สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ไตรโคเดอร์ม่า เชื้อรามหัศจรรย์ ผู้พิทักษ์พืชผักผลไม้ตัวจริง !!!

เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค




 คำอธิบายภาพ : IMG_20150319_072447


ไตรโคเดอร์ม่า เป็นเชื้อราปฎิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อรา ไฟท๊อปธอร่า เชื้อสเคลอโรเทียม พิเทียม ไรซ็อคโทเนีย และฟิวซาเรียม ที่เป็นสาเหตุท าให้เกิดโรครากเน่า-โคนเน่า โรคเน่าคอดิน และโรคเหี่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าจะเข้าท าลาย เส้นใยเชื้อราไฟท๊อปธอร่าด้วยการพันรัดหรือแทงเข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อราไฟท๊อปธอร่า ทำให้เส้นใยเชื้อราไฟท๊อปธอร่าเหี่ยวแฟบแล้ว สลายตัวไปในที่สุด หรือเพื่อการมีชีวิตของเชื้อโรคพืช กลไกการควบคุมโรคของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มีกลไกการควบคุมเชื้อโรคพืช โดย

1.) เป็นปาราสิตและแข่งขันการใช้แหล่งอาหารและปัจจัยต่าง ๆ ของเชื้อโรคพืช

2.) เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พันรัดรอบเส้นใยของเชื้อโรคและอาจแทงเข้าสู่เส้นใยของเชื้อโรคพืช เส้นใยเชื้อโรคพืชที่ถูกพันรัดจะเกิดช่องว่างหรือเหี่ยวแฟบแล้วสลายตัวไปในที่สุด

3.) เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าบางชนิดผลิตเอนไซม์ ทำให้เกิดการเหี่ยวสลายของเส้นใยเชื้อโรคพืช


ชนิดของพืชที่เหมาะสำหรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคพืช โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคได้แบ่งออกเป็น


1.) ไม้ผล
โรคไม้ผลที่เกิดจากเชื้อรา ไฟท็อปธอร่า เกิดอาหารโรครากเน่า โคนเน่า ในทุเรียนและส้ม ควบคุมโรคได้โดยใช้เชื้อราไตรโค เดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรองก้นหลุมก่อนปลูกหรือโรยรอบโคนต้นตามรัศมีทรงพุ่มไม้ผล

2.) พืชไร่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ยาสูบ หม่อน มันส าปะหลัง ฝ้าย ที่เกิดอาการโรคยอดเน่าของต้นกล้า โรครากเน่า - โคนเน่า โรคโคนและต้นเน่า โรคเน่าคอดิน ควบคุมโรคโดยการโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรอบโคนต้นพืช หรือคลุกเมล็ดในพืชบางชนิด เช่น ฝ้ายก่อนน าไปปลูก

3.)พืชผัก - พืชสวน
มะเขือเทศ พริก มะเขือเปราะ แตง กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว หอมใญ่ เกิดอาการ โรคราเมล็ดผักกาด โรคเหี่ยว รากเน่า - โคนเน่า เน่าคอดิน ควบคุมโรคโดยการโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรอบโคนต้นหรือคลุกเมล็ดก่อนปลูก 4. ไม้ดอกไม้ประดับ มะลิ ซ่อนกลิ่น โป๊ยเซียน เยอบีร่า กล้วยไม้พันธุ์ Mokara เกิดอาการโรคเหี่ยว ควบคุมโดยโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมโรยรอบโคนต้น


ิวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า


1.) นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างผสมกับรำและปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกตาม อัตราส่วนดังนี้ เชื้อรา 1 กก. + ร า 4 กก. + ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 100 กก. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน นำไปหว่านในแปลงหรือรองก้นหลุม


2.) นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่าง 1 กิโลกรัมผสมกับน้ า 200 ลิตร ฉีดพ่นรอบ ๆ ทรงพุ่ม และโคนต้น การควบคุมโรคข้าวด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า การควบคุมโรคข้าวควรเริ่มต้นจากการปลูกข้าวด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง การแช่เมล็ดข้าวเปลือกในน้ำ 1 คืน ก่อนนำไปแช่ในน้ำชื้อสดของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ได้จากการใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัม (หรือเชื้อชนิดน้ า 1 ลิตร) ผสมน้ า 100 ลิตร ยกถุงเมล็ดพันธุ์ข้าวให้สะเด็ดน้ าเชื้อก่อนน าไปบ่มในสภาพชื้น (หุ้มข้าว) เพื่อให้เมล็ดงอก วิธีนี้จะช่วยให้ได้กล้าข้าวที่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อนำไปหว่านในข้าว เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยปกป้องรากข้าวจากการเข้าท าลายของเชื้อรา และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้าข้าวได้ด้วย ในระยะข้าวเริ่มแตกกอ การปล่อยเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปตามน้ าที่สูบเข้านา เป็นวิธีที่สะดวกอัตราของเชื้อที่ใช้คือ 2 กิโลกรัมต่อไร่ (หรือเชื้อชนิดน้ำ 2 ลิตร) จำนวน 1 – 2 ครั้ง โดยนำเชื้อสดผสมน้ำในถังแล้วกวนให้เชื้อหลุดจากเมล็ดข้าว ก่อนจะตักหรือเทตรงบริเวณที่น้ำออกจากปากท่อ ขณะที่สูบน้ าเข้านา เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะแพร่กระจายไปทั่วทั้งพื้นที่ ช่วยป้องกันเชื้อราที่เกิดกับกอข้าว เช่น โรคกาบใบแห้ง เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะมีน้ำหนักเบาและลอยไปตามผิวน้้ำได้เช่นเดียวกับส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุโรคกาบใบแห้ง เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะยับยั้งเชื้อโรคไม่ให้สามารเจริญและเข้าทำลายได้ทำให้การเกิดโรคกาบใบแห้งลดลง ในระหว่างที่ข้าวกำลังเจริญเติบโตจนถึงระยะตั้งท้อง การฉีดพ่นข้าวด้วยน้ าเชื้อสด ทุก 10 – 15 วัน ด้วยอัตราเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 1 กิโลกรัม (หรือเชื้อชนิดน้ำ 1 ลิตร) ต่อน้ำ 200 ลิตร (ผสมน้ำยาจับใบ) จะช่วยป้องกันโรคใบจุด ใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่าง ๆ ได้ช่วยให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง สามารถออกรวงได้ตามปกติ การพ่นน้ าเชื้อสดอัตราเดียวกัน หลังจากข้าวตั้งท้องจนถึงข้าวเริ่มออกรวง อีก 1-2 ครั้ง เป็นช่วงที่ส าคัญควรพ่นเชื้อสดจะช่วยป้องกันการ เกิดโรคใบจุด และโรคเมล็ดด่าง ซึ่งเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคหลายชนิด ทำให้ได้เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ช่วยเพิ่มน้ าหนักของผลผลิตโดยรวมได้


ข้อควรระวัง : ฟางข้าวที่ได้จากนา


ข้าวที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไม่ควรนำไปใช้ในการเพาะเห็ดใดๆ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ติดอยู่กับฟางข้าวจะแย่งอาหารจากกองเห็ด แล้วเจริญอย่างรวดเร็วทำให้เห็ดเจริญไม่ดีเท่าที่ควร แต่การกระจายฟางเหล่านี้กลับสู่แปลงนา หรือการนำไปใช้คลุมแปลงปลูกผัก จะเกิดประโยชน์อย่างมากเพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะช่วยทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืชในนาหรือแปลงผักจนมีปริมาณลดลงได้


ลักษณะของเชื้อ


เป็นเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรครากเน่า - โคนเน่า ของพืชหลายชนิด เส้นใยระยะแรกมีสีขาวเมื่อเจริญเต็มที่จะมีสีเขียว พบได้ทั่วไปในดินและบนซากอินทรีย์วัตถุตามธรรมชาติ ชอบสภาพดินที่ชื้นแต่ไม่แฉะมีคุณสมบัติในการควบคุม ยับยั้ง และท าลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินโดยการใช้เส้นใยพันรอบ และแทงเส้นใยเชื้อราโรคพืชรวมทั้งแย่งอาหาร ท าให้เส้นใยเชื้อราโรคพืชเหี่ยวสลายและตายในที่สุด


ประโยชน์ของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ใช้ในการควบคุมป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตและการเข้าท าลายเชื้อรา สาเหตุของโรคพืชใน ผัก ผลไม้ ได้แก่


1.) เชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium spp.) โรคก้นเน่าหอมแบ่ง , โรคเหี่ยวของพืช - ผัก ตระกูลแตง ไม้ดอก ไม้ประดับ , โรครากเน่า - โคนเน่า ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว โรคกล้าไหม้

2.) เชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerotium rolfsii ) โรครากเน่าของพืชผัก , โรคราเมล็ดผักกาด มะเขือเทศ

3.) เชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) โรคเน่าคอดินของพืชผัก และต้นกล้า , โรคยอดเน่าของต้นกล้า , โรคฝักเน่าพืชตระกูลถั่ว และโรคผลเน่าพืชผักตระกูลแตง

4.) เชื้อราไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia solani ) โรคหัวเน่า ต้นเน่ามันฝรั่ง และพืชผัก เช่น พริก มะเขือ แตง , โรคเน่าคอดินพืชผัก ไม้ผล , โรครากเน่า , โรคแคงเกอร์บนล าต้น

5.) เชื้อราไฟท็อปธอร่า (Phytopthora spp.) โรครากเน่า - โคนเน่าของส้ม ทุเรียน


อัตราส่วนและวิธีการผสมก่อนน าไปใช้


ปัจจุบันเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถผลิตได้ทั้งในรูปของเชื้อสดบนเมล็ดธัญพืช (ข้าวฟ่าง) และผลิตเพื่อการค้าในรูปของสปอร์ หรือผงแห้ง (สปอร์ 100,000,000 ต่อกรัม) โดยมีอัตราส่วนผสมก่อนน าไปใช้ควบคุมโรคพืช ดังนี้


1.) ในรูปของเชื้อสดที่ผลิตขยายบนเมล็ดธัญพืช ควรใช้เชื้อที่มีอายุ 7-10 วัน หลังเขี่ยเชื้อ อัตราส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์มา : ร า : ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 : 10 : 40 ส่วน (โดยน้ าหนัก) ผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 1-3 คืน เพื่อให้เชื้อราเจริญ แล้วจึงน าไปควบคุมโรคพืช


2.) ในรูปของสปอร์หรือผงแห้ง สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กรัมต่อน้ า 1 มิลลิลิตร หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมกับสารเสริมสำเร็จรูป ที่มีมาพร้อมกับเชื้อรา ผสมตามคำแนะน ำในฉลากแล้วนำไปใช้ควบคุมโรคพืช


ข้อแนะนำ


ควรให้ส่วนผสมมีความชื้นเล็กน้อย แต่ไม่ควรให้แฉะ จะช่วยให้เชื้อราเจริญได้ดียิ่งขึ้น


วิธีการใช้


1.) การใส่ลงดิน ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผสมแล้วตามอัตราส่วน น าไปใส่ในแปลงปลูกพืช โดย - คลุกเคล้าขณะเตรียมดินปลูกหรือรองก้นหลุมก่อน ปลูกโดยพืชต้นเล็ก ใช้ 50 - 100 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ) ต่อต้น หรือในไม้ผล ใช้ 3-5 ก.ก. ต่อต้น - ใช้โรยบริเวณโคนต้น หว่านในแปลง ในพืชที่ปลูกแล้ว 50 - 100 กรัม/ตารางเมตร - ใช้ผสมดินปลูก หรือแปลงเพาะกล้า


2.) ใช้คลุกเมล็ดพันธุ์ใช้ไตรโคเดอร์มาชนิดผงคลุกเมล็ดอัตรา 10-20 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เติมน้ าหรือสารจับติด (Sticker) ลงไปเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ผงเชื้อจับติดเมล็ดได้ดีขึ้นและควรน าไปปลูกทันที


ข้อดีและข้อด้อยของเชื้อราไตรโคเดอร์มา


การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้ผู้บริโภคผลผลิต และต่อสภาพแวดล้อม เป็นประโยชน์ต่อการควบคุม การเกิดโรคในระยะยาว แต่มีข้อจ ากัด คือ ออกฤทธิ์ช้ากว่าการใช้สารเคมีเนื่องจากเชื้อราต้องอาศัยระยะเวลาในการเจริญ เพื่อเพิ่มปริมาณแล้วเข้าทำลายเชื้อโรคพืช


การเก็บรักษา


ควรเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ า หรือเก็บรักษาในห้องเย็นอุณหภูมิประมาณ 7-10 องศาเซลเซียส


ข้อควรระวัง


ไม่ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับสารเคมีกำจัดเชื้อราในเวลาเดียวกัน ในกรณีจำเป็นควรใช้ก่อนหรือหลังการใช้สารเคมีดังกล่าว อย่างน้อย 7-10 วัน และไม่ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีเชื้ออื่นปนเปื้อน

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1964
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง