อเล็กซานเดอร์ ชุลกิน เป็นบุตรผู้อพยพชาวรัสเซีย นักวิทยาศาสตร์ผู้สังเคราะห์ยาอี

by sator4u_team @8 มิ.ย. 57 01:42 ( IP : 180...252 ) | Tags : ไลฟ์สไตส์
photo  , 640x333 pixel , 47,903 bytes.

ชุลกิน เจ้าพ่อยาอี นักวิทยาศาสตร์ผู้สังเคราะห์ยาอี

เรารู้จัก "ยาอี" และพิษภัยของมันกันมานาน แต่เชื่อว่าน้อยคนจะรู้ว่าผู้คิดค้นสังเคราะห์สารที่แพร่หลายในหมู่นักเที่ยวกลางคืนชนิดนี้เป็นใคร กระทั่งมีข่าวในสัปดาห์นี้ว่าผู้ให้กำเนิด นายอเล็กซานเดอร์ ชุลกิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ในวัย 88 ปี จากอาการป่วยมะเร็งตับ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย

ชุลกิน อายุ 70 ปีแล้วตอนกลายเป็นคนดังในฐานะเจ้าพ่อยาอี ที่มากับความฮิตของวัฒนธรรมเพลงเต้นรำช่วงคริสต์ทศวรรษ 80 และต้น 90 ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นคนประดิษฐ์คิดค้นสารกลุ่ม MDMA ขึ้นมา แต่จริงแล้ว ชุลกินเพียงเป็นคนที่นำสารตัวนี้มาสกัดใหม่และแนะนำให้นักจิตบำบัดใช้ในปลายทศวรรษที่ 70

อเล็กซานเดอร์ ชุลกิน เป็นบุตรผู้อพยพชาวรัสเซีย เริ่มศึกษาด้านเคมีออร์แกนิก ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หยุดเรียนช่วงหนึ่งไปรับใช้ชาติในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และกลับมาคว้าปริญญาเอกด้านเคมีชีวภาพ ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในเบิร์กลีย์

จากนั้น เข้าทำงานกับ ดาว เคมีคอล บริษัทเคมีภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 50

หลังจากประสบความสำเร็จในการพัฒนายาฆ่าแมลงชนิดย่อยสลายได้ตามธรรมชาติชนิดแรกของโลก ที่ทำกำไรแก่บริษัทมหาศาล ทำให้ชุลกินมีอิสระในการเข้าถึงสารเคมีชนิดต่างๆ และเริ่มหันมาสนใจค้นคว้าสารเคมีกลุ่มออกฤทธิ์จิตประสาทอย่างจริงจัง โดยชนิดแรกที่ผลิตออกมาขณะยังอยู่กับบริษัทดาว เคมีคอล เป็นแอมเฟตามีนที่ออกฤทธิ์เบากว่าแอลเอสดีเล็กน้อย แต่มีนักเคมีนอกรีตคนหนึ่ง ลอกสูตรและนำไปลักลอบขายให้แก่แก๊งจักรยานยนต์ในนิวยอร์กเป็นกิโล ทำให้ดาวเคมีคอลเสียชื่อเสียงไปด้วย

ชุลกิน จึงออกจากงานในปี ค.ศ.1965 และเริ่มเป็นอาจารย์สอนตามมหาวิทยาลัยท้องถิ่น ควบคู่กับการค้นคว้าสารเคมีออกฤทธิ์จิตประสาทต่อไป ในห้องแล็บที่บ้าน ซึ่งตลอดเวลา 40 ปี ได้ผลิตตัวยาต้านอาการซึมเศร้า ยาเพิ่มความต้องการทางเพศ ยาที่เปลี่ยนการได้ยิน ยาที่กินแล้วจุดอารมณ์รุนแรง และอื่นๆ อีกมากมายกว่า 200 ชนิด โดยทดลองยาเหล่านั้นกับตัวเอง ภรรยา และเพื่อนฝูง

มาถึงทศวรรษหลังปี 1970 เริ่มศึกษาสารที่มีชื่อทางเคมี MDMA ที่ต่อมาเรียกกันว่า ยาอี และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในบรรดาผลงานการสังเคราะห์ของเขา

อันที่จริง  MDMA เป็นสารเคมีที่คิดค้นครั้งแรกในเยอรมนีเมื่อ 50 ปีก่อนหน้านั้น โดยเมิร์ค บริษัทยาชื่อดัง จดลิขสิทธิ์ในปี 1912 แต่ไม่เคยนำมาทดลองใช้กับคน ชุลกินได้คิดหาหนทางใหม่ในการสังเคราะห์และนำมาทดลองใช้กับคนเป็นครั้งแรก ซึ่งก็เริ่มจากตัวเขาเองอีกเช่นเคย

เมื่อปรับสูตรจนได้ที่ซึ่งก็คือรูปแบบบริสุทธิ์ที่สุดของยาอี เมื่อปี 2529 จึงแนะนำเพื่อนนักจิตวิทยา ลีโอ เซฟฟ์ นำไปใช้ โดยเซฟฟ์ทดลองใช้ยาชนิดนี้ด้วยตัวเองก่อนค่อยนำมาใช้กับคนไข้ เพื่อช่วยบำบัดด้านการพูด และเผยแพร่ให้แก่เพื่อนร่วมอาชีพอีกหลายร้อยคนทั่วสหรัฐ

และแล้ว ยาอีก็เริ่มแพร่หลาย แทรกซึมเข้าไปในวัฒนธรรมปาร์ตี้ คลับในนิวยอร์กและชิคาโก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 80 และ 90 เพราะช่วยให้เต้นรำนานหลายชั่วโมงไม่เหน็ดเหนื่อย

บางคนยกย่องว่า ชุลกินเป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง และอาจเป็นคนเดียวที่สนใจด้านสารเคมีออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และวัฒนธรรมยาเสพติดระดับโลกที่เกิดตามหลัง หรือให้คนเป็นล้านๆ ใช้เสพและติด ไม่ใช่เจตนาของผู้คิดค้นออกมา แต่ความที่ชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องกับยานี้ ด้านหนึ่งจึงถูกยกเป็นฮีโร่กบฏสังคม และเรียกกันง่ายๆ ว่า เจ้าพ่อยาอี

ยาอีเป็นสาเหตุให้ผู้เสพถึงแก่ความตายหลายกรณี เพราะการเสพเกินขนาด หรือปัญหาอื่นๆ ต่อสุขภาพระยะยาว แต่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนระบุว่า ยาอีบริสุทธิ์แบบที่ไม่ได้ซื้อหาในตลาดมืด ปลอดภัยสำหรับการใช้ และอาจไม่ได้มีผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว ปัญหาโดยมากที่พบคือ ไม่อาจแน่ใจได้ว่าอะไรบ้างที่อยู่ในเม็ดยา


//////////////


ที่มา @ คมชัดลึก

Relate topics

Post new comment

« 7643
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง