สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

Startup คืออะไร ? อ้าว และมันต่างกับ SME ยังไง ?

by sator4u_team @24 ธ.ค. 59 21:24 ( IP : 27...182 ) | Tags : ไลฟ์สไตส์

คำนี้ถูกใช้กันมากใน 2 – 3 ปีหลัง ถ้าแปลตรงตัว มันก็คือการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ “อ้าว และมันต่างกับ SME ยังไง?” นี่คำถามที่หลายคนสงสัยและเข้าใจผิด


 คำอธิบายภาพ : 2-startup-thinking


‘Startup’ คือการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด มีวิธีสร้างรายได้ที่สามารถหาเงินแบบทำซ้ำและขยายได้ง่ายนั่นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น เช่น แอพพลิเคชั่นเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วยตัวเอง แอพพลิเคชั่นรวมที่จอดรถ เป็นต้น


อย่างถ้าเปิดร้านขายน้ำเต้าหู้อันนี้เป็น Startup ไหม?


ลองนึกภาพดู หากจะขยายทีเราต้องหาที่ใหม่ จ้างคนเพิ่ม หาวัตถุดิบ และเพิ่มกำลังการผลิต ถือว่าไม่สามารถขยายและทำซ้ำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จึงถือว่า ‘ร้านขายน้ำเต้าหู้’ ไม่ใช่ Startup แต่เป็น SME คือเป็นเจ้าของธุรกิจเอง ลงทุนเอง และเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป

ในทางกลับกัน หากเราสร้างเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นให้คนมาขายของ เมื่อเราทำเสร็จปุ๊บ คนเอาของมาลงขายเยอะ รายได้ที่เข้ามาก็เพิ่มมากขึ้นโดยเราไม่ต้องไปขยายอะไรตามมากมาย ยิ่งถ้าพิสูจน์แล้วว่ามันดี ทำเงินได้ ขยายไปเปิดต่างประเทศด้วยโมเดลเดิมก็ทำได้อีกเช่นกัน เรียกได้ว่าทั้งขยายและทำซ้ำได้ เราจึงเห็น Startup ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสายเทคโนโลยีซะเยอะ เพราะสามารถเติบโตได้ง่ายกว่าการทำธุรกิจประเภทอื่นๆ

หลายๆ Startup จำเป็นต้องมีผู้ใช้ที่เยอะในระดับนึงก่อนที่จะเริ่มหาเงิน หรือระดมทุนเพิ่มเพื่อขยายฐานผู้ใช้ให้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตัวอย่างนี้มีให้เห็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Youtube ต่างก็เคยเป็น Startup มาก่อน ตอนแรกใช้ฟรี หลังๆ ถึงเริ่มมีโฆษณามากขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน

ที่บอกว่า Facebook และ Youtube เคยเป็น Startup เพราะคำว่า Startup เป็นคำจำกัดความของการเริ่มธุรกิจในระยะเริ่มต้นเท่านั้นและยังไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน เรียกว่าระดับ Beginner นั่นเอง

ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่าง Startup และ SME อยู่ที่วิธีการหาเงินลงทุน…

Startup ไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง แต่สามารถนำเสนอไอเดีย เพื่อซื้อใจนักลงทุน ให้เห็นศักยภาพและมาร่วมลงทุนได้ ซึ่งงานที่เปิดโอกาสให้ Startup เสนอไอเดียนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ภายในประเทศเท่านั้น จนเกิดเป็นธุรกิจร่วมลงทุนที่มาในรูปแบบองค์กร เงินหนาลงหนัก ก็มีอยู่มากมาย ทว่า SME ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตัวเอง หรือต้องทำเรื่องกู้ผ่านธนาคารที่มีโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อ SME

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครที่มีไอเดียใหม่ๆ และอยากเข้าสู่วงการ Startup บ้าง ก็อาจเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าสิ่งที่ตัวเองสนใจอย่างจริงจัง แล้วลงมือทำ เพราะช่วงเริ่มต้นงบประมาณไม่ใช่สิ่งสำคัญ ก้าวแรกนั้นวัดกันที่ไอเดียและใจ บวกกับความอึด ที่ขอบอกเลยว่าต้องใช้เยอะเชียวแหละ…แต่ถ้าผ่านไปได้ รับรองว่าอนาคตสดใสอย่างแน่นอน!


ตกลงแล้ว นิยามของสตาร์ตอัพคืออะไร



คำว่า "สตาร์ตอัพ" ในความหมายของคนทำงานด้านไอที ย่อมหมายถึง tech startup หรือบริษัทด้านไอทีหน้าใหม่ที่เราคุ้นเคยกันดี แต่ปัจจุบันเมื่อพรมแดนของไอทีขยายตัวออกไปมาก ขอบเขตของคำว่า tech startup ก็เริ่มพร่าเลือน แบ่งแยกได้ยากขึ้นมาก


ภายใต้นโยบายเรื่องสตาร์ตอัพของรัฐบาลชุดนี้ (ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ผลักดัน) ให้คำนิยามของ "สตาร์ตอัพ" ไปไกลกว่า tech startup แต่ครอบคลุมไปถึง "ธุรกิจเกิดใหม่" ด้านอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหน่อยก็คือสตาร์ตอัพที่ใช้เทคโนโลยีอื่นที่ไม่ใช่ไอที เช่น สตาร์ตอัพด้านการแพทย์ หรือสตาร์ตอัพด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรม


แต่ที่เป็นประเด็นขัดแย้งพอสมควรตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน ก็คือ startup ยังครอบคลุมไปถึงธุรกิจ SME บางส่วนด้วย (ซึ่งขอบเขตว่าแค่ไหนก็ไม่มีใครให้คำตอบได้ชัดเจน) เราจึงเห็นหน่วยงานที่ทำผลิตภัณฑ์แนว OTOP เข้ามาแสดงผลงานด้วยเช่นกัน ซึ่งสร้างประเด็นไม่น้อยระหว่างทั้งสองกลุ่ม (tech startup vs อื่นๆ) ว่าตกลงแล้วงานนี้จัดเพื่อใครกันแน่


ในมุมมองของผมแล้ว กิจการแบบไหนจะเรียกว่าเป็นสตาร์ตอัพได้หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรสักนิดเลย


ประเด็นในภาพใหญ่กว่านั้นคือ ขอแค่เป็น ผู้ประกอบการ (entrepreneur) ที่มี นวัตกรรม (innovation) และ ความสร้างสรรค์ (creativity) ก็เพียงพอแล้ว สภาพของภาคธุรกิจไทยในตอนนี้คือ โมเดลธุรกิจแบบเดิมๆ ที่ทำกันมาหลายสิบปีเริ่มไม่เวิร์คแล้ว จากปัจจัยหลายประการ ทั้งในแง่ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป และการแข่งขันจากประเทศอื่นๆ ในตลาดโลก ผมเชื่อว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ จำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าตัวเองต้องเปลี่ยน แต่ไม่รู้ชัดว่าต้องเปลี่ยนอย่างไร (อาการประมาณว่า "รู้ว่าต้องทำอะไรสักอย่าง แต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไร")


ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น startup, SME หรือแม้กระทั่ง SE (social enterprise) เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่มีองค์ความรู้แบบใหม่ มีไอเดียใหม่ เครื่องมือแบบใหม่ และกล้าลองทำธุรกิจแบบใหม่ จึงกลายเป็นตัวจุดประกายของสังคมไทยในภาพรวม


ในงานเราจึงเห็นคนหลากหลายกลุ่มที่เข้ามาเดินชมงาน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพ่อแม่ พาลูกมาเดินดูวิชาชีพในอนาคต, กลุ่มวัยรุ่นที่อยากเปิดหรืออยากทำสตาร์ตอัพ, กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นเก่า (อายุจะเริ่มเยอะหน่อย) หรือแม้กระทั่งผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่ของไทย หรือนักลงทุนที่มาเดินดูงานกันอย่างเงียบๆ


ผู้เข้าชมงานจำนวนไม่น้อยคงมาด้วยเหตุผลเดียวกัน คือรู้ว่าอนาคตต้องเปลี่ยนแปลง และได้ยินคำว่าสตาร์ตอัพมานาน ไหนเลยมีโอกาสที่ชาวสตาร์ตอัพมารวมตัวกัน ก็ขอมาเดินสังเกตการณ์สักหน่อย มาเดินดูว่า "พวกเอ็งกำลังทำอะไรกันอยู่วะ"


ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ประเด็นของผมก็คือใครจะเป็นสตาร์ตอัพหรือ SME คงไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ความสนใจใคร่รู้ของผู้เข้าชมงาน เป็นภาพสะท้อนของสังคมไทยว่ากำลังขาดแคลนโมเดลใหม่ๆ ที่ทันสมัยและแข่งขันได้ในโลก แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่ามีคนที่เริ่มรู้สึกตัว และพยายามเข้ามาเรียนรู้หรือหาข้อมูลเรื่องนวัตกรรม/ความสร้างสรรค์ กันเยอะขนาดนี้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 0859
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง