สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: นครศรีธรรมราช ::: เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช :มหานครโบราณ :สมัยประวัติศาสตร์ "เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู"

by sator4u_team @19 มี.ค. 55 10:48 ( IP : 118...211 ) | Tags : ข้อมูลจังหวัด
photo  , 355x358 pixel , 45,255 bytes.

ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช : มหานครโบราณ :สมัยประวัติศาสตร์ "เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู"

นครศรีธรรมราช มาจากคำว่า นคร แห่งพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อเอาคำว่านคร +ศรี+ ธรรม+ราช ก็จะเป็นคำใหม่ว่า นครศรีธรรมราช คำนี้มีเค้ามาจากคำเรียกของแคล้นสุโขทัยที่เรียกยกย่องนครศรีธรรมราชว่าเป็น "นคร"ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ช่วงหนึ่ง ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช แห่งราชวงศ์ปทุมวงศ์ พระองค์ทรงสถาปนาเมืองหลวงแห่งใหม่ จากเดิมคือ กรุงตามพรลิงค์ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ ปกครองโดยราชวงศ์อื่น นับถือศาสนาพรามหณ์ อกกมาทางทิศเหนือ ชื่อว่า “นครศรีธรรมราชมหานคร” หรือ “กรุงศรีธรรมราชมหานคร” เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักนครศรีธรรมราช ที่ประกาศตนเป็นเจ้าแห่งคาบสมุทรมลายู อาณาเขตตั้งแต่อำเภอบางสะพาน ถึง สิงคโปร์

ประเภทการปกครองของศรีวิชัย

แคล้นพาลี้ (ศุกโฃทัย) เป็นเมืองบกในปกครองของราชอาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยาเหมือนกับเมืองอู่ทอง กาฬสินธุ์ อุบล และละโว้ (ลพบุรี) เมืองออกเมืองขึ้นที่อยู่บนบกจะขึ้นกับ "นายก" ซึ่งเป็นรองมหาราชศรีวิชัยอันดับที่ 1 ส่วนเมืองชายทะเลของศรีวิชัยจะขึ้นสังกัดกับรองมหาราชศรีวิชัยองค์ที่ 2เรียกชื่อตำแหน่งว่า "มหาอุปจักรพรรดิ์" จะใช้กองทัพม้าที่อยู่ในกองทัพเรือในการไปตรวจราชการและทำศึกสงครามปราบขบถ

ส่วนเมืองชั้นในจะขึ้นตรงกับมหาราชแห่งศรีวิชัย คำว่า ศรีวิชัยเป็นฉายาของอาณาจักร "ศรีโพธิ์" ที่ไชยา และอาณาบริเวณใกล้เคียงนับถือศาสนาพุทธมหายาน หรือฮินดู-พุทธ โดย  "ศรี" หมายถึงพราหมณ์ และ "โพธิ์"หมายถึงพระพุทธเจ้า อาณาจักรศรีโพธิ์ที่ไชยา จะมีอายุอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1202 -1759 หรือ พ.ศ.1200-1800

ต้นตอของ3 ศรีวิชัย

กษัตริย์องค์แรกของศรีโพธิ์ คือ หะนิมิตเป็นมหาราชมีฉายาเป็นเทพเจ้าว่า "พระอินทร์" ผู้สร้างธาตุไชยเมื่อ พ.ศ.1231 และสร้างพระแก้วมรกตเมื่อ พ.ศ.1233 มีโอรสองค์เอกชื่อเป็นเทพเจ้าว่าพระวิษณุที่ 1 มาปกครองเมืองพระเวียงนครศรีธรรมราชแล้วเลยไปปกครองศรีวิชัยที่ชวา (อินโดนีเซีย) ใน พ.ศ.1290 และเป็นผู้เริ่มต้นสร้างบรมพุทโธ ศาสนสถานแบบฮินดู-พุทธ มีโอรสองค์เอกชื่อเป็นเทพเจ้าว่าพระเจ้าวิษณุที่ 2 เข้ามายึดครองนครศรีธรรมราชใน พ.ศ.1310แล้วรวบรวมศรีโพธิ์ทั้ง 3 อาณาจักรเป็นหนึ่งเดียวเรียกว่า สัมโพธิ์แปลว่ารวมโพธิ์ราชา หรือโพธิ์ตรัสรู้ 3 แห่งเข้าด้วยกัน จึงเรียกว่าสัมฮุดชี แปลว่ารวมพระเจ้า 3องค์เข้าด้วยกัน (3แห่ง)

คำว่าศรีวิชัย ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญโบราณคีและประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้มาขุดค้นวัดเสมาชัยกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาประวัติศาสตร์ไทยเมื่อ พ.ศ.2461 ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 6 พบศิลาจารึกหลักที่ 23 ที่จารึกเมื่อ พ.ศ.1318 มีชื่อ "ศรีวิชัย"อยู่มากมาย ท่านเลยอนุมานเอาว่าอาณาจักรนี้น่าจะชื่อว่าศรีวิชัย พร้อมกับพระพุทธรูปยืนองค์หนึ่งที่แสดงอภินิหารมากมาย ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ใต้วิหารโพธิลังกา วัดพระธาตุ ส่วนพระมหากษัตริย์พระเจ้าวิษณุที่ 2 นิลาจารึกหลักนี้เรียกว่า "พระเจ้าศรีวิชเยนทรราชา"

เมือง 12 นักษัตร

หลักการปกครองของอินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอาณาจักรไอราวดี ในลุ่มน้ำสินธุเป็นต้นมามักจะมีเมืองบริวาร ทั้ง 10 หมายถึง 10 ทิศ คือทิศทั้ง 8 เมือง และเมืองบนสวรรค์และเมืองใต้ดิน หรือเมืองสวรรค์และเมืองบาดาลแต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ต้องมีเมืองที่ 9 และเมืองที่ 10 ให้ครบตามปรัชญา ความเชื่อเมือง 2 เมืองนี้จึงมักจะอยู่ในแนวเหนือใต้ของเมืองเอกมากที่สุด ในสมัยศรีวิชัยยุคแรกประมาณ พ.ศ.1200-1310 ก็มี เมืองนครทั้ง 10 เป็นเมืองบริวาร เมื่อพระเจ้าศรีวิชเยนทรราชยึดครองนครศรีธรรมราชแล้วจึงมีพระราชดำริสร้างเมืองบริวารขึ้นเองโดยสนับสนุนเมืองขึ้น ยกกองทัพไปปราบหรือดำเนินการด้านการฑูตหรือเมืองเหล่านั้นมาร่วมเป็นเครือข่ายจนได้เมืองบริวารถึง 5 เมืองและสามารถดึงนครทั้ง 10 ของศรีวิชัยลงมาร่วมด้วยเป็นนครทั้ง 15 ประมาณ พ.ศ.1325 พร้อมกับการเฉลิมฉลองพระธาตสร้างใหม่ทรงศรีวิชัย และมีการสมโภชพระธาตุด้วยการนำการเล่นเงาแบบฉายานาฏกะของพราหมณ์เข้ามาใช้จนเป็นต้นตอของการเล่นหนังตะลุงในยุคต่อมา ตั้งแต่พ.ศ.1440ศรีวิชัยที่ชวาอินโดนีเซียก็เริ่มเสื่อมอำนาจลงทำให้ศรีวิชัยที่นครศรีธรรมราชโดดเด่นยิ่งขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยทั้ง 3 ได้โดยไม่ยากนัก

ตกมาใน พ.ศ.1773 พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราชประกาศอิสรภาพ ดังศิลาจารึกหลักที่ 24 วัดเสมาเมืองยกกองทัพเรืออันเกรียงไกรข้ามมหาสมุทรอินเดียไปตีลังกาครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ.1790 ได้พระพุทธสิหิงค์มาโดยนางพญาเลือดขาว พระแม่เจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปรับแทนประมาณ พ.ศ.1791 พร้อมช้างพระที่นั่งเอกตัวแทนพระเจ้าจันทรภาณุ ต่อมา พ.ศ.1813 ทรงยกทัพเรือไปตีลังกาครั้งที่ 2 โดยหวังจะได้บาตรของพระพุทธเจ้า แต่ ชวากะ หรือศรีวิชัยที่ไชยากับพวกโจฬะอินเดียเป็นไส้ศึกจึงทรงแพ้ศึกครั้งนี้และสวรรคต ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์รูปทรงลังกาดังที่เห็นปัจจุบันในพ.ศ. 1790 และพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้มีเมืองบริวารเป็น "นครทั้ง 12Ž โดยใช้รหัสกลุ่มดาวเป็นรหัสเมืองออกเมืองขึ้นทั้ง 12 เมือง เรียกว่า เมือง 12 นักษัตร ศิลาจารึกสำคัญ 2 หลักนี้ห่างกันเพียง 455 ปี หรือ 50 ปีพอดี ปัจจุบันวัดเสมาชัยถูกยุบเข้าอยู่ในวัดเสมาเมือง ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีจึงเรียกศิลาจารึกทั้ง 2 ว่ามาจากวัดเสมาเมืองทั้ง 2 หลัก

ประวัติพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาจะเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาการประวัติศาสตร์ของนครศรีธรรมราชตลอดมา เริ่มจากพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งเมารียวงศ์แห่งอินเดียทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.215-255 และทรงสนพระทัยศาสนาพุทธ พ.ศ.234 จัดส่งธรรมฑูต จำนวน 9 คณะออกไป 9 เส้นทางโบราณ 1 ใน 9 คณะนั้น นำโดยพระโสภณเถระและพระอุตตระเถระมาถึงนครศรีธรรมราช พ.ศ. 245 แต่ผู้รู้บางท่านบอกว่า พ.ศ.275 ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะ พ.ศ.275 พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้วถึง 41 ปี หรือว่ามีคณะธรรมฑูตมา 2 ครั้ง

พ.ศ.293 เจ้าชายสุมิตรโอรสพระเจ้าอโศกซึ่งได้บวชเป็นพระภิกษุ ได้อัญเชิญต้นศรีมหาโพธิ์มาปลูกที่สุวรรณปุระ หรือไชยา การเดินเรือจากอ่าวเบงกอลออกอ่าวไทยในสมัยโบราณมีเส้นทางแม่น้ำลำคลอง 6 เส้นทางข้ามภาคใต้ ไม่ต้องไปอ้อมปลายแหลมมลายู หรือช่องแคบมะละกา

พ.ศ.300 ศาสนาพุทธจากนครศรีธรรมราชและชา ไป้เผยแผ่ไปถึงศรีสุรรณะต่อมาจึงมีชื่อใหม่ว่านครปฐม ดังนั้นนครปฐมจึงเป็นเมืองแรกของภาคกลางที่ศาสนาพุทธเผยแผ่มาถึงไม่ใช่แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อศาสนาพุทธประดิษฐานอย่างมั่นคงแล้วในลังกา เมืองสะเทิมในพม่าที่ชื่อว่าศิริธัมมนครก็ได้รับศาสนาพุทธตรงจากลังกาผ่านสะเทิมเข้าสู่อาณาจักรมอญ (พวกมุณฑ์จากอินเดีย) อาณาจักรยะไข่ อาณาจักรพุกามและเข้ามาสู่ อาณาจักรทวารวดีในภาคกลางของไทย อาณาจักรทวารวดีจะมีอายุอยู่ระหว่างพ.ศ. 1300-1700 ก่อนหน้านั้นเคยเจริญมาก่อนแล้วสมัยหนึ่งประมาณ พ.ศ.843-1200

พ.ศ.400 จะมีคนต่างเมืองอพยพเข้ามาสู่นครศรีธรรมราชมากมาย รวมทั้งพราหมณ์ยุคใหม่ ซึ่งก่อนหน้านนี้อพยพเข้ามาแล้วประมาณ 2,000 ปี ก่อนพุทธกาล ทำให้เกิดชุมชนเมืองมากมายตามริมฝั่งแม่น้ำ และภูเขาที่อุดมสมบูรณ์

พ.ศ.692 เมืองมลราชที่ลานสกาปรากฎตัวขึ้นในเอกสารโบราณที่นักประวัติศาสตร์ภาคกลางอ้างถึง ซึ่งแน่ละต้องนับถือทั้งศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธวบคู่กันส่วนศาสนาดั้งเดิมที่นับถืออิทธิฤทธิ์ของธรรมชาติก็ยังมีอยู่และสอดรับกันได้ดีกับศาสนาพราหมณ์ ที่ทำธรรมชาติเหล่านั้นให้เป็นตัวตนเทพเจ้า เช่น พระพิรุณเจ้าแห่งฝน พระอัคคี เทพแห่งไฟ พระอาทิตย์เทพแห่งแสงสว่าง เป็นต้น

พ.ศ.700 เกิดอาณาจักรพนมที่กระบี่กับสุราษฎร์ธานี พราหมณ์จากอินเดียได้อพยพเข้ามาตามแม่น้ำคลองแสง คลองสก คลองพุ่มดวง คลองสินปุน คลองสังข์ มาตั้งกรุงหยันที่ อ.ทุ่งใหญ่ และกรุงชิงที่ท่าศาลา รวมทั้งพราหมณ์โกณฑัญญะได้เดินทางจากอาณาจักรพนม (กระบี่+สุราษฎร์ธานี) ไปสร้างอาณาจักรฟูนันในเวียดนาม (พนม,ฟูนัน แปลว่า ภูเขา)

พ.ศ.854 นางเหมชาลาและทนตกุมารนำเสด็จพระบรมสารีริกธาตุ(กรามซ้ายบน)ของพระพุทธเจ้าหนีศัตรูมาฝังไว้ที่นี่ - เมืองนคร สร้างตึกดินครอบพระธาตุไว้โดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ลังกา พ.ศ.856 นับว่าเป็นการสร้างพระธาตุเจดีย์ครั้งที่ 1

พ.ศ.1061 พราหมณ์มาลีกับพราหมณ์มาลาจากอินเดียอพยพมาสู่เมืองนครตั้งเมืองเขาวังและขุดพระบรมสารีริกธาตุในการนี้กาอาคมที่ "ลงไว้"ให้รักษาพระธาตุออกมาจิกตีทหาร จนพราหมณ์มาลาหลอกล่อไปจึงสังหารด้วยธนู "ไชยศรศิลป์" ลงอาคมชั้นสูงของพระนารายณ์ "ลานต่อกา"(ลานสกา) ชาวบ้านเชื่อว่าศรนี้เปลี่ยนรูปเป็นหินปรากฎอยู่บนถ้ำแก้วสุรกานต์ ทางไปกิ่งอำเภอช้างกลาง กาอาคมทั้ง 4 ฝูงนี้มีชื่อเฉพาะตนว่า กาแก้ว กาเดิม กาชาด การาม ซึ่งเป้นชื่อต้นแบบของพระครูชั้นราชาคณะคอยป้องกันพระธาตุเจดีย์ทั้ง 4 ทิศในเวลาต่อมาปัจจุบันลดชั้นลงเหลือเพียง "พระครู" และขาดตำแหน่งไป ต่อมาตำแหน่งพระราชาคณะทั้ง 4 นี้ได้นำไปใช้กับพัทลุงและพระธาตุไชยา จนคนยุคหลังไปตีความใหม่ว่าเป็นชื่อคณะพระภิกษุสงฆ์มาจากลังกาต่างหากไม่ได้มาจาก "กาอาคมทั้ง 4 ฝูง" ไม่ ยิ่งกว่านั้นยังเชื่ออีกว่า พระราชาคณะทั้ง 4 ตำแหน่งเมืองนครเอามาจากพัทลุงและไชยาเพราะไปเชื่อว่าพัทลุงและไชยามีอายุเก่าก่อนกว่านครศรีธรรมราช แต่แท้จริงแล้วพระธาตุไชยาสร้างประมาณ พ.ศ. 1231 พระครูกาทั้ง 4 ของพัทลุงเริ่มใช้ในสมัยหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดซึ่งหลวงพ่อทวดเรียนหนังสือที่วัดเสมาเมือง เมืองนครไปอยู่วัดท่าแคอยุธยา และเสด็จกลับมาจากอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2158 ในสมัยพระเอกาทศรถ โปรดให้หลวงพ่อทวดเป็นสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ สมเด็จสังฆราชแห่งปักษ์ใต้ และโปรดให้มีกา 4 คณะ เห็นไหมว่าไชยาใช้ "กาทั้ง 4หลังเมืองนคร 133 ปี พัทลุงใช้ "กาทั้ง 4Žหลังเมืองนคร 1060 ปี สุโขทัยใช้หลังเมืองนคร 712 ปี การสร้างพระธาตุเจดีย์ ทรงตึกเหลี่ยมใหญ่ สูงสง่ากว่าแข็งแรงกว่าเดิมในพ.ศ.1098 นี้ นับว่าเป็นการสร้างพระธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่ เป็นครั้งที่ 2 และในปีเดียวกัน คณะพระภิกษุสงฆ์จากลังกาลัทธิวิหารประมาณ 700 องค์เศษได้เข้ามสร้างัดในศาสนาพุทธอีกวัดหนึ่งคือวัดท่าเรือ  พ.ศ.1111 พระภิกษุสงฆ์อีกคณะหนึ่งจากลังกาประมาณ 300 องค์เศษเข้ามาสู่เมืองนครทำการสร้างวัดท้าวโคตรครั้งแรกในปีนี้ และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เรื่อยมา  พ.ศ.1191 นครโฮลิง ที่จีนเรียก ซึ่งแปลว่า "ไข่แดง"โดยภาพรวมคือนครศรีธรรมราช แต่ในความเป็นจริงอาจจะเป็นเมืองมลราชที่ลานสกาก็ได้ ได้ส่งฑูตไปจีนครั้งแรกและหลายครั้งต่อมาทำให้จีนทราบว่า นครศรีธรรมราชเป็นเมืองศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ศาสนาพุทธลัทธิหินยานและศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายรวมกันเจริญรุ่งเรืองควบคู่กันมาโดยมีการค้าขายทางเรือกับนานาชาติที่เมืองท่าเรือและแม่น้ำทุกสายในภาคใต้ พระภิกษุจีนจึงมักแวะผ่านนครศรีธรรมราชก่อนเดินทางไปไชยา ชา ลังกา และอินเดียทางเรือด้วยลมมรสุมอยู่เสมอ  พ.ศ.1193 เจ้าชายโมคคัลลานะหนีราชภัยมาจากลังกา สร้างเมืองโมคลานที่ท่าศาลาโดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ตามพรลิงค์ โมคลานเป็นเมืองศูนย์กลางตรงเส้นทางการค้าระหว่างอาณาจักรฟูนันในเวียตนามกับลังกา  พ.ศ.1202 กำเนิดอาณาจักรศรีโพธิ์ โดยพระเจ้าหะนิมิตโอรสอาณาจักรอู่งตั้งตนเป็นมหาราช ฉายาชื่อ "พระอินทร์" โอรสมีฉายาว่า พระเจ้าวิษณุที่ 1 ผู้กครองชวา (อินโดนีเซีย) ดังกล่าวมาแล้ว  พ.ศ.1295 ตั้งชุมชมพราหมณ์เขาคา อ.สิชล  พ.ศ.1310 พระเจ้าวิษณุที่ 2 โอรสวิษณุที่ 1ยกกองเรือมายึดครองนครศรีธรรมราช ก่อนลังกาและไชยาจะเข้ายึดครองตั้งวัดเสมาชัยสร้างวัดคูหาภิมุขยะลา พ.ศ.1318 ทำศิลาจารึกหลักที่ 23 และสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ในปี
พ.ศ.1318 ปัจุบันพระพทุธรุปองค์นี้อยู่ที่วิหารโพธิลังกา หลังการขุดพบใหม่ๆ เมื่อ พ..2461 ถูกล่ามโซ่ เพราะกลางคืนพระองค์เสด็จออกเที่ยวไปในหมู่บ้าน ในปี พ.ศ.2460 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จสมโภชพระธาตุโปรดเกล้าฯให้ถอดโซ่ออกและถวายความเห็นพระคุณเจ้า ชาวบ้านจึงไม่มีโอกาสเห็นพระพุทธรูปในร่างมนุษย์ออกมาเพ่นพ่านอีกเลย (บริเวณด้านหลังองค์พระมีรอยของมีคมบาด-ชาลี)  พ.ศ.1319 สร้างวัดถ้ำทองพรรณรา อ.พรรณรา  พ.ศ.1320 สร้างเจดีย์ศรีวิชัยที่วัดเขาหลัก อ.ทุ่งใหญ่ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช (ต้นราชสกุลยุคล) เสด็จไปนมัสการเมื่อปี พ.ศ.2459 แล้วทำศิลาจารึกไว้ที่วัดพระธาตุในปีเดียวกัน  พ.ศ.1325 สร้างเจดีย์ทรงศรีวิชัย ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ เจดีย์ทรงศรีวิชัยองค์นี้จึงนับเป็นพระธาตุเจดีย์องค์ที่ 3 เจดีย์ทรงศรีวิชัยในวัดพระธาตุจะมีทั้งมด 5 องค์หลังจากการชำรุดทรุดโทรมเพราะกาลเวลาจากการปฏิสังขรณ์ ปัจจุบันก็เหลือองค์หนึ่งหน้าประตูทางเข้า  พ.ศ.1344 สร้างพระธาตุศรีศากยะมุนีศรีธรรมราช องค์พระประธานในพระวิหารหลวง ซึ่งกรมศิลปากรยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูป-พระพุทธราชาที่มีลักษณะงดงามมากที่สุดในปักษ์ใต้เป็นที่น่าสงสัยว่าชื่อนี้น่าจะเป็นชื่อใหม่ ส่วนชื่อเก่าเมื่อ พ.ศ.1344 คงไม่ใช่ชื่อนี้เพราะดูจากลักษณะบ่งบอกว่า ผู้สร้างต้องการให้เป็นทั้ง "พุทธราชา"และ "เทวราชา"ในองค์เดียวกัน พระพุทธรูปองค์นี้จึงน่าจะชื่อว่า "พระศรีวิชเยนทรมุนีศรีธรรมาโศกราช" 1 ปีต่อมาคือ พ.ศง1345ก็สร้างวิหารหลวงทรงเรือสำเภาตามปรัชญาความเชื่อของพุทธนิพพานและพระโพธิสัตว์ ผู้ช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ก่อนพระองค์เอง และบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายครั้ง  พ.ศ.1444 นครศรีธรรมราช เป็น The call center of Sri Wichai คือเป็นศูนย์กลางของศรีวิชัยที่ไชยา และศรีวิชัยที่ชวา โดยนครศรีธรรมราชขณะนั้นจะมีเมืองออกเมืองขึ้นเป็นเมืองสำคัญทางการค้าถึง 15 เมือง และในสมัยนี้ก็น่าจะสร้างปราสาทอิฐ 3 หลัง ตามคติความเชื่อของลัทธิพุทธมหายาน 1 ใน 3 นั้น ผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะเป็น "องค์อิฐ" ที่หน้าโรงเรียนวัดท้าวโคตรในปัจจุบัน องค์อื่นน่าจะถูกรื้อลงมาทำถนนราชดำเนินในสมัยรัชกาลที่ 5 เหมือนกำแพงเมือง เพราะขณะนั้นไม่มีอิฐทำถนน และอย่าให้โจรผู้ร้ายเข้าไปส้องสุม กำลังในเมือง หรือมีนัยยะอย่างอื่นอีก

ยุคแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์

ไม่ว่าคำนี้จะมีความเป้นมาพื้นฐานอย่างไร แต่พอมาถึงช่วงนี้ทุกฝ่ายกลับเชื่อว่าตามพรลิงค์แปลว่า ลึงค์ทองแดง หรืออวัยวะเพศชายของพระศิวะทำด้วยทองแดง ซึ่งเป็นปรัชญาความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวะนิกาย แต่จนปัจจุบันนี้ก็ยังไม่พบลึงค์ทำด้วยทองแดง แม้แต่ศิวลึงค์ที่ถนนมังคุดหอนาฬิกา ข้างวัดสวนป่านซึ่งดูจะเป็นหลักเมืองนครหรือเป็นลึงค์พระศิวะประจำรัชกาลพระเจ้าวิษณุที่ 2 ที่ข้ายึดครองเมืองนครเมื่อ พ.ศ.1310 หากเหตุผลนี้เป็นจริงศิวลึงค์นี้น่าจะชื่อว่า "ศรีวิชเยศวร" หรือ "ตามพรลิงเคศวร"แต่พระเจ้าอู่ ที่เสด็จากจากจีนผ่านปัตตานี นครศรีธรรมราชแล้วแวะเพชรบุรีกลับบบอกว่า "พระองค์ได้ขุดพบเทวรูปเคารพขนาดใหญ่ทำด้วยทองแดงที่เพชรบุรีจึงรู้ว่าราษฎรบริเวณนั้นนับถืออะไรกัน" ประเด็นนี้น่าคิด หรือลึงค์ทำด้วยทองแดงไปตกอยู่ที่นั่น ทำไม ใครพาไป และไม่ได้บอกว่าพบแล้วหายไปไหนจนพระองค์เสด็จกลับไปกรุงอโยธยา เรื่องนี้ต้องตามไปดูอย่ากะพริบตา เช่นกัน คอยติดตามตอนต่อไป นักประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ เชื่อกันว่ายุคตามพรลิงค์เริ่มเมื่อ พ..1573-1873

ความยิ่งใหญ่ของศรีวิชัย- นครศรีธรรมราช

พ.ศ.1514 พระเจ้าสุชิตราช จากนครศรีธรรมราชยกกองทัพพล 17 หมื่นไปตีละโว้ (ลพบุรี - แม่เป็นเจ้าหญิงละโว้ -ชาลี) ในขณะที่กษัตริย์ละโว้ออกไปทำศึกนอกเมืองกับกษัตริย์ลำพูรซึ่งทั้งกษัตริย์ลำพูนและละโว้ต่างก็เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับพระนางจามเทวีพระแม่เจ้าอยู่หัวแห่งหริภุญไชยลำพูนเมื่อ พ.ศ.1223 และพระนางจามเทวีกผเป็นเจ้าหญิงจากศรีวิชัยที่ไชยาพระเจ้าสุชิตราชให้โอรสองค์ใหญ่ไปปกครอง "เมืองราม" แล้วเจริญเติบโตเป็นแคว้นอโยธยา ให้โอรสองค์ที่ 2 ไปครองแคว้นศรีจนาศะ(พิมาย) ในนนามพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ส่วนพระเจ้าสุชิตราชเองครองละโว้ในนาม "พระยาปานะโกศลกัมโพชราช" จากเหตุการณ์นี้แสดงว่า

  1. พระองค์เป็นกษัตริย์องค์รองของนครศรีธรรมราชไม่ใช่กษัตริย์องค์เอกเพราะไปแล้วไปเลยไปตั้งครอบครัวเอาดาบหน้า

  2. พระองค์มีเครือญาติที่มีอิทธิพลไม่น้อยแถวอาณาจักรศรีจนาศะ และอาณาจักละโว้ รวมทั้งอาณาจักรอโยธยา การเข้าไปครองภาคกลางตามรอยศรีวิชัย-ไชยาจึงไม่ใช่เรื่องยาก

  3. พระองค์มีเชื้อสายกษัตริย์ขอมทางฝ่ายมารดา ฉะนั้นพระบิดาต้องเป็นกษัตริย์องค์เอกของนครศรีธรรมราชขณะนั้น - ใคร ซึ่งคงจะทรงกฤษดานุภาพไม่น้อยทั้งด้านการเมืองการปกครองจนสามารถส่งกองทัพ 17 หมื่นให้พระจ้าสุชิตราชไปตีละโว้ได้ทางทะเล

พ.ศ.1535 สร้างวัดเสมาเมืองลงข้างวัดเสมาชัยที่มีอายุห่างกัน 225 ปี และในปีเดียวกันนี้กษัตริย์เมืองนครก็ได้สร้างวัดเสมาทอง (วัดมเหยงคณ์) ให้เป้นวัดรองของวัดเสมาเมือง  พ.ศ.1560 ท้าวโคตรคิรีเศรษฐีมอญและน้องชายอพยพทางเรือเข้าเมืองนครมาตั้งรกรากและมีสัมพันธ์กับกษัตริย์เมืองนครทำให้คำว่า "ศิริธัมมนคร" ของเมืองสะเทิมมาเป็นฉายาของนครศรีธรรมราชด้วย ดังนั้นคำว่า "ศรีธัมมราช"ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงอาจจะเป็นสะเทิมในพม่าก็ได้เพราะ "จรดฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว"เหมือนกัน ข้อนี้น่าคิดสองสามตลบ วัฒนธรรมศาสนาแบบมอญจึงปรากฎขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราช นักประวัติศาสตร์กรุงเทพฯจึงเข้าใจว่า อาณาจักรทวาราวดีของมอญได้เผยแผ่เข้ามาปักษ์ใต้ ที่จริงเป็นการไหลเททางวัฒนธรรมในระดับปกติของทวาราวดีที่ติดตัวมากับมอญเท่านั้น  พ.ศ.1564 มอญสร้างวัดเสมาเงิน และเจดีย์ยักษ์ (วัดพระเงินข้างเทศบาลนคร)  พ.ศ.1568 พระเจ้าราเชนทร์โจฬะที่ 1 อินเดียใต้ยกกองทัพมาตีศรีวิชัย นครศรีธรรมราช ครอบครองได้ไม่นานก็ถอยกลับไปเพราะศรีวิชัยไชยา และศรีวิชัยศรีธรรมราชกำลังรวบรวมกองทัพเรือนอกอาณาจักรเข้ามาตีกลับ พ.ศ.1580 กรมการเมืองนครถวายเจ้าหญิงจันทวดี พระธิดาอดีตกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ไปเป็นมเหสีของพระเจ้าอู่ทองแห่งแคว้นอโยธยามีพระโอรสองค์หนึ่งไปครองเมืองธานยปุระ (เมืองอู่ข้าว) หรือนครสวรรค์สืบเชื้อสาย "ศรีธรรมาโศก"ฝ่ายแม่ ส่วนน้องชายเจ้าชายสุวรรณคูตา พระเจ้าอู่ทองสนับสนุนให้เป็นกษัตริย์เมืองนครในนามพระเจ้าสุวรรณคูตาศรีธรรมาโศกราชในปีเดียวกันนี้"ศุกโขไฑ" ก็มีกษัตริย์ที่เข้มแข็ง มีอำนาจขึ้น พระเจ้าสุวรรณคูตาทรงบูรณะวัดเสมาทอง (มเหยงคณ์) ให้เป็นวัดมีเสนาสนะเพียบพร้อมเพื่อเป็นวัดรองจากวัดท่าช้างที่เป็นวัดสมเด็จสังฆราช "เจ้าโพธิกุมาร" หลานตาของพระเจ้าสุวรรณคูตา วัดท่าช้างนี้จึงน่าจะเป็นวัดท่าช้างที่บ้านมะม่วงสองต้น ไม่ใช่วัดท่าช้างที่ตลาดแขกที่กรมศิลปากรยกที่ดินให้แขกไทรบุรีสร้างมัสยิดซอลาฮุดดินทับไว้ และในปี พ.ศ.1580 นี้สุโขทัยก็มีผู้ปกครองที่เข้มแข็งกำลังสร้างแว่นแคว้นของตนเองตามการจดบันทึกของพงศาวดารเหนือ  พ.ศ.1610 นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์รวมของศรีวิชัยทั้ง 3 ทั้งไชยา และชวาผู้สำเร็จราชการเมืองนครไปสร้างห้องเก็บพระบรมราชโองการให้พระเจ้ากรุงจีน สร้างหอสมุดหลวง สร้างโบสถ์ใหญ่ที่กวางตุ้ง ซื้อที่นา 400,000 ตำลึง ถวายวัดนี้ พระเจ้ากรุงจีนพใจมากตั้งให้เป็นจอมพลผู้ปกป้องความเชื่อและการก่อสร้าง โปรดให้เข้าเฝ้าได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องมีขุนนางเบิกตัวเข้าเฝ้า เป็นที่น่าสงสัยว่าในขณะนั้นนครศรีธรรมราชว่างกษัตริย์หรือถึงมีผู้สำเร็จราชการหรือมีกษัตริย์ผู้เยาว์ผู้สำเร็จราชการต้องการเป็นกษัตริย์ จึงไปทำพอได้กับจีนขอการรับรองจากจีน?  พ.ศ.1623 ศุกโขไฑ"เริ่มมีบทบาทอำนาจทางการเมืองการปกครองในกลุ่มภาคเหนือ โดยมีขอมเข้ามา "แจม"ด้วยและพงศาวดารเขมรยืนยันว่าสุโขทัยตั้งเมืองในปีนี้  พ.ศ.1645 พระภัทรสถวีระภิกขุแห่งไชยา แต่งตำนานศรีวิชัยโบราณบอกถึงความเกี่ยวเนื่องในเชิงลึกของไชยา-นครศรีธรรมราช-ชวา และลังกา เพราะ 4 เมืองนี้คือขั้วอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยตัวจริงตลอดมา พ.ศ.1710 ศรีวชัยที่ไชยาได้ไปทำการสังคายนาศาสนาพทุธให้บริสุทธิ์ที่ลังกาแล้วช่วยกันเผยแผ่ไปสู่ไชยา - นครศรีธรรมราช ชวา ละโว้ ศรีสุวรรณะ(นครปฐม) อโยธยา หริภุญไชย และธานนยปุระ(นครสวรรค์)  พ.ศ.1722 ท้าวพิไชยเทพเชียงแสน พระบิดาท้าวอู่ทอง (องค์หนึ่ง) แห่งอโยธยา (ศรีรามเทพนคร) ได้อาสายกกองมาปราบศรีวิชัยนครศรีธรรมราชที่บังอาจปลูกต้นมหาโพธิ์แสดงความเป็น "โพธิราชา"เพื่อดึงเมืองออกเมืองขึ้นเข้ามาสู่ร่มโพธิสมภารพร้อมกับริเริ่มการก่อสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่อันเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศอิสรภาพแสดงว่า แคว้นอโยธยากำลังเจริญรุ่งเรืองเป็นผู้นำทางด้านการเมืองการปกครอง และไม่อยากให้นครศรีธรรมราชขึ้นมาตีเสมอแม้ว่าจะโด่งดังในนามศูนย์กลางของศรีวิชัยมาก่อนนี้ไม่นาน และเป็นเพราะกำลังเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ด้วยกษัตริย์องค์ก่อนเพิ่งสวรรคตก็ตาม  พ.ศ.1723 นางพญาเลือดขาว พระแม่เจ้าอยู่หัวและพระยากุมารแห่งอาณาจักรสะทิงพระ เสด็จมาเยี่ยมนครศรีธรรมราช "สะทิงพระ" เป็น 1 ใน 10 นครของศรีวิชัยจากหลักฐานของนักประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ จากการสัมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (ขณะเป็นวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) ยืนยันว่านางพญาเลือดขาวเสด็จนครศรีธรรมราช ครั้งแรกในปีพ.ศ. 1723 แต่ผู้ว่าราชการเมืองพัทลุงในขณะนั้น(สมัย ร.5) พิณ จันทโรจน์วงศ์ ผู้เขียนประวัตินางพญาเลือดขาวบอกว่า พระนางครองราชย์ที่เมืองสะทิงพระประมาณ พ.ศ.1482 บางตำนานบอกว่า ปี พ.ศ. 1482 พระนางเพิ่ง ไปเรียนวิชาการจากสำนักเขาอ้อ(ควนขนุน) พัทลุงพร้อมกับเจ้ากุมาร ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้นไม่เชื่อบอกว่า "แก่ไป"ยิ่งกว่านั้นจากการสัมนาเชื่อว่านางพญาเลือดขาวเสด็จสุโขทัย พร้อมพระร่วงอรุณโรจนราชในปี พ.ศ.1799 ที่พระร่วงเสด็จมานครศรีธรรมราช จากปี พ..1482 ถึง พ.ศ.1799 เป็นเวลา 317 ปี ไม่น่าที่พระนางจะมีพระชนมายุมากขนาดนั้น ในความเป็นไปได้จึงน่าจะมี "นางพญาเลือดขาว 2 องค์" ต่างยุคต่างสมัยกัน แต่เป็นเชื้อสายเดียวกัน และความคิดความอ่านเหมือนกันและต่างก็เป็นพระแม่เจ้าอยู่หัวของอาณาจักรสะทิงพระ นางพญาเลือดขาวองค์ที่ 2 ดูน่าจะเป็นเหลนองค์ที่ 1 มากกว่าจะเป็นหลานหรือลูกวิธีการหาก็ไม่ยากโดยไป "แกะ"ชื่อกษัตริย์ ของอาณาจักรนี้ดูเหตุการณ์แต่ละช่วงจะคลายตัวออกมาเอง จากการที่พระนางไปเรียนไสยเวทชั้นสูงจากพราหมณ์ และศาสนาพุทธลัทธิมหายาน จากสำนักเขาอ้อ จึงเป็นและหนุนส่งให้พระนางเป็น "อรหันต์ฆราวาส" ได้โดยไม่ยากนัก สาเหตุที่พระนางเกี่ยวกับเมืองนคร เพราะเมืองสะทิงพระเป็น1 ใน 10 ของเมืองขึ้นของศรีวิชัยเหมือนกับสิงหนคร สงขลา เมืองกระ ตะกั่วป่า ปกาไสย และกันตัง เป็นต้น เรื่องนี้ต้องวิเคราะห์วิจัยในเชิงลึกอีกที

อิทธพลของขอม อิทธิพลของมอญ-ทวารวดี ด้านวัฒนธรรมในนครศรีธรรมราชยังไม่ทันจางหาย พระเจ้าไชยวรมันที่ 7 (1742-1762 )แห่งอาณาจักรขอมรู้สึกหวั่นไหวต่ออำนาจของแคว้นอโยธยาของพระเจ้าอู่ทองในลุ่มน้ำเจ้าพระยาภาคกลางที่เข้ามาข่มขู่เอากับอาณาจักรรีวิชัยที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนและเกี่ยวพันเป็นพระญาติกับพระองค์และด้วยการเห็นด้วยของพ่อขุนผาเมืองราชบุตรเขย จึงตัดสินพระทัยส่ง กมรเต็งอัญศรีชคตไตรโลกยราช เจ้าเมืองละโว้ซึ่งน่าจะเป็นเชื้อสายของพระเจ้าสุชิตราชจากเมืองนครมาปกครองศรีวิชัยที่ไชยาในพระนามใหม่ว่า "พระเจ้าไตรโลกยราช" ซึ่งชื่อนี้จะเป็นต้นแบบชื่อของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระเจ้าเจ้าไตรโลกยราชมาปกครองศรีวิชัยในปี พ.ศ. 1740 และดึงศรีวชัยนครศรีธรรมราชและศรีวิชัยชวาเข้ามาเป้นบริวารรวมทั้งเมืองบริวารทั้ง 12 เมือง ทำให้ไชยาเป็นศูนย์กลางของศรีวิชัยอีกครั้งหนึ่ง  พ.ศ.1758 เจ้าชายมาฆะโอรสพระเจ้าไตรโลกยราชได้ไปช่วยกษัตริย์ลังกาทำสงครามจนชนะได้รับบำเหน็จให้เป็นกษัตริย์ครองเมืองโปโลนนรุวะทำให้ศิลปการก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาแบบไชยา-ลังกา-นครศรีธรรมราช-สุโขทัย-อยุธยา เป็นรูปแบบเดียวกันและสืบทอดตกถึงกันในเวลาต่อมารวมทั้งเมืองบริวารทังหลายของเมืองเหล่านี้  พ.ศ.1760 พระเจ้าไตรโลกยราชส่งเจ้าชายจันทรภาณุที่ 1 โอรสเจ้าชายมาฆะมาปกครองศรีวิชัย-นครศรีธรรมราช ขึ้นกับไชยา  พ.ศ.1768 เฉาจูกัว นักจดหมายเหตุจีน จดบันทึกททวนเมืองเอก 15 หัวเมือง ของศรีวิชัยเสียใหม่เพื่อการติดต่อทางการค้า ซึ่ง 15 เมืองมีชื่อเป็นภาษาจีนดังนี้

  1. ปอง-ฟง

  2. ตอง-ยา-นอง

  3. หวั่ง-ยะ-สิ-เกี๋ย (ยะรัง ปัตตานี)

  4. กิลันตัน(กลันตัน)

  5. โฟ-โล-อัน(พัทลุง)

  6. จิ-โล-ทิง

  7. เสียนไหม(กระบี่)

  8. พะ-ท่า

  9. ตัน-มา-ลิง(นครศรีธรรมราช)

  10. เกีย -โล -หิ (ครหิที่ 1 เมืองกระ ครหิที่ 2 ไชยา)

  11. ปา-ติง-ฟอง

  12. ชินโต(สุมาตราใต้)

  13. เคียน-ปี่

  14. ลัง-วู-ลิ (สุมาตราเหนือ)

  15. ซิ-หลาน(ลังกา อังกฤษจึงเรียก Ceylon)

พ.ศ.1769 โจฬะเขมรที่เป็นเชื้อสายของโจฬะราเชนทร์ที่1 แห่งอินเดียใต้ เข้ายึดครองกรุงละโว้ พระเจ้าไตรโลกยราช โปรดให้ส่งเจ้าชายพระยาร่วง โอรสมเหสีรอง(แม่เป็นละโว้) ไปปราบโจฬะเขมรที่ละโว้แล้วปกครองละโว้ต่อมา พระยาร่วงองค์นี้น่าจะเป็นพระร่วงส่วยน้ำที่สั่งให้น้ำอยู่ในชะลอมส่งไปขอมแสดงว่าว่าทั้งนครศรีธรรมราชและละโว้ต่างก็สงส่วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปให้กษัตริย์ขอมอาบทุกปี แสดงว่า(อีกครั้ง) กษัตริย์ขอมเป็นเชื้อสายศรีวิชัยแน่นอนมาตั้งแต่โกณทัญญะแห่งฟูนันจากอาณาจักรพนม พระเจ้าไชยวรมันที่7 จาก .......? หรือสืบเชื้อสายจากพระเจ้าสุรยวรมันที่ 1 แห่งพิมาย ประเด็นนี้น่าสนใจเพราะพระองค์ทำถนนย้อนกลับเข้ามาสู่เมืองขึ้นขอมมากมายในอีสานและภาคกลาง เช่น บุรีรัมย์ พิมาย ลพบุรี ฯลฯ เมื่อกษัตริย์ขอมสมัยหลังพระเจ้าไชยวรมันที่ 7 ส่ง"ขอมดำดิน"มา "เก็บ"พระยาร่วง ๆ จึงเสด็จหนีไปบวชที่กรุงสุโขทัย เพราะสุโขทัย(แคว้นพาลี้) เคยอยู่อาณัติของศรีวิชัย ที่ไชยาและละโว้มาก่อน  พ.ศ.1770 พระเจ้าไตรโลกยราชที่ศรีวิชัย - ไชยา สวรรคตพระเจ้าจันทรภาณุจากนครศรีธรรมราชกลับไปครองไชยา แล้วให้น้องชาย "พงษาสุระ" มาปกครองนครศรีธรรมราชในพระนาม พระเจ้าจันทรภาณุที่ 2  พ.ศ.1773 พระเจ้าจันทรภาณุที่ 2 นครศรีธรรมราชประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับศรีวิชัย-ไชยา และไม่ขึ้นกับขอมเพราะพระเจ้าไชยวรมันที่ 7 ผู้อยู่เบื้องหลังกษัตริย์ไชยาได้สวรรคตแล้วและไม่ต้องส่งส่วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 บ่อในเมืองนครไปให้ขอมอีกดังจารึกหลักที่ 24 วัดเสมาเมืองที่จารึกไว้ในปีนี้ทำให้อำนาจขอมหมดไปจากอาณาจักรศรีวิชัยไปด้วยในตัว ตั้งแต่ปีนี้ตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราชมีเมือง 12 นักษัตรเข้ามาเป็นเมืองบริวาร  พ.ศ.1790 พระเจ้าจันทรภาณุ ผู้ประกาศอิสรภาพ ได้ก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ทรงลังกาครอบทรงศรีวิชัยไว้ภายในนับว่าเป็นการสร้างพระธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่สุดเป็นครั้งที่ 4 จอมทัพเรือผู้เกรียงไกร  ในปี พ.ศ.1739 พระเจ้ามาฆะพระบิดาของพระเจ้าจันทรภาณุแห่งไชยาและพระเจ้าจันทรภาณุนครศรีธรรมราชทรงชราภาพมากแล้วถูกข้าศึกมาย่ำยี จึงตกลงกันว่าให้นครศรีธรรมราชยกกองทัพเรือไปช่วยโดยการสนับสนุนของศรีวิชัยไชยาในครั้งนี้กษัตริย์ลังกาสัญญาจะให้พระพทุธสิงหิงค์ พระพุทธรูปโบราณแก่พระเจ้าจันทรภาณุและในการศึกครั้งนี้น่าที่จะพระยาร่วงจะเสด็จออกทางเมืองสะเทิมยกกองทัพเรือไปร่วมรบ เพราะทรงรู้จักลักษณะนิสัยของโจฬะในอินเดียเป็นอย่างดีการขอพระพุทธสิหิงค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไปไว้สุโขทัยไปเป็นเครื่องมือในการตั้งอาณาจักรเพื่อความเป็น "พุทธราชา" ก็น่าจะเกิดขึ้นในเวลานี้ แต่นครศรีธรรมราชคงต้องการเอามาเฉลิมฉลองคู่กับพระธาตุเจดีย์ก่อนและไม่ใช่สุโขทัย "สั่ง"นครศรีธรรมราชดังที่นักประวัติศาสตร์ภาคกลางเข้าใจ  พ.ศ.1798 พระเจ้ามาฆะทรงชราภาพมากแล้วเลยเสด็จกลับศรีวิชัย-ไชยา และได้อุปสมบทจนสวรรคตที่ไชยา ส่วนพระพุทธสิงหิงค์ นางพญาเลือดขาวนำมาไว้ที่นครศรีธรรมราช และในปีนี้พระเจ้าจันทรภาณุก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าสามจอมจากกัมพูชา(ขอม) นางพญาจัณฑี (จันดี) จากเมืองขวาง เมืองสระ (อาณาจักรเวียงสระ) และนางพญาเลือดขาว จากอาณาจักรสะทิงพระที่อาณาจักรของตนล่มไปช่วยกนสร้างวัดควนสูงที่อำเภอฉวางโดยฝังทองคำแท่ง 150 สำเภา เรือไว้ที่นั่น เจ้าสามจอมได้สร้างวิหารสามจอมไว้บูชาพระธาตุต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวิหารศรีธรรมาโศกราช นางพญาจัณฑีได้สร้างพระยายแอดหรือสร้างพระกัจจายานะ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่แม่นา

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1266
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง