกคนมารู้จักสินเชื่อให้มากขึ้น และดูว่าสินเชื่อมีกี่ประเภท พร้อมกับแนะนำรายละเอียดสำคัญที่ผู้กู้ต้องรู้ เช่น วงเงินสินเชื่อคืออะไร เอกสารที่ต้องใช้ในการขอสินเชื่อ รวมถึงประโยชน์ของสินเชื่อ เพื่อเป็นความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อเบื้องต้นสำหรับคนที่ต้องการกู้ยืมเงิน






สินเชื่อคืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยม




สินเชื่อ คือ บริการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลสามารถกู้ยืมเงินไปใช้ในจุดประสงค์ต่าง ๆ ตามความต้องการ โดยผู้กู้จะต้องชำระคืนเป็นงวด ๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในระยะเวลาที่กำหนด สินเชื่อช่วยให้ผู้กู้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องสะสมเงินก้อนล่วงหน้า เมื่อรู้ว่าสินเชื่อคืออะไร ก็จะสามารถวางแผนการกู้เงินได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น






ประเภทของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผู้กู้ต้องรู้




อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อคืออะไร? เป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยของผู้กู้หลายคน สินเชื่อทุกประเภทจะต้องมีดอกเบี้ย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้


- อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) : เป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ได้กำหนดตายตัวไว้แล้ว ไม่มีการปรับเพิ่มหรือลดระหว่างอายุสัญญา โดยการคำนวณดอกเบี้ยจะนำดอกเบี้ยทั้งหมดมาหารด้วยจำนวนงวดผ่อนแล้วนำไปรวมในยอดชำระแต่ละเดือน ซึ่งผู้กู้มีหน้าที่ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยไปทุก ๆ เดือนจนกว่าจะครบสัญญา
- อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) : เป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดลงตามจำนวนเงินต้น หมายความว่ายิ่งเงินต้นเหลือน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อยลงตามไปด้วย การคำนวณจะนับเป็นรายวัน อัตราดอกเบี้ยประเภทนี้มักใช้กับสินเชื่อประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด






สินเชื่อมีกี่ประเภท มีจุดเด่นอย่างไร




ประเภทของสินเชื่อ


ก่อนยื่นขอสินเชื่อทุกครั้ง นอกจากผู้กู้จะต้องรู้ว่าสินเชื่อคืออะไรแล้ว การรู้จักประเภทของสินเชื่อก็จะช่วยให้ผู้กู้รู้ว่าควรยื่นกู้สินเชื่อประเภทไหน ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทสินเชื่อได้หลายแบบ ดังนี้


สินเชื่อแบ่งตามระยะเวลา




สินเชื่อแบ่งตามระยะเวลาเป็นประเภทสินเชื่อที่ใช้ระยะเวลาในการผ่อนชำระมาเป็นตัวกำหนดเงื่อนไข โดยทั่วไปแล้วแบ่งได้เป็น 3 ประเภทย่อย ดังนี้


- สินเชื่อระยะสั้น : เป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาการชำระคืนไม่เกิน 1 ปี เหมาะสำหรับเป็นเงินชั่วคราวเพื่อใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น เช่น ค่าเทอมบุตรหลาน ค่ารักษาพยาบาล หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ
- สินเชื่อระยะกลาง : เป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาการชำระคืนระหว่าง 1 - 5 ปี เหมาะสำหรับใช้ซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของธุรกิจ
- สินเชื่อระยะยาว : เป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาการชำระคืนมากกว่า 5 ปีขึ้นไป มักใช้สำหรับการซื้อทรัพย์สินมูลค่าสูง เช่น ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้ออาคารพาณิชย์ หรือใช้เป็นเงินทุนสำหรับขยายธุรกิจหรือโครงการขนาดใหญ่


สินเชื่อแบ่งตามลักษณะของผู้กู้




สินเชื่อแบ่งตามลักษณะของผู้กู้จะใช้ลักษณะของตัวผู้กู้มาเป็นเกณฑ์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์สินเชื่อ รวมถึงกำหนดรายละเอียด เงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่


- สินเชื่อส่วนบุคคล : เป็นสินเชื่อที่ธนาคารหรือบริษัทสินเชื่อออกให้แก่บุคคลทั่วไปสำหรับใช้เป็นเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัว วงเงินสินเชื่อที่ได้รับจะพิจารณาจากฐานรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระ ผู้กู้สามารถนำเงินได้ไปใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น เช่น ชำระหนี้ จ่ายค่ารักษาพยาบาล ใช้เป็นทุนการศึกษาให้บุตรหลาน หรือซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
- สินเชื่อธุรกิจ : เป็นสินเชื่อที่ธนาคารออกให้แก่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ หรือบริษัท เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ เช่น การขยายสาขา ซื้อเครื่องจักร ขยายกิจการ หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน


สินเชื่อแบ่งตามประเภทสินทรัพย์




สินเชื่อแบ่งตามประเภทสินทรัพย์เป็นประเภทสินเชื่อที่ได้รับความนิยมสูง เพราะเป็นแหล่งเงินกู้สำหรับการซื้อทรัพย์สินที่ผู้กู้ต้องการ โดยทั่วไปแล้วจะขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง หรือวัตถุประสงค์ในการกู้ซื้อ หลัก ๆ แล้วจะมี 2 อย่าง ได้แก่


- สินเชื่อที่อยู่อาศัย : ออกแบบมาเพื่อการกู้ซื้อบ้าน คอนโด ตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ ซึ่งจะมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน และมีอัตราดอกเบี้ยหลากหลายรูปแบบตามเงื่อนไขของธนาคารและความคุณสมบัติของผู้กู้
- สินเชื่อยานพาหนะ : ออกแบบมาเพื่อการเช่าซื้อยานพาหนะ เช่น รถยนต์ใหม่ รถยนต์มือสอง หรือรถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น สินเชื่อประเภทนี้จะคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงตัว และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดที่ 84 เดือน หรือ 7 ปี ในกรณีเป็นรถยนต์ใหม่


สินเชื่อแบ่งตามหลักประกัน




สินเชื่อประเภทนี้จะใช้หลักประกันมาเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขการกู้เงิน รวมถึงกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมและการคิดอัตราดอกเบี้ย โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่


- สินเชื่อแบบมีหลักประกัน : เป็นประเภทสินเชื่อที่ผู้กู้ต้องนำทรัพย์สินของตัวเองมาค้ำประกันการกู้ยืมเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ ซึ่งทรัพย์สินที่นำมาค้ำต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่า เช่น บ้าน, ที่ดิน, รถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น สินเชื่อประเภทนี้มักมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำสำหรับผู้ให้กู้
- สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน : เป็นประเภทสินเชื่อที่ผู้กู้ไม่ต้องนำทรัพย์สินใด ๆ มาค้ำประกันการกู้ยืมเงิน มักมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อแบบมีหลักประกัน เนื่องจากผู้ให้กู้ต้องแบกรับความเสี่ยงมากกว่า






การยื่นขอสินเชื่อต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง




ความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อเบื้องต้น


เมื่อเข้าใจแล้วว่าสินเชื่อคืออะไร สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือกระบวนการยื่นขอสินเชื่อที่ผู้กู้ต้องเตรียมเอกสารให้ครบ เพื่อให้สถาบันการเงินพิจารณาคุณสมบัติและความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ ซึ่งเอกสารที่ใช้จะแตกต่างกันไปตามประเภทของสินเชื่อ แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีเอกสาร 2 กลุ่มหลักที่จำเป็น ได้แก่ เอกสารประจำตัว และเอกสารรายได้


เอกสารประจำตัว: เป็นเอกสารที่ใช้ยืนยันตัวตนของผู้กู้เพื่อให้สถาบันการเงินทราบว่าผู้กู้เราเป็นใครมาจากไหนและมีสถานะอย่างไร เอกสารกลุ่มนี้ได้แก่
- สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนสมรส
- ทะเบียนหย่า
- สำเนาทะเบียนการค้า (กรณีนิติบุคคล)
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)


เอกสารรายได้: เป็นเอกสารที่ใช้ยืนยันเกี่ยวกับรายได้ทั้งหมดของผู้กู้ ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาวงเงินสินเชื่อ และความสามารถในการชำระเงินกู้ ผู้กู้แต่ละกลุ่มจะใช้เอกสารต่างกัน ดังนี้
- ผู้มีรายได้ประจำ จะต้องใช้เอกสารที่ต้องใช้คือใบรับรองเงินเดือน สลิปเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือนจากนายจ้าง และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
- ผู้มีอาชีพอิสระ จะต้องใช้สำเนาสัญญาว่าจ้าง, หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ถ้ามี), บัญชีเงินฝาก, รายการเดินบัญชีย้อนหลัง, หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่น ๆ (ถ้ามี)
- นิติบุคคล จะต้องใช้เอกสารจดทะเบียนนิติบุคคล, สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี, สำเนางบการเงิน, แผนที่ของสถานประกอบการ, สำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน เป็นต้น






ประโยชน์ของสินเชื่อมีอะไรบ้าง




หากถามว่าประโยชน์ของสินเชื่อคืออะไร อธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าสินเชื่อเปรียบเสมือนเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ไม่ว่าจะเพื่อการใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน ชำระหนี้ ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ หรือใช้จ่ายเพื่อความจำเป็นอื่น ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้กู้มีสภาพคล่องดีขึ้นและสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างยืดหยุ่น และตอบสนองความต้องการในช่วงเวลาที่สำคัญ


การรู้จักกู้สินเชื่ออย่างเหมาะสมนั้นมีประโยชน์มาก เพราะสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ควรกู้เท่าที่จำเป็นและอยู่ในขอบเขตที่สามารถชำระคืนได้ เพื่อป้องกันปัญหาหนี้สินในอนาคต






สรุป สินเชื่อ ตัวช่วยด้านการเงินในกรณีฉุกเฉิน




บทความนี้ช่วยให้ทุกคนได้รู้แล้วว่าสินเชื่อคืออะไร และเอกสารที่ต้องใช้ขอสินเชื่อมีอะไรบ้าง เพราะนี่คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการเงิน หากใช้อย่างมีวินัยและอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมก็จะมีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นหากใครกำลังมองหาสินเชื่อเพื่อวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม ควรมีความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อเบื้องต้น ศึกษาประเภทสินเชื่อให้เข้าใจ และเลือกกู้สินเชื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่สุด



แสดงความคิดเห็น

« 6646
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง