สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

รู้จัก ...ปลาท่องเที่ยวทะเลสาบสงขลา ?

by sator4u_team @17 ต.ค. 57 16:53 ( IP : 180...156 ) | Tags : แลใต้

หลังประเพณีลากพระ ย่างเข้าเดือนสิบเอ็ดเดือนสิบสอง (พฤศจิกายน - ธันวาคม) เป็นช่วง "ฝนพะ" หน้าน้ำหลากในฤดูฝนใหญ่ของภาคใต้ฝั่งทะเลอ่าวไทย ทำให้ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีปริมาณน้ำจืดมากขึ้น กลายเป็นน้ำกร่อยในช่วงนี้ จึงทำให้ชาวประมงในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จับปลาชนิดหนึ่งได้เป็นจำนวนมาก คือ "ปลาท่องเที่ยว" นั่นเอง !!!



 คำอธิบายภาพ : pic5440e71b26c99


ปลาท่องเที่ยว มีชื่อทางวิชาการว่า "ปลาท่องเที่ยวเกล็ดใหญ่" มีชื่อสามัญว่า "Large-scaled goby" ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Parapocryptes" ชาวจีนเรียก "ปลาอั้งโกหลัน" สำหรับชื่อสามัญในประเทศไทย "ปลาท่องเที่ยว" เป็นชื่อในภาษาถิ่นของจังหวัดสงขลา ที่มาจากพฤติกรรมของปลาสกุลนี้ที่มักไม่ค่อยอยู่ประจำที่ มีลักษณะคล้ายปลาตีน แต่ตัวยาวกว่า ลำตัวกลม มีเกล็ดเล็กอ่อน ส่วนหัวกลมรี ปากงุ้ม ฟันละเอียดและแหลมคม ครีบหลังบางมาก ลำตัวสีขาวซีดอมแดง ตัวยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาอีกชนิดหนึ่งคือ "ปลาเขือ" เพียงแต่ปลาเขือจะมีหัวที่ทู่กว่า (สกุลปลาบู๋) โดยคนส่วนใหญ่มักจะเข้าผิดว่าเป็นปลาชนิดเดียวกันอยู่บ่อยครั้ง


 คำอธิบายภาพ : pic58496eac2eaf3pic5 คนทั่วไปมักจะสับสนอยู่บ่อยครั้ง ระหว่าง ปลาเขือ และ ปลาท่องเที่ยว


ปลาท่องเที่ยวในทะเลสาบสงขลา อาศัยอยู่บริเวณปากทะเลสาบตอนนอก ตั้งแต่บริเวณหาดแก้ว ซึ่งสภาพทั่วไปเป็นหาดทราย มีหญ้าทะเลเจริญค่อนข้างหนาแน่น ความเค็มของน้ำมีค่า 18-35 psu. จนถึงบริเวณชายฝั่งหน้า ตำบลหัวเขา ลักษณะของพื้นดินเป็นโคลนปนทราย ความเค็มของน้ำมีค่า 5-34 psu. และครอบคลุมบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง บริเวณเกาะยอและปากคลองพะวง ซึ่งมีสภาพเป็นป่าชายเลนที่เหลืออยู่ในทะเลสาบสงขลา พื้นดินเป็นโคลนปนซากพืช ความเค็มของน้ำมีค่า 1-34 psu.


ชาวใต้ตั้งชื่อปลาชนิดนี้ตามพฤติกรรมของมันที่ไม่ได้อยู่ประจำที่เหมือนอย่างปลาอื่นๆ ว่า "ปล่าท่องเที่ยว" มีนิสัยชอบขุดรูอยู่ตามพื้นทะเลสาบที่เป็นโคลน ในฤดูน้ำหลาก คลื่นแรง น้ำจะพัดเอาโคลนมาปิดรู ใต้ท้องทะเลมันผิดน้ำ ปลาท่องเที่ยวจะออกจากรูเพื่อหลบโคลน และออกจากรูว่ายเดินทางไปทั่วเพื่อหาแหล่งที่อยู่ใหม่ มักจะหากินและวางไข่ตามปากแม่น้ำบริเวณน้ำกร่อย ซึ่งมักพบปลาชนิดนี้ชุกชุมในฤดูฝน


ปลาท่องเที่ยว ดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ลุ่มน้ำเลสาบสงขลา



 คำอธิบายภาพ : D11374020-7


ชาวประมงพื้นบ้านที่อาศัยบริเวณรายรอบทะเลสาบสงขลาตอนล่าง รอบๆเกาะยอ สามารถจับปลาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น และบริโภคภายในครัวเรือน โดยใช้เครื่องมือประมงหลายประเภท เช่น โพงพาง ไซนั่ง ข่ายปลาท่องเที่ยว และข่ายกุ้ง เป็นต้น


ในหนึ่งปีหรือหนึ่งฤดูกาล ชาวประมงจะจับปลาท่องเที่ยวได้จำนวนมากก็เฉพาะระยะแรกที่ฝนตกหนัก ที่น้ำทะเลเริ่มเปลี่ยนจากน้ำเค็มเป็นน้ำจืดเท่านั้น ประมาณไม่เกิน 10 วัน


 คำอธิบายภาพ : pic584425fcc8d62pic5 ปลาท่องเที่ยวทอดกระเทียม


 คำอธิบายภาพ : pic5844266828c5bpic5 ปลาท่องเที่ยวต้มน้ำส้มโหนด


 คำอธิบายภาพ : pic58497ee639b0apic5 ปลาท่องเที่ยวไข่ต้มมะขามสด


 คำอธิบายภาพ : pic58442693bdf94pic5 แกงส้มปลาท่องเที่ยวกับมะขามสด


ปลาท่องเที่ยวเป็นปลาที่มีรสชาติดีมาก เนื้อนิ่ม รสชาติอร่อย และมีไขมันที่ช่องท้องมากสุดสุดชนิดหนึ่ง ราคาขายสดกิโลกรัมละ 30-50 บาท หรือบางช่วงอาจสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาทกันเลยทีเดียว ชาวบ้านรายรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามักนิยมนำไปแกง ต้ม ทอด และทำเค็ม โดยเฉพาะแกงส้มกับหัวมันขี้หนู ถือเป็นเมนูเด็ด หรือ เป็นเมนูต้มน้ำส้มโตนด ก็อร่อยสุดยอด แต่ก็มีชาวใต้บางคนไม่กล้ากินปลาชนิดนี้ เพราะรูปร่างน่าเกลียดตรงที่ส่วนหัวเหมือนอวัยวะเพศชาย ส่วนมากถ้าปรุงมักจะตัดเอาส่วนหัวทิ้งเสีย


Cr. สงขลาพอร์ทัล # สนับสนุนให้คนสงขลาได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 9262
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง